เผย 10 เมนูอันตรายเสี่ยงโรคท้องร่วง กรมควบคุมโรคแนะหลีกเลี่ยงช่วงหน้าร้อน โดยเฉพาะ 12 จังหวัดที่ ปภ.ประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้ง หวั่นเกิดระบาดโรคทางเดินอาหารและน้ำ หลังพบสถิติต้นปีมีผู้ป่วยท้องร่วงแล้วเกือบ 2 แสนราย วอนหน่วยงาน ร้านอาหาร และประชาชน ร่วมป้องกัน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประกาศพื้นที่ภัยแล้ง 12 จังหวัด รวม 94 อำเภอ ได้แก่ กาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี บึงกาฬ มุกดาหาร หนองคาย หนองบัวลำภู มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด และนครพนม ซึ่งจากสภาพความแห้งแล้งทำให้ขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภค ประกอบกับช่วงหน้าร้อนเป็นช่วงการระบาดของโรคทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ อหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ เป็นต้น จึงยิ่งเสี่ยงต่อการระบาดสูงขึ้น ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 10 มี.ค. 2556 พบผู้ป่วย 191,515 ราย จาก 77 จังหวัด เสียชีวิต 1 ราย พบผู้หญิงป่วยมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน 1.28 ต่อ 1 รวมทั้งพบผู้ป่วยมากในผู้สูงอายุเกิน 65 ปี เด็กอายุ 1 ปี เนื่องจากคน 2 กลุ่มนี้มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำ นอกจากนี้พบผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารและน้ำมากในกลุ่มอายุ 15-24 ปี
นพ.พรเทพกล่าวอีกว่า ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันโรค ร้านอาหาร และร้านค้าที่เกี่ยวข้องกับอาหารและน้ำ เพิ่มความระมัดระวังความสะอาดของอาหารและน้ำ โดยเริ่มตั้งแต่ความสะอาดของอาหาร ภาชนะใส่อาหาร การเก็บอาหารต้องไม่ใส่ของสุกของดิบปนกัน โดยเฉพาะน้ำแข็งไม่ให้แช่เนื้อสัตว์ ผัก ในน้ำแข็งที่จะนำมารับประทาน ผู้ปรุงอาหารต้องล้างมือ ก่อนปรุงอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ ส่วนผู้บริโภคอาหารต้องยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ กล่าวคือ ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ถ้ารับประทานอาหารร่วมกัน ควรมีช้อนกลางตักอาหาร และล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าส้วมด้วยสบู่
นพ.พรเทพกล่าวด้วยว่า ส่วน 10 เมนูฮิตที่มักทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ได้แก่ 1. ลาบ/ก้อย เช่น ลาบหมู ก้อยปลาดิบ 2. ยำกุ้งเต้น 3. ยำหอยแครง 4. ข้าวผัดโรยเนื้อปู โดยเฉพาะกรณีทำในปริมาณมาก เช่น อาหารกล่องแจกนักเรียน หรือคณะท่องเที่ยว 5. อาหาร/ขนม ที่ราดด้วยกะทิ 6. ขนมจีน 7. ข้าวมันไก่ 8. ส้มตำ 9. สลัดผัก และ 10. น้ำแข็ง เมนูเหล่านี้ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะจะบูดง่าย สำหรับเมนูอื่นๆ ควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารค้างมื้อและเลี่ยงอาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะน้ำแข็ง ผู้บริโภคควรเลือกซื้ออย่างระมัดระวัง ในน้ำแข็งหลอดที่บรรจุถุง ควรสังเกตรายละเอียดบนฉลากให้ครบถ้วน เช่น เครื่องหมาย อย. วันเดือนปีผลิตหรือวันหมดอายุ ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต และข้อความว่า “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” ด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน ส่วนน้ำแข็งหลอดที่ตักแบ่งขายหรือเสิร์ฟตามร้านอาหาร จะเป็นน้ำแข็งที่จำหน่ายโดยไม่ต้องมีฉลาก ดังนั้น ผู้บริโภคควรสังเกตน้ำแข็ง สถานที่เก็บรักษา ภาชนะที่บรรจุต้องสะอาดไม่มีการปนเปื้อน นอกจากนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดและผู้เกี่ยวข้องควรตรวจสอบ ตรวจทานกับผู้ผลิตโรงงานน้ำแข็ง ให้มีมาตรฐานในการดำเนินการผลิตน้ำแข็ง ถ้าผลิตไม่ถูกต้องมีการปนเปื้อน เชื้อโรคจะสามารถแพร่กระจายโรคไปสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง
“หากมีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงไม่ควรให้ยาระงับการถ่ายอุจจาระ โดยส่วนใหญ่อุจจาระร่วงจะหายเองได้ภายใน 2-3 และรับประทานอาหารเหลวให้มากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ เช่น น้ำข้าว โจ๊ก น้ำแกงจืด สารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส โดยให้รับประทานมากเท่าที่ต้องการ หรือรับประทานทุกครั้งที่ถ่ายเหลว ถ้าเป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ให้ทานโออาร์เอส ครั้งละ ¼ แก้ว-ครึ่งแก้ว และเพื่อป้องกันการขาดอาหารในเด็กให้เริ่มอาหารหลังรับประทานโออาร์เอสไปแล้ว 4 ชั่วโมง ถ้าเด็กยังทานนมแม่ต้องให้ดูดนมบ่อยขึ้นหากไม่ได้ทานนมแม่ให้ป้อนกล้วยน้ำว้าสุกหรือน้ำมะพร้าว เพื่อเพิ่มธาตุโปแตสเซียม พยายามให้กินอาหารเหลวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้และถ้ารักษาเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เช่น อาเจียน ถ่ายบ่อยทุก 2 ชั่วโมง อ่อนเพลีย มีไข้ กินอาหารไม่ได้ ตาลึกโหล รีบนำส่งแพทย์” อธิบดี คร.กล่าว
