พบ 3 เดือนแรกของปี คนไทยป่วยท้องร่วงแล้วกว่า 2.5 แสนราย ตาย 3 ราย สธ.เผยเมนูอันตรายมักปนเปื้อนเชื้อโรค ทั้งข้าวมันไก่ แกงกะทิ ลอดช่อง อาหารทะเลสด พล่า ก้อย อาหารสำเร็จรูปข้างถนน แนะ ปชช.เลี้ยงอาหารฉลองสงกรานต์ยึดหลัก “ร้อน สุก สะอาด”
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงวันหยุดสงกานต์ ประชาชนมักฉลองด้วยการปรุงอาหาร สั่งซื้อจากร้านอาหาร หรือออกไปรับประทานนอกบ้าน จึงขอให้เพิ่มความระมัดระวังเรื่องความสะอาด โดยยึดหลัก “ร้อน สุก สะอาด” คือการปรุงอาหารให้สุกแล้วรับประทานขณะที่ยังร้อนๆ ส่วนอาหารกล่อง หรือถุง ก่อนรับประทานต้องอุ่นให้เดือด และเลือกร้านอาหารที่ผ่านการรับรองเรื่องความสะอาด และปลอดภัย ที่สำคัญล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานและหลังการใช้ส้วมทุกครั้ง
“อาหารที่นิยมในงานเลี้ยงจะเป็นประเภทขนมจีน ส้มตำ ยำแกงต่างๆ ควรปรุงสุกใหม่ไม่ทิ้งค้างคืน โดยเฉพาะอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสม ยิ่งอากาศร้อนก็จะบูดเสียง่าย อาหารจำพวกยำต่างๆ ขอให้ใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด นำเนื้อสัตว์มาลวกให้สุกก่อนนำมายำ โดยเฉพาะอาหารทะเล ไม่ควรกินแบบลวกหรือพล่าสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะกุ้ง หอย ปลาหมึก ส่วนผักสด ผลไม้ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทาน หากเป็นอาหารถุง อาหารกล่อง หรืออาหารห่อพร้อมบริโภค ควรแยกกับข้าวออกจากข้าว และรับประทานภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังจากปรุง” ปลัด สธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับน้ำดื่มและน้ำแข็ง ขอให้เลือกดื่มน้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมาย อย.รับรอง และเลือกขวดที่มีฝาปิดสนิท ส่วนน้ำแข็งควรเลือกชนิดบรรจุถุงที่มีเครื่องหมาย อย.รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบการร้านอาหาร ไม่ควรนำวัตถุดิบประกอบอาหาร หรือเครื่องไปแช่รวมในถังน้ำแข็งสำหรับบริโภค เพราะจะทำให้น้ำแข็งปนเปื้อนเชื้อโรคได้
ทั้งนี้ ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา ช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงแล้ว 251,085 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดยเมนูอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคและก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารที่พบบ่อยๆ มี 6 อย่าง ได้แก่ 1.อาหารจานด่วน อาหารกล่อง เช่น ข้าวหมูแดง ข้าวมันไก่ 2.อาหารและขนมที่มีกะทิผสม เช่น แกงกะทิ สาคู ลอดช่องน้ำกะทิ 3.อาหารทะเลสด หอยแมลงภู่นึ่ง ไข่แมงดาทะเลต้ม 4.อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่นลาบดิบ พล่า ก้อย 6.ส้มตำและอาหารยำต่างๆ และ 7.อาหารสำเร็จรูปต่างๆ ที่ปรุงขายข้างถนน
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ช่วงวันหยุดสงกานต์ ประชาชนมักฉลองด้วยการปรุงอาหาร สั่งซื้อจากร้านอาหาร หรือออกไปรับประทานนอกบ้าน จึงขอให้เพิ่มความระมัดระวังเรื่องความสะอาด โดยยึดหลัก “ร้อน สุก สะอาด” คือการปรุงอาหารให้สุกแล้วรับประทานขณะที่ยังร้อนๆ ส่วนอาหารกล่อง หรือถุง ก่อนรับประทานต้องอุ่นให้เดือด และเลือกร้านอาหารที่ผ่านการรับรองเรื่องความสะอาด และปลอดภัย ที่สำคัญล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานและหลังการใช้ส้วมทุกครั้ง
“อาหารที่นิยมในงานเลี้ยงจะเป็นประเภทขนมจีน ส้มตำ ยำแกงต่างๆ ควรปรุงสุกใหม่ไม่ทิ้งค้างคืน โดยเฉพาะอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสม ยิ่งอากาศร้อนก็จะบูดเสียง่าย อาหารจำพวกยำต่างๆ ขอให้ใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด นำเนื้อสัตว์มาลวกให้สุกก่อนนำมายำ โดยเฉพาะอาหารทะเล ไม่ควรกินแบบลวกหรือพล่าสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะกุ้ง หอย ปลาหมึก ส่วนผักสด ผลไม้ต้องล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทาน หากเป็นอาหารถุง อาหารกล่อง หรืออาหารห่อพร้อมบริโภค ควรแยกกับข้าวออกจากข้าว และรับประทานภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังจากปรุง” ปลัด สธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับน้ำดื่มและน้ำแข็ง ขอให้เลือกดื่มน้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมาย อย.รับรอง และเลือกขวดที่มีฝาปิดสนิท ส่วนน้ำแข็งควรเลือกชนิดบรรจุถุงที่มีเครื่องหมาย อย.รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบการร้านอาหาร ไม่ควรนำวัตถุดิบประกอบอาหาร หรือเครื่องไปแช่รวมในถังน้ำแข็งสำหรับบริโภค เพราะจะทำให้น้ำแข็งปนเปื้อนเชื้อโรคได้
ทั้งนี้ ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา ช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงแล้ว 251,085 ราย เสียชีวิต 3 ราย โดยเมนูอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคและก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารที่พบบ่อยๆ มี 6 อย่าง ได้แก่ 1.อาหารจานด่วน อาหารกล่อง เช่น ข้าวหมูแดง ข้าวมันไก่ 2.อาหารและขนมที่มีกะทิผสม เช่น แกงกะทิ สาคู ลอดช่องน้ำกะทิ 3.อาหารทะเลสด หอยแมลงภู่นึ่ง ไข่แมงดาทะเลต้ม 4.อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่นลาบดิบ พล่า ก้อย 6.ส้มตำและอาหารยำต่างๆ และ 7.อาหารสำเร็จรูปต่างๆ ที่ปรุงขายข้างถนน