อย.เผยผลิตภัณฑ์ไล่ยุงไม่สามารถฆ่ายุงได้ ผู้ใช้ต้องระวัง หวั่นอันตรายต่อผู้ใช้และเด็ก แนะปฏิบัติตามฉลากอย่างเคร่งครัด อึ้ง! แบบน้ำมันตะไคร้หอมไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีสินค้า ที่เป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นจำนวนมาก โดยผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ในการไล่ยุงแต่ไม่สามารถฆ่ายุงได้ออกฤทธิ์ โดยไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง นิยมใช้ในรูปแบบทา หรือฉีดพ่นผิวหนัง โดยสารสำคัญที่พบบ่อย ได้แก่ ดีท (DEET) และน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีดีท (DEET) เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุงนั้น จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ต้องได้รับการขึ้นทะเบียน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมีการแสดงเลขทะเบียน อย.วอส.โดยในกรอบเครื่องหมายประกอบด้วยอักษรย่อ วอส.(วัตถุอันตรายที่ใช้ในทางสาธารณสุข) ตามด้วย เลขทะเบียนทับปี พ.ศ.บนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน
นพ.ไพศาล กล่าวอีกว่า ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่เป็นที่นิยมอีกชนิดหนึ่งคือ ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอม เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุง โดยต้องมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านได้ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง ผลิตภัณฑ์น้ำมันตะไคร้หอมจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับแจ้งแล้วจะมีเลขที่รับแจ้งบนฉลากทับปี พ.ศ.โดยไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับเลขที่รับแจ้งจาก อย.แล้วได้ที่ http://www.app1.fda.moph.go.th/consumer/conframe.asp
“แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันมิให้ยุงกัดได้ แต่ผู้ใช้ต้องให้ความระมัดระวังในการใช้ด้วยโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีส่วนผสมของสารเคมี ดังนั้นก่อนใช้ควรอ่านฉลากและปฏิบัติตามวิธีใช้และคำแนะนำรวมทั้งคำเตือนบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทแป้งหรือโลชั่น ห้ามนำไปทาแทนแป้งหรือโลชั่นทั่วไป ควรทาเมื่อต้องการใช้ป้องกันยุง และต้องระวังมิให้เด็กนำไปทาเล่น ควรทาเมื่อมีความจำเป็นอย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจำ อย่าทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน อาทิ บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือทาบริเวณที่เป็นแผล เป็นต้น ภายหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ หากต้องการหยิบจับอาหารควรล้างมือให้สะอาดเสียก่อน นอกจากนี้ ควรเก็บผลิตภัณฑ์ในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันตะไคร้หอมควรปิดฝาให้สนิท อย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟ หรือความร้อน ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงทุกครั้งขอให้นึกถึงข้อแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงต่างๆ เหล่านี้ เพื่อมิให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้โดยเฉพาะเด็กเล็ก” รองเลขาธิการ อย.กล่าว
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีสินค้า ที่เป็นผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นจำนวนมาก โดยผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ในการไล่ยุงแต่ไม่สามารถฆ่ายุงได้ออกฤทธิ์ โดยไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง นิยมใช้ในรูปแบบทา หรือฉีดพ่นผิวหนัง โดยสารสำคัญที่พบบ่อย ได้แก่ ดีท (DEET) และน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีดีท (DEET) เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุงนั้น จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ต้องได้รับการขึ้นทะเบียน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และมีการแสดงเลขทะเบียน อย.วอส.โดยในกรอบเครื่องหมายประกอบด้วยอักษรย่อ วอส.(วัตถุอันตรายที่ใช้ในทางสาธารณสุข) ตามด้วย เลขทะเบียนทับปี พ.ศ.บนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน
นพ.ไพศาล กล่าวอีกว่า ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่เป็นที่นิยมอีกชนิดหนึ่งคือ ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอม เป็นสารออกฤทธิ์ในการไล่ยุง โดยต้องมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ไล่ยุงลายบ้านได้ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง ผลิตภัณฑ์น้ำมันตะไคร้หอมจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับแจ้งแล้วจะมีเลขที่รับแจ้งบนฉลากทับปี พ.ศ.โดยไม่ต้องแสดงเครื่องหมาย อย.บนฉลาก ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่ได้รับอนุญาตหรือได้รับเลขที่รับแจ้งจาก อย.แล้วได้ที่ http://www.app1.fda.moph.go.th/consumer/conframe.asp
“แม้ว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันมิให้ยุงกัดได้ แต่ผู้ใช้ต้องให้ความระมัดระวังในการใช้ด้วยโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่มีส่วนผสมของสารเคมี ดังนั้นก่อนใช้ควรอ่านฉลากและปฏิบัติตามวิธีใช้และคำแนะนำรวมทั้งคำเตือนบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทแป้งหรือโลชั่น ห้ามนำไปทาแทนแป้งหรือโลชั่นทั่วไป ควรทาเมื่อต้องการใช้ป้องกันยุง และต้องระวังมิให้เด็กนำไปทาเล่น ควรทาเมื่อมีความจำเป็นอย่าใช้ติดต่อกันเป็นประจำ อย่าทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน อาทิ บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือทาบริเวณที่เป็นแผล เป็นต้น ภายหลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ หากต้องการหยิบจับอาหารควรล้างมือให้สะอาดเสียก่อน นอกจากนี้ ควรเก็บผลิตภัณฑ์ในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันตะไคร้หอมควรปิดฝาให้สนิท อย่าให้ถูกแสงแดด เปลวไฟ หรือความร้อน ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงทุกครั้งขอให้นึกถึงข้อแนะนำในการใช้ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงต่างๆ เหล่านี้ เพื่อมิให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้โดยเฉพาะเด็กเล็ก” รองเลขาธิการ อย.กล่าว