สธ.ผลักดันแพทย์ใช้ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักเพิ่มขึ้น เน้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ชี้ต้องมีงานวิจัยสรรพคุณชัดเจน แพทย์จึงกล้าใช้อย่างเป็นมาตรฐาน ไม่เป็นยาทางเลือก เล็งเพิ่มยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักฯให้ได้ 10% จากบัญชียาทั้งหมด เตรียมวิจัยแล้วกว่า 10 ชนิด ทั้งขมิ้นชัน ใบบัวบก กวาวเครือขาว ฯลฯ
วันนี้ (11 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อผลักดันยาจากสมุนไพรเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ระหว่างกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่า ปัจจุบันมีรายการบัญชียาหลักแห่งชาติรวมทั้งสิ้นจำนวน 878 รายการ โดยขณะนี้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติสามารถดำเนินการประกาศยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักฯ แล้วจำนวน 71 รายการ คิดเป็นร้อยละ 8.09 โดยในปี 2556-2560 ได้กำหนดเป้าหมายให้มียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักฯ อย่างน้อยร้อยละ 10 ของรายการยาทั้งหมด ที่สำคัญจะต้องผลักดันให้มีการใช้ยาจากสมุนไพรให้เป็นมาตรฐาน ไม่ใช่เป็นยาทางเลือกหรือยาสำรอง โดยนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ไอ เจ็บคอ ปวดท้อง เป็นต้น ซึ่งการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แพทย์ยอมรับในสรรพคุณว่ามีประโยชน์ในการรักษา และใช้ยาจากสมุนไพรให้เป็นมาตรฐาน จะต้องมีการวิจัยสรรพคุณและผลทดลองทางคลินิกที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการผลิตยาจากสมุนไพรต้องได้มาตรฐาน GMP เพื่อเป็นหลักประกันในประสิทธิผลและความปลอดภัยจากการใช้ยา โดยในปี 2558 ตั้งเป้าให้มีการใช้ยาจากสมุนไพรอย่างเป็นมาตรฐาน ไม่ใช่ยาทางเลือก
“การสนับสนุนให้มียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักเพิ่มขึ้น จะช่วยลดค่าใช้จ่ายยาแผนปัจจุบันได้ เพราะทุกวันนี้ประเทศไทยนำเข้ายาแผนปัจจุบันมากถึง 75% การจะให้แพทย์หันมาใช้ยาจากสมุนไพรแบบไม่เป็นยาทางเลือกจะต้องทำให้เกิดองค์ความรู้ในยาสมุนไพรก่อนว่ามีฤทธิ์ในการรักษาจริง เมื่อแพทย์เข้าใจก็จะใช้อย่างยอมรับ ไม่ใช่ยัดเยียดให้แพทย์จ่ายยาจากสมุนไพรเลย คืออยากให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นจุดบกพร่องในการประเมินผล” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า มูลค่าการใช้ยาจากสมุนไพรในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ เมื่อปี 2555 มีประมาณ 363 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.82 ของการใช้ยาทั้งหมด โดยยาสมุนไพรที่ประชาชนนิยมใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกที่มีในบัญชียาหลักฯ คือ 1.ขมิ้นชันรักษาอาการของระบบทางเดินอาหาร แน่นท้องจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ 2.ไพลใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดบวม ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก และ 3.ฟ้าทะลายโจรใช้รักษาอาการของระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ ซึ่งการส่งเสริมการใช้สมุนไพรจะสนับสนุนให้ประชาชนมีและใช้ยาจากสมุนไพรตั้งแต่ระดับชุมชนถึงหน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐทุกระดับ โดยบูรณษการเข้ากับระบบสุขภาพ
นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการจากทั้ง 3 หน่วยงาน รวมทั้งนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ สนับสนุนข้อมูลและคัดเลือกสมุนไพรที่จะวิจัยและพัฒนาต่อยอดเพื่อผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักฯเพิ่มอีกอย่างน้อย 15 รายการ เพื่อนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของประชาชนอย่างแพร่หลาย ซึ่งขณะนี้สมุนไพรที่เตรียมจะนำมาวิจัยและผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักฯ มีทั้งหมด 10 ชนิด คือ ว่านชักมดลูก สารสกัดจากขมิ้นชัน ใบบัวบก กระชายดำ กวาวเครือขาว พรมมิ ขิง หม่อน ปัญจขันธ์ ใบฝรั่ง และพริก
