ฮือฮา! รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ มอบเข็มที่ระลึกให้ “คุณหญิงพจมาน” ในงานครบรอบ 1 ปีโรงพยาบาล ฐานะผู้สนับสนุน แต่เจ้าตัวไม่มา ด้าน ผอ.รพ.ยันใช้เงินศิริราชมูลนิธิสร้างโรงพยาบาล ไม่กระทบประชาชน เผยผลดำเนินการ 1 ปี ได้เท่าทุน หากมีกำไรส่งคืนศิริราชทุกเม็ดแน่ คาด 7-8 ปี ใช้เงินคืนได้ทั้งหมด
วันนี้ (26 เม.ย.) เมื่อเวลา 15.30 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SIPH) ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานงานครบรอบ 1 ปี รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ว่าโดยปกติแล้วผลประกอบการช่วงปีแรกๆ ของโรงพยาบาลเปิดใหม่มักจะขาดทุนเสมอ แต่ผลประกอบการ 1 ปีของ SIPH พบว่ารายรับและรายจ่ายเท่ากันหรือเท่าทุน คือ ประมาณ 1,400 ล้านบาท ถือว่ามีผลการดำเนินการที่ดี โดยการรักษาพยาบาลนั้นเราไม่ได้เน้นโรคทั่วไปเหมือนอย่างโรงพยาบาลอื่นๆ แต่จะเน้นโรคที่มีความยากและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขามาร่วมกันรักษา โดยมีมาตรฐานทางการแพทย์เช่นเดียวกับ รพ.ศิริราช แต่จะมีการบริการที่ดีกว่าคือเกือบเทียบเท่าเอกชน โดยคิดอัตราค่ารักษาพยาบาลอยู่ที่ประมาณ 80% ของอัตราค่ารักษาพยาบาลในกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ
ศ.คลินิก นพ.ประพิษฐ์ กล่าวอีกว่า SIPH ได้เปิดให้บริการส่วนแรกแก่ประชาชนตั้งแต่ช่วง เม.ย.ปีที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางโรคซับซ้อนรักษายาก (เมดิคัล ฮับ) ซึ่งขณะนี้เปิดให้บริการแล้ว 4 ศูนย์ คือ ศูนย์โรคหัวใจและระบบหลอดเลือด ศูนย์โรคกระดูกและข้อ ศูนย์โรคระบบทางเดินปัสสาวะ และศูนย์โรคมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มารักษาด้วยโรคที่รักษายากต่างๆ มักมีโรคทั่วไปด้วย จึงมีการเปิดให้บริการด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม ในภาพรวมด้วย ทั้งนี้ SIPH สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้มากกว่า 700 คนต่อวัน และเปิดบริการผู้ป่วยในจำนวน 99 เตียง จาก 345 เตียง หรือคิดเป็นประมาณ 30% ของพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ในปีหน้า SIPH จะเปิดบริการเพิ่มอีก 2 ศูนย์คือ ศูนย์สมองและศูนย์เด็ก
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีคนทั่วไปคิดว่าการตั้ง SIPH เป็นการนำเงินบริจาคให้ศิริราชมูลนิธิเพื่อใช้รักษาคนไข้ยากไร้ มาใช้สร้างโรงพยาบาลแต่กลับมาคิดค่ารักษาพยาบาลแพงๆ เป็นการทำนาบนศรัทธา ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ กล่าวว่า ขณะนี้ รพ.ศิริราช กำลังขาดทุนจากการออกนอกระบบ ซึ่งจะต้องเลี้ยงตัวเองให้ได้ การตั้ง SIPH ขึ้นมาก็เพื่อช่วยเหลือเรื่องเงิน โดยได้รับเงินจากแผ่นดินส่วนหนึ่งและศิริราชมูลนิธิอีกส่วนหนึ่ง ก่อสร้างแบบครบวงจร 100% แต่เปิดให้บริการเพียง 30% ของพื้นที่ก่อน ซึ่งขณะนี้ผลประกอบการก็เท่าทุนภายในปีแรก โดยปีต่อๆไป หากได้กำไรก็จะส่งคืนให้กับศิริราชมูลนิธิทั้งหมด ไม่มีการเก็บเอาไว้เอง ซึ่งการที่เรามีรายได้สูงเพราะเป็นการให้บริการทางการแพทย์ในระดับเฟิร์สคลาส มีมาตรฐานการรักษาเท่า รพ.ศิริราชเดิม แต่มีการบริการที่ดีกว่า รวดเร็วกว่า เหมาะกับผู้ป่วยที่มีกำลังเงินในการจ่าย แต่ไม่ต้องการไปรอคิวตรวจที่ รพ.ศิริราช หากดำเนินการต่อไปอีก 7-8 ปี เชื่อว่าจะสามารถใช้เงินคืนศิริราชมูลนิธิได้ทั้งหมด
“การนำเงินศิริราชมูลนิธิมาสร้าง SIPH ไม่กระทบกับประชาชนแน่นอน แต่กลับเป็นประโยชน์กับคนจนหรือคนยากไร้ที่มารอรับการรักษา เพราะคนที่มีความสามารถในการจ่ายก็จะมาที่ SIPH แทน ทำให้ไม่เกิดการแย่งใช้บริการหรือทำให้รอคิวนาน ที่สำคัญกำไรทั้งหมดที่ได้จากการดำเนินการก็จะส่งกลับไปให้ศิริราชมูลนิธิเหมือนเดิม อีกทั้งผู้มารักษาก็จะได้เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ในเวลาเดียวกันด้วย” ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ กล่าว
ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ กล่าวด้วยว่า ก่อนตั้ง SIPH ได้มีการทำการวิจัย พบว่า คนทั่วไปอยากมารักษาที่ รพ.ศิริราช แต่ไม่ต้องการไปเบียดเสียดหรือเอาเปรียบคนจนที่มารักษา หากมีการตั้งโรงพยาบาลแบบ SIPH ขึ้นมาคนส่วนใหญ่พร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อที่จะมารักษา แต่มีการปรามาสว่าไม่สามารถทำได้ แต่วันนี้ก็มีการตั้ง SIPH ขึ้นมาแล้ว เพื่อให้ รพ.ศิริราชเลี้ยงตัวเองได้ และป้องกันการสมองไหล เพราะเป็นการดึงบุคลากรทางการแพทย์เอาไว้ไม่ให้ไหลไป รพ.เอกชน เช่น อาจารย์แพทย์ที่สามารถไปบริการวิชาการนอกสถานที่ได้ไม่เกิน 15% ของเวลา 40 ชั่วโมง คือ 6 ชั่วโมง ก็สามารถมาทำพาร์ทไทม์ที่นี่ได้ ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 ชั่วโมงเท่านั้น แต่จะต้องได้รับการอนุญาตจากคณบดีว่ามาแล้วงานเดิมทั้งการสอน งานวิจัย และงานบริการจะต้องไม่เสีย ไม่เกิดผลกระทบ ขณะที่แพทย์ประจำ SIPH จะเป็นแพทย์ที่จบจากโรงเรียนแพทย์ทั่วไป มีการจ้างงานแบบ รพ.เอกชน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในงานครบรอบ 1 ปี รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณญ์ ได้มีการมอบเข็มที่ระลึกให้แก่ผู้สนับสนุนโรงพยาบาลด้วย โดยหนึ่งในชื่อผู้ได้รับเข็มที่ระลึกปรากฏชื่อของ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและนักโทษชายหนีคดีด้วย แต่คุณหญิงพจมานไม่ได้มารับมอบเข็มด้วยตัวเองแต่อย่างใด
วันนี้ (26 เม.ย.) เมื่อเวลา 15.30 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SIPH) ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ผู้อำนวยการ รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานงานครบรอบ 1 ปี รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ว่าโดยปกติแล้วผลประกอบการช่วงปีแรกๆ ของโรงพยาบาลเปิดใหม่มักจะขาดทุนเสมอ แต่ผลประกอบการ 1 ปีของ SIPH พบว่ารายรับและรายจ่ายเท่ากันหรือเท่าทุน คือ ประมาณ 1,400 ล้านบาท ถือว่ามีผลการดำเนินการที่ดี โดยการรักษาพยาบาลนั้นเราไม่ได้เน้นโรคทั่วไปเหมือนอย่างโรงพยาบาลอื่นๆ แต่จะเน้นโรคที่มีความยากและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขามาร่วมกันรักษา โดยมีมาตรฐานทางการแพทย์เช่นเดียวกับ รพ.ศิริราช แต่จะมีการบริการที่ดีกว่าคือเกือบเทียบเท่าเอกชน โดยคิดอัตราค่ารักษาพยาบาลอยู่ที่ประมาณ 80% ของอัตราค่ารักษาพยาบาลในกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ
ศ.คลินิก นพ.ประพิษฐ์ กล่าวอีกว่า SIPH ได้เปิดให้บริการส่วนแรกแก่ประชาชนตั้งแต่ช่วง เม.ย.ปีที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางโรคซับซ้อนรักษายาก (เมดิคัล ฮับ) ซึ่งขณะนี้เปิดให้บริการแล้ว 4 ศูนย์ คือ ศูนย์โรคหัวใจและระบบหลอดเลือด ศูนย์โรคกระดูกและข้อ ศูนย์โรคระบบทางเดินปัสสาวะ และศูนย์โรคมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มารักษาด้วยโรคที่รักษายากต่างๆ มักมีโรคทั่วไปด้วย จึงมีการเปิดให้บริการด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม ในภาพรวมด้วย ทั้งนี้ SIPH สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้มากกว่า 700 คนต่อวัน และเปิดบริการผู้ป่วยในจำนวน 99 เตียง จาก 345 เตียง หรือคิดเป็นประมาณ 30% ของพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ในปีหน้า SIPH จะเปิดบริการเพิ่มอีก 2 ศูนย์คือ ศูนย์สมองและศูนย์เด็ก
