รพ.เชียงรายฯออกตรวจกลุ่มชาติพันธุ์ พบใช้ผงปรุงรสมากขึ้น ห่วงป่วยความดัน เบาหวานเพิ่มขึ้น กลายเป็นโรคเรื้อรังประจำตัว ทั้งที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพ เนื่องจากไม่มีสถานะ เสี่ยงอัมพาตในอนาคต
นพ.ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจปฐมภูมิ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ กล่าวถึงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในงานวันผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ครั้งที่ 2 ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ในโครงการสื่อสุขภาวะชุมชนชายขอบ โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมจัดงาน พบว่า ประชาชนพื้นที่สูง กลุ่มชาติพันธุ์ ยังไร้สถานะ เพราะการสำรวจที่ตกหล่นหรือขัดข้องทางข้อกฎหมาย แต่คนกลุ่มนี้อยู่ในประเทศไทยมานาน ถือเป็นคนไทยเช่นกัน แต่การไม่มีสถานะนั้น ทำให้ไม่มีสิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพให้การรักษาคนกลุ่มนี้ถือเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อมีปัญหาสุขภาพทางโรงพยาบาลก็มีกองทุนประชาสงเคราะห์ดูแลให้ รวมทั้งมีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอ
นพ.ศุภเลิศ กล่าวอีกว่า การออกหน่วยเคลื่อนที่พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์เริ่มมีปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่พบโรคทางเดินหายใจ ถุงลมโป่งพอง โรคปวดข้อกระดูก โรคกระเพาะ เปลี่ยนไปเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่มักจะใช้เกลือในการถนอมอาหาร และเริ่มใช้ผงปรุงรสมากขึ้น ซึ่งโรคกลุ่มนี้จะเป็นปัญหาในอนาคต เพราะเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพประกอบกับไม่มีบัตรประชาชน ทำให้การออกนอกพื้นที่ไปรับการรักษาเป็นเรื่องยาก รวมทั้งปัญหาทางการเงิน แม้ว่าโรงพยาบาลจะมีเงินสงเคราะห์ให้แต่พบว่าส่วนน้อยที่จะเดินทางไปรักษาอย่างต่อเนื่อง
“โรคความดัน เบาหวาน เป็นที่ทราบดีว่าหากไม่รับการรักษาต่อเนื่องก็จะเป็นโรคที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งก็จะกลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขอีกอยู่ดี การไม่ได้เข้าระบบบริการสุขภาพจึงเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ การออกหน่วยเคลื่อนที่ก็จะมีการให้ความรู้เรื่องการลดเค็มทำเอกสารเป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธ์เพื่อให้ความรู้ในการเลือกรับประทานการลดเค็ม รวมทั้งมีหน่วยบริการการเลิกบุหรี่ด้วย เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น” นพ.ศุภเลิศ กล่าว
นพ.ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจปฐมภูมิ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ กล่าวถึงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในงานวันผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ครั้งที่ 2 ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ในโครงการสื่อสุขภาวะชุมชนชายขอบ โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมจัดงาน พบว่า ประชาชนพื้นที่สูง กลุ่มชาติพันธุ์ ยังไร้สถานะ เพราะการสำรวจที่ตกหล่นหรือขัดข้องทางข้อกฎหมาย แต่คนกลุ่มนี้อยู่ในประเทศไทยมานาน ถือเป็นคนไทยเช่นกัน แต่การไม่มีสถานะนั้น ทำให้ไม่มีสิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพให้การรักษาคนกลุ่มนี้ถือเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อมีปัญหาสุขภาพทางโรงพยาบาลก็มีกองทุนประชาสงเคราะห์ดูแลให้ รวมทั้งมีการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอ
นพ.ศุภเลิศ กล่าวอีกว่า การออกหน่วยเคลื่อนที่พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์เริ่มมีปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่พบโรคทางเดินหายใจ ถุงลมโป่งพอง โรคปวดข้อกระดูก โรคกระเพาะ เปลี่ยนไปเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่มักจะใช้เกลือในการถนอมอาหาร และเริ่มใช้ผงปรุงรสมากขึ้น ซึ่งโรคกลุ่มนี้จะเป็นปัญหาในอนาคต เพราะเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพประกอบกับไม่มีบัตรประชาชน ทำให้การออกนอกพื้นที่ไปรับการรักษาเป็นเรื่องยาก รวมทั้งปัญหาทางการเงิน แม้ว่าโรงพยาบาลจะมีเงินสงเคราะห์ให้แต่พบว่าส่วนน้อยที่จะเดินทางไปรักษาอย่างต่อเนื่อง
“โรคความดัน เบาหวาน เป็นที่ทราบดีว่าหากไม่รับการรักษาต่อเนื่องก็จะเป็นโรคที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งก็จะกลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขอีกอยู่ดี การไม่ได้เข้าระบบบริการสุขภาพจึงเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ การออกหน่วยเคลื่อนที่ก็จะมีการให้ความรู้เรื่องการลดเค็มทำเอกสารเป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธ์เพื่อให้ความรู้ในการเลือกรับประทานการลดเค็ม รวมทั้งมีหน่วยบริการการเลิกบุหรี่ด้วย เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้น” นพ.ศุภเลิศ กล่าว