สพฐ.สั่งตั้งกรรมการสอบทุจริตครูผู้ช่วยอีก 5 ชุดรวดตรวจสอบ 10 เขตพื้นที่การศึกษาหลังตรวจทางลับพบส่อแววทุจริต พร้อมตั้งอีก 1 ชุด ตรวจสอบการทำงานภายในของสพฐ.ว่าทุจริตทุกขั้นตอนหรือไม่ “ชินภัทร” ให้เวลา 30 วันเคลียร์ให้เสร็จ แถมดึงคนนอกมาเป็นประธานสอบทุกชุด ขณะที่ “พงศ์เทพ” แนะจัดสอบใหม่ให้ออกข้อสอบเสร็จแล้วสอบทันที
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วย ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงอีก 5 ชุด เพื่อตรวจสอบข้อมูลใน 10 เขตพื้นที่การศึกษา ก่อนหน้านี้ สพฐ.ได้ตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษา(สพป.) ขอนแก่น เขต 3 และผู้เกี่ยวข้องไปแล้ว แต่ได้พบหลักฐาน ข้อร้องเรียน และข้อมูลในทางลับเพิ่มเติมซึ่งบ่งชี้ว่า ทั้ง 10 เขตพื้นที่การศึกษาดังกล่าว ส่อแววทุจริตสอบครูผู้ช่วย จึงต้องกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ และเพื่อความโปร่งใส สพฐ.จะดึงคนนอกมาเป็นประธานคณะกรรมการสอบสอนข้อเท็จจริงแต่ละชุด เบื้องต้น ตั้งใจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นประธาน แต่ต้องรอปรึกษากับปลัดกระทรวงศึกษาธิการก่อน
ส่วน 10 เขตพื้นที่การศึกษา ที่จะถูกตรวจสอบข้อเท็จจริง ประกอบด้วย สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.ยโสธร เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 2 สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพป.ขอนแก่น เขต 4 สพป.ชัยภูมิ เขต 1 สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 สพป.กาฬสิทธุ์ เขต 3 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษา (สพม.) 25 (ขอนแก่น ) ทั้ง 10 เขตพื้นที่ฯ ที่จะถูกตรวจสอบนั้น ครอบคลุมทั้ง 4 เขตพื้นที่ฯซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เสนอให้ยกเลิกการสอบเพราะพบการทุจริตที่ชัดเจน คือ สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.ยโสธร เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 2 และ สพป.ขอนแก่น เขต 3 แต่เนื่องจาก สพป.ขอนแก่น เขต 3 มีการตั้งกรรมการสอบสวนวินัยแล้ว จึงไม่ต้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงอีก
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริงนี้ จะให้เวลา 30 วัน หากพบว่ามีมูล ก็จะมีการตั้งกรรมการสอบสวนวินัยในเขตพื้นที่ฯนั้นๆ ต่อไป ทั้งนี้ สพฐ.จะนำเรื่องการตั้งกรรมการฯทั้ง 5 ชุด รายงานต่อคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งจะมีการประชุมในวันพรุ่งนี้ (22 มี.ค.)เพื่อพิจารณาเรื่องทุจริตสอบครูผู้ช่วย รวมถึงจะรายการให้บอร์ด ก.ค.ศ.ได้รับทราบถึง การดำเนินการในเรื่องนี้ทั้งหมดของ สพฐ.อย่างไรก็ตาม สำหรับ 4 เขตพื้นที่ฯ ซึ่งดีเอสไอระบุให้ ยกเลิกการสอบนั้น บอร์ด ก.ค.ศ.จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะยกเลิกการสอบยกเขต หรือยกเลิกการสอบเป็นรายบุคคล
“สพฐ.จะเสนอนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ให้มีการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงอีก 1 ชุด เพื่อตรวจสอบกระบวนการภายในของ สพฐ.ในส่วนกลางว่า การจัดสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยนั้นถูกต้องทุกขั้นตอนหรือไม่ ทั้งนื้ เพื่อให้เกิดความกระจ่างในทุกขั้นตอนโดยกรรมการชุดนี้ จะดึงคนนอกกระทรวงเลย มาเป็นประธานคณะกรมการ” นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า การประชุมบอร์ด ก.ค.ศ.วันพรุ่งนี้ ยังมีวาระพิจารณาเรื่องการจัดสอบครูผู้ช่วยในเดือนเมษายนนี้ด้วย เบื้องต้น อาจมีการเสนอเป็น 3 ทางเลือก ทางเลือกแรกให้เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้จัดสอบแบบครบวงจร ตั้งแต่ออกข้อสอบไปจัดถึงจัดสอบเอง ทางเลือกที่ 2 ให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อสอบให้ แล้วส่วนกลางเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบเหมือนการสอบครูผู้ช่วยครั้งล่าสุด และทางเลือกสุดท้าย ให้เขตพื้นที่ฯรวมกลุ่มกันจัดสอบเอง ทั้งนี้ ก.ค.ศ.จะต้องพิจารณาเลือกแนวทางที่เหมาะสม
ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในวันพรุ่งนี้ (22 มี.ค.) จะต้องรอดูว่า ก.ค.ศ.จะตัดสินใจเรื่องทุจริตสอบครูผู้ช่วยอย่างไร เพราะผู้ผ่านการคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงผิดปกตินั้น มีจำนวนกว่า 500 คน คนเหล่านี้ไม่ได้อยู่เฉพาะบางเขตพื้นที่การศึกษา แต่กระจายไปเยอะในหลายเขตพื้นที่ฯ เพราะฉะนั้น ต้องให้ ก.ค.ศ.ช่วยกันพิจารณา และบางเขตพื้นที่ฯเท่าที่ได้ข้อมูลมานั้น คนที่สอบได้ทั้งหมดมีคะแนนสูงผิดปกติทั้งสิ้น แต่ขณะเดียวกัน คนที่สอบไม่ได้ซึ่งอยู่ในอันดับถัดไป ก็มีทั้งที่คะแนนปกติและไม่ปกติ ฉะนั้น ต้องมาดูละเอียด และช่วยกันคิดหาทางออกที่เหมาะสม
อย่างไรตาม ถ้ามีการยกเลิกการสอบเป็นบางเขตพื้นที่ฯจริงนั้น การสอบเล็กๆ จำนวนน้อยอาจไม่จำเป็นต้องให้มหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยออกข้อสอบหรือจัดสอบซ่อมให้ ถ้าเป็นการสอบครั้งใหญ่ทั้งประเทศ จำเป็นต้องจัดระบบให้รัดกุม แต่สำหรับการสอบเล็กๆ มีไม่กี่ตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องไปสร้างระบบอะไรให้ซับซ้อนเพราะเราลงไปคุมตรงนั้นได้โดยตรงเพื่อให้การสอบมีความโปร่งใสที่สุด เช่น ออกข้อสอบเดี๋ยวนั้นแล้วให้เข้าสอบกันเลย
นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ผ่านการคัดเลือก 7 ราย ที่มีดีเอสไอและ ศธ.พบหลักเจนชัดเจนว่า ทุจริตสอบนั้น ตนเชื่อว่า ทั้ง 7 คน รวมทั้งคนอื่นๆ ได้รับการถูกบรรจุไปแล้ว ถ้าพบหลักฐานแน่นหนา ข้อมูลชัดเจนแล้ว ก.ค.ศ.ก็ต้องมาดูว่า จะดำเนินการอย่างไร
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วย ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงอีก 5 ชุด เพื่อตรวจสอบข้อมูลใน 10 เขตพื้นที่การศึกษา ก่อนหน้านี้ สพฐ.ได้ตั้งกรรมการสอบสวนวินัย ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษา(สพป.) ขอนแก่น เขต 3 และผู้เกี่ยวข้องไปแล้ว แต่ได้พบหลักฐาน ข้อร้องเรียน และข้อมูลในทางลับเพิ่มเติมซึ่งบ่งชี้ว่า ทั้ง 10 เขตพื้นที่การศึกษาดังกล่าว ส่อแววทุจริตสอบครูผู้ช่วย จึงต้องกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ และเพื่อความโปร่งใส สพฐ.จะดึงคนนอกมาเป็นประธานคณะกรรมการสอบสอนข้อเท็จจริงแต่ละชุด เบื้องต้น ตั้งใจให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการมาเป็นประธาน แต่ต้องรอปรึกษากับปลัดกระทรวงศึกษาธิการก่อน
ส่วน 10 เขตพื้นที่การศึกษา ที่จะถูกตรวจสอบข้อเท็จจริง ประกอบด้วย สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.ยโสธร เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 2 สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพป.ขอนแก่น เขต 4 สพป.ชัยภูมิ เขต 1 สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 สพป.กาฬสิทธุ์ เขต 3 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการมัธยมศึกษา (สพม.) 25 (ขอนแก่น ) ทั้ง 10 เขตพื้นที่ฯ ที่จะถูกตรวจสอบนั้น ครอบคลุมทั้ง 4 เขตพื้นที่ฯซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เสนอให้ยกเลิกการสอบเพราะพบการทุจริตที่ชัดเจน คือ สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.ยโสธร เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 2 และ สพป.ขอนแก่น เขต 3 แต่เนื่องจาก สพป.ขอนแก่น เขต 3 มีการตั้งกรรมการสอบสวนวินัยแล้ว จึงไม่ต้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงอีก
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า การตรวจสอบข้อเท็จจริงนี้ จะให้เวลา 30 วัน หากพบว่ามีมูล ก็จะมีการตั้งกรรมการสอบสวนวินัยในเขตพื้นที่ฯนั้นๆ ต่อไป ทั้งนี้ สพฐ.จะนำเรื่องการตั้งกรรมการฯทั้ง 5 ชุด รายงานต่อคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งจะมีการประชุมในวันพรุ่งนี้ (22 มี.ค.)เพื่อพิจารณาเรื่องทุจริตสอบครูผู้ช่วย รวมถึงจะรายการให้บอร์ด ก.ค.ศ.ได้รับทราบถึง การดำเนินการในเรื่องนี้ทั้งหมดของ สพฐ.อย่างไรก็ตาม สำหรับ 4 เขตพื้นที่ฯ ซึ่งดีเอสไอระบุให้ ยกเลิกการสอบนั้น บอร์ด ก.ค.ศ.จะเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะยกเลิกการสอบยกเขต หรือยกเลิกการสอบเป็นรายบุคคล
“สพฐ.จะเสนอนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ให้มีการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงอีก 1 ชุด เพื่อตรวจสอบกระบวนการภายในของ สพฐ.ในส่วนกลางว่า การจัดสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยนั้นถูกต้องทุกขั้นตอนหรือไม่ ทั้งนื้ เพื่อให้เกิดความกระจ่างในทุกขั้นตอนโดยกรรมการชุดนี้ จะดึงคนนอกกระทรวงเลย มาเป็นประธานคณะกรมการ” นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร กล่าวต่อว่า การประชุมบอร์ด ก.ค.ศ.วันพรุ่งนี้ ยังมีวาระพิจารณาเรื่องการจัดสอบครูผู้ช่วยในเดือนเมษายนนี้ด้วย เบื้องต้น อาจมีการเสนอเป็น 3 ทางเลือก ทางเลือกแรกให้เขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้จัดสอบแบบครบวงจร ตั้งแต่ออกข้อสอบไปจัดถึงจัดสอบเอง ทางเลือกที่ 2 ให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกข้อสอบให้ แล้วส่วนกลางเป็นผู้ดำเนินการจัดสอบเหมือนการสอบครูผู้ช่วยครั้งล่าสุด และทางเลือกสุดท้าย ให้เขตพื้นที่ฯรวมกลุ่มกันจัดสอบเอง ทั้งนี้ ก.ค.ศ.จะต้องพิจารณาเลือกแนวทางที่เหมาะสม
ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในวันพรุ่งนี้ (22 มี.ค.) จะต้องรอดูว่า ก.ค.ศ.จะตัดสินใจเรื่องทุจริตสอบครูผู้ช่วยอย่างไร เพราะผู้ผ่านการคัดเลือกที่ได้คะแนนสูงผิดปกตินั้น มีจำนวนกว่า 500 คน คนเหล่านี้ไม่ได้อยู่เฉพาะบางเขตพื้นที่การศึกษา แต่กระจายไปเยอะในหลายเขตพื้นที่ฯ เพราะฉะนั้น ต้องให้ ก.ค.ศ.ช่วยกันพิจารณา และบางเขตพื้นที่ฯเท่าที่ได้ข้อมูลมานั้น คนที่สอบได้ทั้งหมดมีคะแนนสูงผิดปกติทั้งสิ้น แต่ขณะเดียวกัน คนที่สอบไม่ได้ซึ่งอยู่ในอันดับถัดไป ก็มีทั้งที่คะแนนปกติและไม่ปกติ ฉะนั้น ต้องมาดูละเอียด และช่วยกันคิดหาทางออกที่เหมาะสม
อย่างไรตาม ถ้ามีการยกเลิกการสอบเป็นบางเขตพื้นที่ฯจริงนั้น การสอบเล็กๆ จำนวนน้อยอาจไม่จำเป็นต้องให้มหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยออกข้อสอบหรือจัดสอบซ่อมให้ ถ้าเป็นการสอบครั้งใหญ่ทั้งประเทศ จำเป็นต้องจัดระบบให้รัดกุม แต่สำหรับการสอบเล็กๆ มีไม่กี่ตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องไปสร้างระบบอะไรให้ซับซ้อนเพราะเราลงไปคุมตรงนั้นได้โดยตรงเพื่อให้การสอบมีความโปร่งใสที่สุด เช่น ออกข้อสอบเดี๋ยวนั้นแล้วให้เข้าสอบกันเลย
นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ผ่านการคัดเลือก 7 ราย ที่มีดีเอสไอและ ศธ.พบหลักเจนชัดเจนว่า ทุจริตสอบนั้น ตนเชื่อว่า ทั้ง 7 คน รวมทั้งคนอื่นๆ ได้รับการถูกบรรจุไปแล้ว ถ้าพบหลักฐานแน่นหนา ข้อมูลชัดเจนแล้ว ก.ค.ศ.ก็ต้องมาดูว่า จะดำเนินการอย่างไร