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีคนทั่วไปคิดว่าการตั้ง SIPH เป็นการนำเงินบริจาคให้ศิริราชมูลนิธิเพื่อใช้รักษาคนไข้ยากไร้ มาใช้สร้างโรงพยาบาลแต่กลับมาคิดค่ารักษาพยาบาลแพงๆ เป็นการทำนาบนศรัทธา ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ กล่าวว่า ขณะนี้ รพ.ศิริราช กำลังขาดทุนจากการออกนอกระบบ ซึ่งจะต้องเลี้ยงตัวเองให้ได้ การตั้ง SIPH ขึ้นมาก็เพื่อช่วยเหลือเรื่องเงิน โดยได้รับเงินจากแผ่นดินส่วนหนึ่งและศิริราชมูลนิธิอีกส่วนหนึ่ง ก่อสร้างแบบครบวงจร 100% แต่เปิดให้บริการเพียง 30% ของพื้นที่ก่อน ซึ่งขณะนี้ผลประกอบการก็เท่าทุนภายในปีแรก โดยปีต่อๆไป หากได้กำไรก็จะส่งคืนให้กับศิริราชมูลนิธิทั้งหมด ไม่มีการเก็บเอาไว้เอง ซึ่งการที่เรามีรายได้สูงเพราะเป็นการให้บริการทางการแพทย์ในระดับเฟิร์สคลาส มีมาตรฐานการรักษาเท่า รพ.ศิริราชเดิม แต่มีการบริการที่ดีกว่า รวดเร็วกว่า เหมาะกับผู้ป่วยที่มีกำลังเงินในการจ่าย แต่ไม่ต้องการไปรอคิวตรวจที่ รพ.ศิริราช หากดำเนินการต่อไปอีก 7-8 ปี เชื่อว่าจะสามารถใช้เงินคืนศิริราชมูลนิธิได้ทั้งหมด
“การนำเงินศิริราชมูลนิธิมาสร้าง SIPH ไม่กระทบกับประชาชนแน่นอน แต่กลับเป็นประโยชน์กับคนจนหรือคนยากไร้ที่มารอรับการรักษา เพราะคนที่มีความสามารถในการจ่ายก็จะมาที่ SIPH แทน ทำให้ไม่เกิดการแย่งใช้บริการหรือทำให้รอคิวนาน ที่สำคัญกำไรทั้งหมดที่ได้จากการดำเนินการก็จะส่งกลับไปให้ศิริราชมูลนิธิเหมือนเดิม อีกทั้งผู้มารักษาก็จะได้เป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ในเวลาเดียวกันด้วย” ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ กล่าว
ศ.คลินิก นพ.ประดิษฐ์ กล่าวด้วยว่า ก่อนตั้ง SIPH ได้มีการทำการวิจัย พบว่า คนทั่วไปอยากมารักษาที่ รพ.ศิริราช แต่ไม่ต้องการไปเบียดเสียดหรือเอาเปรียบคนจนที่มารักษา หากมีการตั้งโรงพยาบาลแบบ SIPH ขึ้นมาคนส่วนใหญ่พร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อที่จะมารักษา แต่มีการปรามาสว่าไม่สามารถทำได้ แต่วันนี้ก็มีการตั้ง SIPH ขึ้นมาแล้ว เพื่อให้ รพ.ศิริราชเลี้ยงตัวเองได้ และป้องกันการสมองไหล เพราะเป็นการดึงบุคลากรทางการแพทย์เอาไว้ไม่ให้ไหลไป รพ.เอกชน เช่น อาจารย์แพทย์ที่สามารถไปบริการวิชาการนอกสถานที่ได้ไม่เกิน 15% ของเวลา 40 ชั่วโมง คือ 6 ชั่วโมง ก็สามารถมาทำพาร์ทไทม์ที่นี่ได้ ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 ชั่วโมงเท่านั้น แต่จะต้องได้รับการอนุญาตจากคณบดีว่ามาแล้วงานเดิมทั้งการสอน งานวิจัย และงานบริการจะต้องไม่เสีย ไม่เกิดผลกระทบ ขณะที่แพทย์ประจำ SIPH จะเป็นแพทย์ที่จบจากโรงเรียนแพทย์ทั่วไป มีการจ้างงานแบบ รพ.เอกชน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในงานครบรอบ 1 ปี รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณญ์ ได้มีการมอบเข็มที่ระลึกให้แก่ผู้สนับสนุนโรงพยาบาลด้วย โดยหนึ่งในชื่อผู้ได้รับเข็มที่ระลึกปรากฏชื่อของ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและนักโทษชายหนีคดีด้วย แต่คุณหญิงพจมานไม่ได้มารับมอบเข็มด้วยตัวเองแต่อย่างใด