ผศ.ดร.ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นทวีป มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลกรองจากรัสเซีย แคนาดา จีน อเมริกา และบราซิล มีพื้นที่มากกว่าประเทศไทยราว 15 เท่า แต่กลับมีประชากรน้อยกว่าประเทศไทยถึง 3 เท่า ด้วยความที่มีพื้นที่กว้างใหญ่จึงมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลายทั้งร้อนชื้น ชื้นกึ่งร้อน เมดิเตอร์เรเนียน ทุ่งหญ้าสะวันนา อบอุ่นค่อนข้างหนาวและมีพื้นที่ถึง 1 ใน 3 เป็นทะเลทรายซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตอนกลางของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้และทางใต้เพราะเป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้ทะเลและมีฝนตกชุกกว่า ส่วนบริเวณที่ประชากรเบาบาง ได้แก่บริเวณตอนกลางของประเทศ เพราะมีอากาศแห้งแล้งเป็นกึ่งทะเลทรายและทะเลทราย
ด้วยความที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีผู้คนอยู่กระจัดกระจายกันไป แต่พลเมืองทุกคนต้องได้รับความคุ้มครองในด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ จึงต้องมีแพทย์กระจายไปให้บริการในพื้นที่ชนบทห่างไกลซึ่งทำให้ออสเตรเลียประกับกับปัญหาการกระจายตัวของแพทย์เช่นเดียวกับประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน เนื่องจากแพทย์ส่วนมากมักทำงานในเมืองใหญ่ เพราะมีโอกาสที่จะได้ทำงานมากกว่า การทำงานมากกว่าหมายถึงการมีโอกาสฝึกฝนทักษะมากกว่านอกจากนั้นก็มีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าแพทย์ที่ไปทำงานในชนบทหรือในพื้นที่ห่างไกลที่มีประชากรไม่มาก ซึ่งมีโอกาสทำให้สูญเสียทักษะบางประการไป และแน่นอนว่าโอกาสในทางเศรษฐศาสตร์ก็ย่อมมีน้อยกว่า
รัฐบาลออสเตรเลียจึงแก้ปัญหาโดยการกำหนดค่าตอบแทนให้เป็นพิเศษสำหรับแพทย์ที่สมัครใจไปทำงานในชนบทหรือในพื้นที่ที่ห่างไกล แรงจูงใจที่ว่านี้ประกอบด้วยอัตราเงินเดือนที่สูงกว่า มีบ้านพักส่วนตัว รถยนต์และสิทธิพิเศษอื่นๆ
คำถามก็คือ นโยบายของรัฐบาลออสเตรเลียเป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมหรือไม่ แพทย์ในเมืองจะไม่ว่าหรือเพราะว่าทำงานมากกว่าแถมได้ค่าตอบแทนน้อยกว่า คำตอบคือไม่ แพทย์ทุกคนมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและสิทธิพิเศษเท่ากัน หากสมัครใจไปทำงานในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอื่นๆประกอบที่ทำให้เกิดนโยบายเช่นนี้ เหตุผลเหล่านั้นคือ
1.แพทย์ในเมืองกับแพทย์ชนบทมีบริบทและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน แพทย์ที่อยู่ในเมืองมีโอกาสที่เหนือกว่าแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการฝึกปรือด้านวิชาการ เครื่องไม้เครื่องมือ เศรษฐานะ ฯลฯ
2.ความเสียสละส่วนตัวก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความเสียสละของครอบครัวเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ หากย้ายครอบครัวไปอยู่ด้วยกันที่ชนบทอาจส่งผลให้ลูกขาดโอกาสทางการศึกษา ครั้งให้ลูกเรียนในเมืองเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ก็เสี่ยงต่อความห่างเหินของสัมพันธภาพภายในครอบครัว
3.ค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษนี้ เทียบไม่ได้กับค่ารถโดยสาร ค่าเสียโอกาสของญาติผู้ป่วยที่เกิดจากการหยุดงาน การหยุดสร้างผลิตภาพจากงานประจำที่จะต้องเสียไปกับการไปเฝ้าไข้ หากต้องส่งตัวไปรักษาในเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะลดลงได้มากหรืออาจไม่มี หากผู้ป่วยได้รับการรักษาตามภูมิลำเนา
ออสซี่หรือพลเมืองออสเตรเลียไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบทล้วนแต่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน รัฐบาลของเขาจึงเริ่มระบบบริการทางการแพทย์แบบ “ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” ก่อนประเทศไทย และพยายามหาแพทย์ ทันตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์กระจายไปอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆแม้ว่าพื้นที่นั้นจะห่างไกลและยากลำบาก ดีกว่าการให้คนไข้ต้องลำบากลำบนหอบหิ้วกันมารักษาในเมืองใหญ่ โชคดีที่ออสเตรเลียไม่ได้ทำระบบ Medical Hub จึงไม่ต้องวางแผนทำระบบ P4P เหมือนประเทศสารขันธ์ที่กำลังพยายามผลักดัน เพื่อให้เกิดผลกระทบในทางที่ “พรรค” และ “พวก” ของตนเองต้องการ
ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นทวีป มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลกรองจากรัสเซีย แคนาดา จีน อเมริกา และบราซิล มีพื้นที่มากกว่าประเทศไทยราว 15 เท่า แต่กลับมีประชากรน้อยกว่าประเทศไทยถึง 3 เท่า ด้วยความที่มีพื้นที่กว้างใหญ่จึงมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลายทั้งร้อนชื้น ชื้นกึ่งร้อน เมดิเตอร์เรเนียน ทุ่งหญ้าสะวันนา อบอุ่นค่อนข้างหนาวและมีพื้นที่ถึง 1 ใน 3 เป็นทะเลทรายซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตอนกลางของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้และทางใต้เพราะเป็นเขตที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้ทะเลและมีฝนตกชุกกว่า ส่วนบริเวณที่ประชากรเบาบาง ได้แก่บริเวณตอนกลางของประเทศ เพราะมีอากาศแห้งแล้งเป็นกึ่งทะเลทรายและทะเลทราย
ด้วยความที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีผู้คนอยู่กระจัดกระจายกันไป แต่พลเมืองทุกคนต้องได้รับความคุ้มครองในด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ จึงต้องมีแพทย์กระจายไปให้บริการในพื้นที่ชนบทห่างไกลซึ่งทำให้ออสเตรเลียประกับกับปัญหาการกระจายตัวของแพทย์เช่นเดียวกับประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน เนื่องจากแพทย์ส่วนมากมักทำงานในเมืองใหญ่ เพราะมีโอกาสที่จะได้ทำงานมากกว่า การทำงานมากกว่าหมายถึงการมีโอกาสฝึกฝนทักษะมากกว่านอกจากนั้นก็มีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าแพทย์ที่ไปทำงานในชนบทหรือในพื้นที่ห่างไกลที่มีประชากรไม่มาก ซึ่งมีโอกาสทำให้สูญเสียทักษะบางประการไป และแน่นอนว่าโอกาสในทางเศรษฐศาสตร์ก็ย่อมมีน้อยกว่า
รัฐบาลออสเตรเลียจึงแก้ปัญหาโดยการกำหนดค่าตอบแทนให้เป็นพิเศษสำหรับแพทย์ที่สมัครใจไปทำงานในชนบทหรือในพื้นที่ที่ห่างไกล แรงจูงใจที่ว่านี้ประกอบด้วยอัตราเงินเดือนที่สูงกว่า มีบ้านพักส่วนตัว รถยนต์และสิทธิพิเศษอื่นๆ
คำถามก็คือ นโยบายของรัฐบาลออสเตรเลียเป็นการสร้างความไม่เท่าเทียมหรือไม่ แพทย์ในเมืองจะไม่ว่าหรือเพราะว่าทำงานมากกว่าแถมได้ค่าตอบแทนน้อยกว่า คำตอบคือไม่ แพทย์ทุกคนมีสิทธิได้ค่าตอบแทนและสิทธิพิเศษเท่ากัน หากสมัครใจไปทำงานในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอื่นๆประกอบที่ทำให้เกิดนโยบายเช่นนี้ เหตุผลเหล่านั้นคือ
1.แพทย์ในเมืองกับแพทย์ชนบทมีบริบทและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน แพทย์ที่อยู่ในเมืองมีโอกาสที่เหนือกว่าแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการฝึกปรือด้านวิชาการ เครื่องไม้เครื่องมือ เศรษฐานะ ฯลฯ
2.ความเสียสละส่วนตัวก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ความเสียสละของครอบครัวเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ หากย้ายครอบครัวไปอยู่ด้วยกันที่ชนบทอาจส่งผลให้ลูกขาดโอกาสทางการศึกษา ครั้งให้ลูกเรียนในเมืองเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ก็เสี่ยงต่อความห่างเหินของสัมพันธภาพภายในครอบครัว
3.ค่าตอบแทนเพิ่มพิเศษนี้ เทียบไม่ได้กับค่ารถโดยสาร ค่าเสียโอกาสของญาติผู้ป่วยที่เกิดจากการหยุดงาน การหยุดสร้างผลิตภาพจากงานประจำที่จะต้องเสียไปกับการไปเฝ้าไข้ หากต้องส่งตัวไปรักษาในเมือง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะลดลงได้มากหรืออาจไม่มี หากผู้ป่วยได้รับการรักษาตามภูมิลำเนา
ออสซี่หรือพลเมืองออสเตรเลียไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบทล้วนแต่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน รัฐบาลของเขาจึงเริ่มระบบบริการทางการแพทย์แบบ “ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” ก่อนประเทศไทย และพยายามหาแพทย์ ทันตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์กระจายไปอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆแม้ว่าพื้นที่นั้นจะห่างไกลและยากลำบาก ดีกว่าการให้คนไข้ต้องลำบากลำบนหอบหิ้วกันมารักษาในเมืองใหญ่ โชคดีที่ออสเตรเลียไม่ได้ทำระบบ Medical Hub จึงไม่ต้องวางแผนทำระบบ P4P เหมือนประเทศสารขันธ์ที่กำลังพยายามผลักดัน เพื่อให้เกิดผลกระทบในทางที่ “พรรค” และ “พวก” ของตนเองต้องการ