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประกาศพื้นที่ภัยแล้ง 12 จังหวัด รวม 94 อำเภอ ได้แก่ กาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี บึงกาฬ มุกดาหาร หนองคาย หนองบัวลำภู มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด และนครพนม ซึ่งจากสภาพความแห้งแล้งทำให้ขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภค ประกอบกับช่วงหน้าร้อนเป็นช่วงการระบาดของโรคทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ อหิวาตกโรค โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ เป็นต้น จึงยิ่งเสี่ยงต่อการระบาดสูงขึ้น ทั้งนี้ จากการเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 10 มี.ค. 2556 พบผู้ป่วย 191,515 ราย จาก 77 จังหวัด เสียชีวิต 1 ราย พบผู้หญิงป่วยมากกว่าผู้ชาย ในอัตราส่วน 1.28 ต่อ 1 รวมทั้งพบผู้ป่วยมากในผู้สูงอายุเกิน 65 ปี เด็กอายุ 1 ปี เนื่องจากคน 2 กลุ่มนี้มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำ นอกจากนี้พบผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารและน้ำมากในกลุ่มอายุ 15-24 ปี
นพ.พรเทพกล่าวอีกว่า ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันโรค ร้านอาหาร และร้านค้าที่เกี่ยวข้องกับอาหารและน้ำ เพิ่มความระมัดระวังความสะอาดของอาหารและน้ำ โดยเริ่มตั้งแต่ความสะอาดของอาหาร ภาชนะใส่อาหาร การเก็บอาหารต้องไม่ใส่ของสุกของดิบปนกัน โดยเฉพาะน้ำแข็งไม่ให้แช่เนื้อสัตว์ ผัก ในน้ำแข็งที่จะนำมารับประทาน ผู้ปรุงอาหารต้องล้างมือ ก่อนปรุงอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ ส่วนผู้บริโภคอาหารต้องยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ กล่าวคือ ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ถ้ารับประทานอาหารร่วมกัน ควรมีช้อนกลางตักอาหาร และล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าส้วมด้วยสบู่
นพ.พรเทพกล่าวด้วยว่า ส่วน 10 เมนูฮิตที่มักทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง ได้แก่ 1. ลาบ/ก้อย เช่น ลาบหมู ก้อยปลาดิบ 2. ยำกุ้งเต้น 3. ยำหอยแครง 4. ข้าวผัดโรยเนื้อปู โดยเฉพาะกรณีทำในปริมาณมาก เช่น อาหารกล่องแจกนักเรียน หรือคณะท่องเที่ยว 5. อาหาร/ขนม ที่ราดด้วยกะทิ 6. ขนมจีน 7. ข้าวมันไก่ 8. ส้มตำ 9. สลัดผัก และ 10. น้ำแข็ง เมนูเหล่านี้ต้องระวังเป็นพิเศษเพราะจะบูดง่าย สำหรับเมนูอื่นๆ ควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารค้างมื้อและเลี่ยงอาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะน้ำแข็ง ผู้บริโภคควรเลือกซื้ออย่างระมัดระวัง ในน้ำแข็งหลอดที่บรรจุถุง ควรสังเกตรายละเอียดบนฉลากให้ครบถ้วน เช่น เครื่องหมาย อย. วันเดือนปีผลิตหรือวันหมดอายุ ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต และข้อความว่า “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” ด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน ส่วนน้ำแข็งหลอดที่ตักแบ่งขายหรือเสิร์ฟตามร้านอาหาร จะเป็นน้ำแข็งที่จำหน่ายโดยไม่ต้องมีฉลาก ดังนั้น ผู้บริโภคควรสังเกตน้ำแข็ง สถานที่เก็บรักษา ภาชนะที่บรรจุต้องสะอาดไม่มีการปนเปื้อน นอกจากนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดและผู้เกี่ยวข้องควรตรวจสอบ ตรวจทานกับผู้ผลิตโรงงานน้ำแข็ง ให้มีมาตรฐานในการดำเนินการผลิตน้ำแข็ง ถ้าผลิตไม่ถูกต้องมีการปนเปื้อน เชื้อโรคจะสามารถแพร่กระจายโรคไปสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง
“หากมีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงไม่ควรให้ยาระงับการถ่ายอุจจาระ โดยส่วนใหญ่อุจจาระร่วงจะหายเองได้ภายใน 2-3 และรับประทานอาหารเหลวให้มากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ เช่น น้ำข้าว โจ๊ก น้ำแกงจืด สารละลายน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส โดยให้รับประทานมากเท่าที่ต้องการ หรือรับประทานทุกครั้งที่ถ่ายเหลว ถ้าเป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ให้ทานโออาร์เอส ครั้งละ ¼ แก้ว-ครึ่งแก้ว และเพื่อป้องกันการขาดอาหารในเด็กให้เริ่มอาหารหลังรับประทานโออาร์เอสไปแล้ว 4 ชั่วโมง ถ้าเด็กยังทานนมแม่ต้องให้ดูดนมบ่อยขึ้นหากไม่ได้ทานนมแม่ให้ป้อนกล้วยน้ำว้าสุกหรือน้ำมะพร้าว เพื่อเพิ่มธาตุโปแตสเซียม พยายามให้กินอาหารเหลวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้และถ้ารักษาเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น เช่น อาเจียน ถ่ายบ่อยทุก 2 ชั่วโมง อ่อนเพลีย มีไข้ กินอาหารไม่ได้ ตาลึกโหล รีบนำส่งแพทย์” อธิบดี คร.กล่าว