วันนี้ (11 มี.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวระหว่างเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อผลักดันยาจากสมุนไพรเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ระหว่างกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ว่า ปัจจุบันมีรายการบัญชียาหลักแห่งชาติรวมทั้งสิ้นจำนวน 878 รายการ โดยขณะนี้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติสามารถดำเนินการประกาศยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักฯ แล้วจำนวน 71 รายการ คิดเป็นร้อยละ 8.09 โดยในปี 2556-2560 ได้กำหนดเป้าหมายให้มียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักฯ อย่างน้อยร้อยละ 10 ของรายการยาทั้งหมด ที่สำคัญจะต้องผลักดันให้มีการใช้ยาจากสมุนไพรให้เป็นมาตรฐาน ไม่ใช่เป็นยาทางเลือกหรือยาสำรอง โดยนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ไอ เจ็บคอ ปวดท้อง เป็นต้น ซึ่งการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แพทย์ยอมรับในสรรพคุณว่ามีประโยชน์ในการรักษา และใช้ยาจากสมุนไพรให้เป็นมาตรฐาน จะต้องมีการวิจัยสรรพคุณและผลทดลองทางคลินิกที่เป็นรูปธรรม รวมถึงการผลิตยาจากสมุนไพรต้องได้มาตรฐาน GMP เพื่อเป็นหลักประกันในประสิทธิผลและความปลอดภัยจากการใช้ยา โดยในปี 2558 ตั้งเป้าให้มีการใช้ยาจากสมุนไพรอย่างเป็นมาตรฐาน ไม่ใช่ยาทางเลือก
“การสนับสนุนให้มียาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักเพิ่มขึ้น จะช่วยลดค่าใช้จ่ายยาแผนปัจจุบันได้ เพราะทุกวันนี้ประเทศไทยนำเข้ายาแผนปัจจุบันมากถึง 75% การจะให้แพทย์หันมาใช้ยาจากสมุนไพรแบบไม่เป็นยาทางเลือกจะต้องทำให้เกิดองค์ความรู้ในยาสมุนไพรก่อนว่ามีฤทธิ์ในการรักษาจริง เมื่อแพทย์เข้าใจก็จะใช้อย่างยอมรับ ไม่ใช่ยัดเยียดให้แพทย์จ่ายยาจากสมุนไพรเลย คืออยากให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นจุดบกพร่องในการประเมินผล” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า มูลค่าการใช้ยาจากสมุนไพรในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ เมื่อปี 2555 มีประมาณ 363 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.82 ของการใช้ยาทั้งหมด โดยยาสมุนไพรที่ประชาชนนิยมใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกที่มีในบัญชียาหลักฯ คือ 1.ขมิ้นชันรักษาอาการของระบบทางเดินอาหาร แน่นท้องจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ 2.ไพลใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อย ลดบวม ฟกช้ำ เคล็ดขัดยอก และ 3.ฟ้าทะลายโจรใช้รักษาอาการของระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ ซึ่งการส่งเสริมการใช้สมุนไพรจะสนับสนุนให้ประชาชนมีและใช้ยาจากสมุนไพรตั้งแต่ระดับชุมชนถึงหน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐทุกระดับ โดยบูรณษการเข้ากับระบบสุขภาพ
นพ.สมชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการจากทั้ง 3 หน่วยงาน รวมทั้งนักวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ สนับสนุนข้อมูลและคัดเลือกสมุนไพรที่จะวิจัยและพัฒนาต่อยอดเพื่อผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักฯเพิ่มอีกอย่างน้อย 15 รายการ เพื่อนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของประชาชนอย่างแพร่หลาย ซึ่งขณะนี้สมุนไพรที่เตรียมจะนำมาวิจัยและผลักดันเข้าสู่บัญชียาหลักฯ มีทั้งหมด 10 ชนิด คือ ว่านชักมดลูก สารสกัดจากขมิ้นชัน ใบบัวบก กระชายดำ กวาวเครือขาว พรมมิ ขิง หม่อน ปัญจขันธ์ ใบฝรั่ง และพริก