กทม.เร่งทำแผนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนป้องผลกระทบคนกรุงทั้งสุขภาพ การศึกษา เล็งใช้ความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องตั้งหน่วยงานในเมืองใหญ่ของอาเซียนให้ Trade Promoter เป็นผู้แทน กทม.หาช่องทางการลงทุนให้ผู้ประกอบการเมืองกรุงโกอินเตอร์
นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ตนเองได้ประชุมร่วมกับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (สยป.) กทม. และสำนักงานตรวจสอบภายใน กทม.ในประเด็นต่างๆ และพบว่า การกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมพร้อมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชนชาว กทม.ในทุกด้าน อาทิ ด้านอนามัยที่จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานมากขึ้นง่ายขึ้นซึ่งอาจส่งผลให้โรคที่หายไปจาก กทม.หลายปีแล้วกลับมาระบาดอีกครั้ง หรือแม้แต่ในเรื่องของการศึกษาที่จะต้องปรับหลักสูตรให้รองรับ ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้ สยป. และสำนักงานตรวจสอบภายใน กทม.เร่งทำแผนยุทธศาสตร์มาเสนอเพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบจากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประชาชน กทม. ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็กๆ ที่ยังขาดการเข้ามาดูแลจากภาครัฐและผู้ประกอบการเล็กๆ บางรายอาจไม่รู้จักเออีซี แต่ผลกระทบกำลังจะมาถึงเขาแล้ว ทั้งนี้คาดว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ประกอบผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอก กทม.มาร่วมกันดูแลในเรื่องนี้
นายอมรกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กทม.ยังมีความสัมพันธ์อันดีในฐานะบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองหลักๆ ในประเทศสมาชิกอาเซียนเกือบทั้งหมด เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ดังนั้นตนเองจึงมีแนวความคิดที่จะตั้งหน่วยของ กทม.ขึ้นมาในเมืองต่างๆ เหล่านี้โดยให้มีตัวแทนของ กทม.ซึ่งเรียกว่า Trade Promoter ประมาณ 1-2 คนประจำหน่วยงานแห่งนี้โดยจะเข้าไปดูโอกาสช่องทางในการลงทุนที่จะนำผู้ประกอบรายเล็กๆ ของ กทม.ซึ่งมีเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 แสนบาท มีเงินหมุนเวียนไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่มีความโดดเด่นและมีแนวโน้มการขยายตัวทางธุรกิจออกไปได้ดียิ่งขึ้นไปทำตลาดการค้ายังเมืองหลักนั้นๆ ขณะเดียวกันก็จะเปิดโอกาสให้เมืองจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเข้ามาตั้งหน่วยงานในลักษณะเดียวกันกับ กทม.ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะนำแนวคิดนี้เสนอพร้อมกับแผนยุทธศาสตร์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ สยป.สำนักงานตรวจสอบภายในดำเนินการเพื่อให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.พิจารณาเห็นชอบและดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป
นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า ตนเองได้ประชุมร่วมกับสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล (สยป.) กทม. และสำนักงานตรวจสอบภายใน กทม.ในประเด็นต่างๆ และพบว่า การกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมพร้อมรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชนชาว กทม.ในทุกด้าน อาทิ ด้านอนามัยที่จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานมากขึ้นง่ายขึ้นซึ่งอาจส่งผลให้โรคที่หายไปจาก กทม.หลายปีแล้วกลับมาระบาดอีกครั้ง หรือแม้แต่ในเรื่องของการศึกษาที่จะต้องปรับหลักสูตรให้รองรับ ดังนั้นจึงได้มอบหมายให้ สยป. และสำนักงานตรวจสอบภายใน กทม.เร่งทำแผนยุทธศาสตร์มาเสนอเพื่อลดความเสี่ยงของผลกระทบจากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประชาชน กทม. ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็กๆ ที่ยังขาดการเข้ามาดูแลจากภาครัฐและผู้ประกอบการเล็กๆ บางรายอาจไม่รู้จักเออีซี แต่ผลกระทบกำลังจะมาถึงเขาแล้ว ทั้งนี้คาดว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ประกอบผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอก กทม.มาร่วมกันดูแลในเรื่องนี้
นายอมรกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กทม.ยังมีความสัมพันธ์อันดีในฐานะบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองหลักๆ ในประเทศสมาชิกอาเซียนเกือบทั้งหมด เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ดังนั้นตนเองจึงมีแนวความคิดที่จะตั้งหน่วยของ กทม.ขึ้นมาในเมืองต่างๆ เหล่านี้โดยให้มีตัวแทนของ กทม.ซึ่งเรียกว่า Trade Promoter ประมาณ 1-2 คนประจำหน่วยงานแห่งนี้โดยจะเข้าไปดูโอกาสช่องทางในการลงทุนที่จะนำผู้ประกอบรายเล็กๆ ของ กทม.ซึ่งมีเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 แสนบาท มีเงินหมุนเวียนไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่มีความโดดเด่นและมีแนวโน้มการขยายตัวทางธุรกิจออกไปได้ดียิ่งขึ้นไปทำตลาดการค้ายังเมืองหลักนั้นๆ ขณะเดียวกันก็จะเปิดโอกาสให้เมืองจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเข้ามาตั้งหน่วยงานในลักษณะเดียวกันกับ กทม.ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะนำแนวคิดนี้เสนอพร้อมกับแผนยุทธศาสตร์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ สยป.สำนักงานตรวจสอบภายในดำเนินการเพื่อให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.พิจารณาเห็นชอบและดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป