สธ.เตรียมดันศูนย์เด็กเล็ก และ ร.ร.อนุบาลทุกแห่ง เข้าร่วมโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค เล็งขยาย ร.ร.สังกัด สพฐ.อีก 27,000 แห่ง เน้นปลูกฝังสุขอนามัย กินอาหารสะอาด และล้างมือ
วันนี้ (29 ม.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ นพ.วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดการประชุม “โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล” ว่า รมว.สาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับศูนย์เด็กเล็กเป็นอย่างมาก ซึ่งได้กำหนดตัวชี้วัดมุ่งให้ศูนย์ฯมีมาตรฐานที่ดีถึงดีมาก โดยตั้งเป้าร้อยละ 80 จากศูนย์ทั่วประเทศ และขยายโรงเรียน (ร.ร.) อนุบาลปลอดโรคสู่ ร.ร.ทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่ออันจะมีผลกระทบต่อเด็ก เช่น ผลกระทบด้านการเรียนของเด็ก ผลกระทบต่อ ร.ร.ผลกระทบต่อผู้ปกครอง
นพ.วิชัย กล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปีกว่า 700,000 คน ปัจจุบันทั่วประเทศมีเด็กก่อนวัยเรียนอายุระหว่าง 2-5 ปี จำนวนเกือบ 4 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเด็กประมาณ 942,583 คน หรือร้อยละ 37 ที่พ่อแม่นำไปฝากเลี้ยงไว้ที่ศูนย์ทุกสังกัดทั่วประเทศ ที่มีอยู่ 20,043 แห่ง ในช่วงเวลาที่ต้องทำงาน การที่เด็กต้องไปรวมกันอยู่ในจำนวนที่มากในศูนย์ และใช้เวลาอยู่ที่นั่นเกือบทั้งวัน เมื่อเด็กคนหนึ่งมีอาการป่วย เด็กส่วนที่เหลือจะมีโอกาสติดโรคและเจ็บป่วยได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น โรคไข้หวัด โรคหัด โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง เป็นต้น เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ภูมิคุ้มกันโรคตั้งต้นที่ได้รับจากแม่เริ่มลดลง ถ้าได้รับเชื้อโรค อาการเจ็บป่วยก็จะเกิดขึ้นได้
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า โรคติดต่อในเด็กโดยเฉพาะโรคมือเท้าปาก กำลังเป็นปัญหาของเด็กอายุ 0-5 ปี พบว่า เด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก 2 ใน 3 อยู่ในศูนย์เด็กเล็กหรือเป็นเด็กนักเรียนระดับอนุบาล 1-3 ซะส่วนใหญ่ จากการดำเนินงานของกรมควบคุมโรค 4 ปีที่ผ่านมา เป็นการทำงานเชิงรุก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคมาผลกระทบต่อเด็ก เช่น ผลกระทบด้านการเรียนของเด็ก ผลกระทบต่อโรงเรียน ผลกระทบต่อผู้ปกครอง โดยการจัดตั้ง “ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค” ในโรงเรียนอนุบาลถือเป็นการร่วมมือร่วมใจกันของภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่เพียงการทำงานของ สธ.หากแต่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกันในการเฝ้าระวัง สังเกตอาการ และดูแลเด็กของอาจารย์ที่ให้การดูแลในส่วนนั้นๆ
นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า ยังพบอีกว่า ในเขต กทม.โรคที่พบในเด็กอายุ 0-4 ปี คือ โรคอุจจาระร่วง มีจำนวน 6,000 ต่อแสนประชากร และนอกจากนี้ ยังมีโรคติดต่อร้ายแรงอื่นๆ ที่ต้องระวังอีก เช่น โรคปอดบวม โรคท้องร่วง ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นภัยร้ายที่คุกคามเด็ก และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกนับล้านราย เนื่องจากพบว่าพ่อแม่ยุคใหม่ส่วนใหญ่ใส่ใจมุ่นเน้นให้ความสำคัญในเรื่อง พัฒนาการด้านสติปัญญา และความฉลาดของเด็กเป็นส่วนใหญ่ จนละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพของเด็ก จึงอยากให้มีการดูแลในศูนย์ เพิ่มการดูแลในเรื่องพัฒนาการ โภชนาการ และอารมณ์ การอบรมเด็กในเรื่องของสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจร่วมด้วย
“จากการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคในโรงเรียนอนุบาล พบว่าสามารถลดการติดเชื้อโรคในเด็กได้ เนื่องจากศูนย์ที่เข้าร่วมโครงการมีการทำงานอย่างบูรณาการ และมีความต่อเนื่อง ทำให้สามารถเฝ้าระวังควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว โดยมี ร.ร.อนุบาล 16,450 แห่งเข้าร่วมโครงการ คิดเป็นร้อยละ 88.4 โดยกรมควบคุมโรคได้เล็งเห็นว่าการจัดตั้งศูนย์สามารถช่วยในการควบคุม ดูแล และป้องกันได้จริง จึงจะทำการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเตรียมพร้อมรับมือกับโรคอื่นๆ ที่จะตามมา เช่น โรคหัด โรคคอตีบ โรคอุจจาระล่วง โรคไข้หวัดต่อไป” นพ.วิชัย กล่าว
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า เพื่อป้องกันควบคุมโรคในศูนย์ฯให้มีประสิทธิภาพ ลดการเกิดและการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย การเรียนรู้ และพัฒนาการโดยรวมของเด็กก่อนวัยเรียน สธ.โดย คร.ได้เริ่มดำเนินโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคนำร่องใน 4 จังหวัด คือ เชียงราย อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา และสุราษฎร์ธานี มาตั้งแต่ปี 2552 โดยจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้น 3 ยุทธศาสตร์ คือ ครูผู้ดูแลเด็กมีสุขภาพและความรู้ดี การบริหารจัดการดี และสภาพแวดล้อมดี รวมทั้งกำหนดแนวทางในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดต่อในศูนย์ และ ร.ร.อนุบาล พบว่า จากการประเมินติดตามและสัมภาษณ์ครูพี่เลี้ยง เด็กมีการป่วยจากโรคที่ติดต่อสำคัญน้อยลง อย่างไรก็ตาม โรคติดต่อยังไม่หมดไปถ้ายังไม่ได้รับความร่วมมือจากครูพี่เลี้ยงในการสอน อุปนิสัยสุขลักษณะที่ดีให้แก่เด็กในการป้องกันควบคุมโรค
นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า จากการติดตามและประเมินผลในปี 2554 พบว่ามีศูนย์เด็กเล็กเข้าร่วมโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคมากกว่า 16,000 แห่ง จาก 19,000 แห่ง หรือร้อยละ 84 และมากกว่าครึ่ง หรือประมาณ 9,000 แห่งที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และพบว่าอัตราการเกิดโรคติดต่อระบาดในศูนย์เหล่านี้ลดลงอย่างชัดเจน สำหรับความคืบหน้าการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคสู่ปีที่ 5 ในปี 2556 นี้ คร.ตั้งเป้าหมายให้ศูนย์ และ ร.ร.อนุบาลทุกแห่งสมัครเข้าร่วมโครงการ และผ่านการประเมินรับรองทุกแห่ง และเตรียมขยายผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อใน ร.ร.อนุบาลสังกัดคณะกรรมการการศึกษาธิการขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 27,000 แห่ง ทั้งนี้ การเกิดโรคของเด็กไม่สามารถที่จะทำให้หมดลงไปได้ แต่ต้องแก้ไขในส่วนที่ว่าจะทำอย่างไรให้มีการตรวจสอบที่รวดเร็ว ซึ่งโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ทำให้ครูพี่เลี้ยงทราบถึงอาการสำคัญของเด็ก โดยสามารถแยกเด็กที่ป่วยออกจากเด็กปกติได้ ฉะนั้น มาตรการในการคัดกรองเฝ้าระวัง เป็นมาตรการที่สำคัญ เพราะการสร้างระบบที่ดี ให้ครูพี่เลี้ยงมีความรู้ สามารถป้องกันโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
“สธ.จึงได้มีการกำหนด 10 มาตรการสู่ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ได้แก่ 1.ครูต้องได้รับการอบรมเรื่องการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออย่างน้อยปีละครั้ง 2.มีการตรวจสอบประวัติการรับวัคซีนทุกภาคเรียน 3.มีการตรวจสุขภาพและบันทึกอาการป่วยของเด็กทุกคนทุกกลุ่ม 4.มีการแยกเด็กป่วย ป้องกันการแพร่เชื้อ และมีการทำความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง 5.ครูผู้ดูแลเด็กควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุก 1-2 ปี 6.ครูควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงหากเจ็บป่วยให้หยุดพัก 7.ครูให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคสัปดาห์ละครั้ง 8.จัดให้เด็กมีกิจกรรมล้างมือทุกวัน 9.ดูแลเด็กป่วยเบื้องต้นได้ และ 10.ครูควรจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องโรคอุจจาระร่วงและมือเท้าปากอย่างน้อยปีละครั้ง” นพ.โอภาส กล่าว
นพ.โอภาส กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้โรคติดต่อในเด็กที่มีความสำคัญ คือ โรคมือเท้าปาก และโรคอุจจาระร่วง ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายโดยเฉพาะเด็กเล็ก เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันน้อย ซึ่งการป้องกันโรคที่ดี คือ เน้นเรื่องของสุขอนามัย กินอาหารที่สะอาด สอนเด็กเรื่องของการล้างมือ ไม่ใช่ภาชนะที่ปะปนกัน ก็จะช่วยลดการเกิดโรคติดต่อต่างๆ ได้ และอีกโรคหนึ่งที่น่าเป็นห่วง แต่ช่วงนี้ยังไม่มีการระบาด คือ โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งประเทศไทยจะมีช่วงที่ระบาด ซึ่งอาจจะมีการระบาดในช่วงกลางปี การสร้างระบบการเฝ้าระวังป้องกัน ให้ความรู้เด็กโดยเฉพาะเรื่องของการล้างมือ ก็จะทำให้เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้เช่นกัน
วันนี้ (29 ม.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ นพ.วิชัย เทียนถาวร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเปิดการประชุม “โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล” ว่า รมว.สาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับศูนย์เด็กเล็กเป็นอย่างมาก ซึ่งได้กำหนดตัวชี้วัดมุ่งให้ศูนย์ฯมีมาตรฐานที่ดีถึงดีมาก โดยตั้งเป้าร้อยละ 80 จากศูนย์ทั่วประเทศ และขยายโรงเรียน (ร.ร.) อนุบาลปลอดโรคสู่ ร.ร.ทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่ออันจะมีผลกระทบต่อเด็ก เช่น ผลกระทบด้านการเรียนของเด็ก ผลกระทบต่อ ร.ร.ผลกระทบต่อผู้ปกครอง
นพ.วิชัย กล่าวอีกว่า ประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปีกว่า 700,000 คน ปัจจุบันทั่วประเทศมีเด็กก่อนวัยเรียนอายุระหว่าง 2-5 ปี จำนวนเกือบ 4 ล้านคน ในจำนวนนี้มีเด็กประมาณ 942,583 คน หรือร้อยละ 37 ที่พ่อแม่นำไปฝากเลี้ยงไว้ที่ศูนย์ทุกสังกัดทั่วประเทศ ที่มีอยู่ 20,043 แห่ง ในช่วงเวลาที่ต้องทำงาน การที่เด็กต้องไปรวมกันอยู่ในจำนวนที่มากในศูนย์ และใช้เวลาอยู่ที่นั่นเกือบทั้งวัน เมื่อเด็กคนหนึ่งมีอาการป่วย เด็กส่วนที่เหลือจะมีโอกาสติดโรคและเจ็บป่วยได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น โรคไข้หวัด โรคหัด โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง เป็นต้น เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ภูมิคุ้มกันโรคตั้งต้นที่ได้รับจากแม่เริ่มลดลง ถ้าได้รับเชื้อโรค อาการเจ็บป่วยก็จะเกิดขึ้นได้
นพ.วิชัย กล่าวต่อว่า โรคติดต่อในเด็กโดยเฉพาะโรคมือเท้าปาก กำลังเป็นปัญหาของเด็กอายุ 0-5 ปี พบว่า เด็กที่เป็นโรคมือเท้าปาก 2 ใน 3 อยู่ในศูนย์เด็กเล็กหรือเป็นเด็กนักเรียนระดับอนุบาล 1-3 ซะส่วนใหญ่ จากการดำเนินงานของกรมควบคุมโรค 4 ปีที่ผ่านมา เป็นการทำงานเชิงรุก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคมาผลกระทบต่อเด็ก เช่น ผลกระทบด้านการเรียนของเด็ก ผลกระทบต่อโรงเรียน ผลกระทบต่อผู้ปกครอง โดยการจัดตั้ง “ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค” ในโรงเรียนอนุบาลถือเป็นการร่วมมือร่วมใจกันของภาครัฐและเอกชน ไม่ใช่เพียงการทำงานของ สธ.หากแต่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกันในการเฝ้าระวัง สังเกตอาการ และดูแลเด็กของอาจารย์ที่ให้การดูแลในส่วนนั้นๆ
นพ.วิชัย กล่าวด้วยว่า ยังพบอีกว่า ในเขต กทม.โรคที่พบในเด็กอายุ 0-4 ปี คือ โรคอุจจาระร่วง มีจำนวน 6,000 ต่อแสนประชากร และนอกจากนี้ ยังมีโรคติดต่อร้ายแรงอื่นๆ ที่ต้องระวังอีก เช่น โรคปอดบวม โรคท้องร่วง ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นภัยร้ายที่คุกคามเด็ก และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีทั่วโลกนับล้านราย เนื่องจากพบว่าพ่อแม่ยุคใหม่ส่วนใหญ่ใส่ใจมุ่นเน้นให้ความสำคัญในเรื่อง พัฒนาการด้านสติปัญญา และความฉลาดของเด็กเป็นส่วนใหญ่ จนละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพของเด็ก จึงอยากให้มีการดูแลในศูนย์ เพิ่มการดูแลในเรื่องพัฒนาการ โภชนาการ และอารมณ์ การอบรมเด็กในเรื่องของสุขภาพกาย และสุขภาพจิตใจร่วมด้วย
“จากการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคในโรงเรียนอนุบาล พบว่าสามารถลดการติดเชื้อโรคในเด็กได้ เนื่องจากศูนย์ที่เข้าร่วมโครงการมีการทำงานอย่างบูรณาการ และมีความต่อเนื่อง ทำให้สามารถเฝ้าระวังควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็ว โดยมี ร.ร.อนุบาล 16,450 แห่งเข้าร่วมโครงการ คิดเป็นร้อยละ 88.4 โดยกรมควบคุมโรคได้เล็งเห็นว่าการจัดตั้งศูนย์สามารถช่วยในการควบคุม ดูแล และป้องกันได้จริง จึงจะทำการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเตรียมพร้อมรับมือกับโรคอื่นๆ ที่จะตามมา เช่น โรคหัด โรคคอตีบ โรคอุจจาระล่วง โรคไข้หวัดต่อไป” นพ.วิชัย กล่าว
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า เพื่อป้องกันควบคุมโรคในศูนย์ฯให้มีประสิทธิภาพ ลดการเกิดและการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย การเรียนรู้ และพัฒนาการโดยรวมของเด็กก่อนวัยเรียน สธ.โดย คร.ได้เริ่มดำเนินโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคนำร่องใน 4 จังหวัด คือ เชียงราย อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา และสุราษฎร์ธานี มาตั้งแต่ปี 2552 โดยจัดให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้น 3 ยุทธศาสตร์ คือ ครูผู้ดูแลเด็กมีสุขภาพและความรู้ดี การบริหารจัดการดี และสภาพแวดล้อมดี รวมทั้งกำหนดแนวทางในการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดต่อในศูนย์ และ ร.ร.อนุบาล พบว่า จากการประเมินติดตามและสัมภาษณ์ครูพี่เลี้ยง เด็กมีการป่วยจากโรคที่ติดต่อสำคัญน้อยลง อย่างไรก็ตาม โรคติดต่อยังไม่หมดไปถ้ายังไม่ได้รับความร่วมมือจากครูพี่เลี้ยงในการสอน อุปนิสัยสุขลักษณะที่ดีให้แก่เด็กในการป้องกันควบคุมโรค
นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า จากการติดตามและประเมินผลในปี 2554 พบว่ามีศูนย์เด็กเล็กเข้าร่วมโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคมากกว่า 16,000 แห่ง จาก 19,000 แห่ง หรือร้อยละ 84 และมากกว่าครึ่ง หรือประมาณ 9,000 แห่งที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และพบว่าอัตราการเกิดโรคติดต่อระบาดในศูนย์เหล่านี้ลดลงอย่างชัดเจน สำหรับความคืบหน้าการดำเนินงานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคสู่ปีที่ 5 ในปี 2556 นี้ คร.ตั้งเป้าหมายให้ศูนย์ และ ร.ร.อนุบาลทุกแห่งสมัครเข้าร่วมโครงการ และผ่านการประเมินรับรองทุกแห่ง และเตรียมขยายผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อใน ร.ร.อนุบาลสังกัดคณะกรรมการการศึกษาธิการขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 27,000 แห่ง ทั้งนี้ การเกิดโรคของเด็กไม่สามารถที่จะทำให้หมดลงไปได้ แต่ต้องแก้ไขในส่วนที่ว่าจะทำอย่างไรให้มีการตรวจสอบที่รวดเร็ว ซึ่งโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ทำให้ครูพี่เลี้ยงทราบถึงอาการสำคัญของเด็ก โดยสามารถแยกเด็กที่ป่วยออกจากเด็กปกติได้ ฉะนั้น มาตรการในการคัดกรองเฝ้าระวัง เป็นมาตรการที่สำคัญ เพราะการสร้างระบบที่ดี ให้ครูพี่เลี้ยงมีความรู้ สามารถป้องกันโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
“สธ.จึงได้มีการกำหนด 10 มาตรการสู่ศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค ได้แก่ 1.ครูต้องได้รับการอบรมเรื่องการป้องกันควบคุมโรคติดต่ออย่างน้อยปีละครั้ง 2.มีการตรวจสอบประวัติการรับวัคซีนทุกภาคเรียน 3.มีการตรวจสุขภาพและบันทึกอาการป่วยของเด็กทุกคนทุกกลุ่ม 4.มีการแยกเด็กป่วย ป้องกันการแพร่เชื้อ และมีการทำความสะอาดฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง 5.ครูผู้ดูแลเด็กควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุก 1-2 ปี 6.ครูควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงหากเจ็บป่วยให้หยุดพัก 7.ครูให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคสัปดาห์ละครั้ง 8.จัดให้เด็กมีกิจกรรมล้างมือทุกวัน 9.ดูแลเด็กป่วยเบื้องต้นได้ และ 10.ครูควรจัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องโรคอุจจาระร่วงและมือเท้าปากอย่างน้อยปีละครั้ง” นพ.โอภาส กล่าว
นพ.โอภาส กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้โรคติดต่อในเด็กที่มีความสำคัญ คือ โรคมือเท้าปาก และโรคอุจจาระร่วง ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายโดยเฉพาะเด็กเล็ก เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันน้อย ซึ่งการป้องกันโรคที่ดี คือ เน้นเรื่องของสุขอนามัย กินอาหารที่สะอาด สอนเด็กเรื่องของการล้างมือ ไม่ใช่ภาชนะที่ปะปนกัน ก็จะช่วยลดการเกิดโรคติดต่อต่างๆ ได้ และอีกโรคหนึ่งที่น่าเป็นห่วง แต่ช่วงนี้ยังไม่มีการระบาด คือ โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งประเทศไทยจะมีช่วงที่ระบาด ซึ่งอาจจะมีการระบาดในช่วงกลางปี การสร้างระบบการเฝ้าระวังป้องกัน ให้ความรู้เด็กโดยเฉพาะเรื่องของการล้างมือ ก็จะทำให้เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้เช่นกัน