รมว.สธ.ลงนามประกาศใช้ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข มีผลใช้บังคับทันทีทั่วประเทศตั้งแต่ 1 มีนาคม เป็นต้นไป ลูกจ้างชั่วคราว 117,000 ทั่วประเทศ ได้เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ได้รับสิทธิประโยชน์จะใกล้เคียงกับข้าราชการ และส่วนราชการต้องดำเนินการถ่ายโอนเข้าสู่ระบบให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ สำหรับการจัดทำระเบียบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีผลบังคับภายใน 2 ปี
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าของการออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2556 ว่า ได้ลงนามเพื่อประกาศใช้ระเบียบดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2556 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้กลุ่มลูกจ้างชั่วคราวสายสนับสนุนที่อยู่นอกเหนือ 21 สายงานวิชาชีพ และลูกจ้างชั่วคราวสายวิชาชีพอื่นที่ยังไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการของทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีประมาณ 117,000 คนทั่วประเทศมีโอกาสได้เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข หรือ พกส.มีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น เกิดกำลังใจในการปฏิบัติงานต่อไป โดยจะดำเนินการจ้างงานใหม่ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2556 นับว่าเป็นกฎหมายบริหารกำลังคนเฉพาะของกระทรวงสาธารณสุขฉบับแรกในประวัติศาสตร์
ในระเบียบนี้จะมีคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 1 ชุด ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธาน และอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการที่เป็นผู้แทนที่แต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขอีก 7 คน จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และหัวหน้าหน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านบริหารงานบุคคลระดับกระทรวงเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขเกี่ยวกับการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข การสรรหา และการเลือกสรร รวมทั้งแบบสัญญาจ้าง กำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มพนักงาน อัตราค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของ พกส.เป็นต้น
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามระเบียบ พกส.นี้ มี 6 หมวดและบทเฉพาะกาล สำหรับหมวดที่ 1 จะเกี่ยวกับการกำหนดประเภทและกลุ่มตำแหน่งของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ ประเภททั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำทั้งภารกิจหลักและสนับสนุนทั่วไปของหน่วยบริการในด้านงานเทคนิค งานบริการ งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะ และประเภทที่ 2 คือประเภทพิเศษ ซึ่งเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ โดยกำหนดกลุ่มตำแหน่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มเทคนิค บริการ บริหารทั่วไป กลุ่มวิชาชีพเฉพาะหรือกลุ่มที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพ และกลุ่มเชี่ยวชาญ
หมวดที่ 2 จะเกี่ยวกับการกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี รวมถึงบทบาทอำนาจหน้าที่ หมวดที่ 3 ว่าด้วยระบบการจ้างงาน โดยให้ส่วนราชการเป็นผู้ว่าจ้าง และพนักงานมีสิทธิย้ายไปปฏิบัติงานในหน่วยบริการอื่นที่อยู่ในส่วนราชการเดียวกันได้ และอาจได้รับการแต่งตั้งจากส่วนราชการให้เป็นหัวหน้างานได้ หมวดที่ 4 ว่าด้วยค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ โดยมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ เช่นพื้นที่พิเศษ พื้นที่ขาดแคลน และได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลา การรับค่าจ้างระหว่างลา ค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเบี้ยประชุม และมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทางราชการจ่ายเงินก้อนให้ยามพ้นจากราชการ สิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและสิทธิอื่นๆ หมวดที่ 5 ว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงาน หมวดที่ 6 ว่าด้วยการสิ้นสุดสัญญาจ้าง ซึ่งมี 7 กรณีได้แก่ ครบกำหนดสัญญาอายุครบ 60 ปี ตาย ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน ถูกปลดออก หรือถูกไล่ออก หากเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เลิกจ้างเพราะเสร็จสิ้นภารกิจ และขอลาออก สำหรับในหมวดเฉพาะกาล โดยการกำหนดจำนวนพนักงานตามประเภทและกลุ่ม ให้ส่วนราชการหรือหน่วยบริการวิเคราะห์ภาระงาน และพิจารณาการใช้กำลังคนในภาพรวมทุกประเภท ทั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ จ้างเหมาบริการ ให้จัดทำกรอบกำลังพนักงานทุก 4 ปี
โดยกระทรวงสาธารณสุขจะต้องเร่งดำเนินการ 3 เรื่อง คือ 1.การขอแก้ระเบียบการใช้เงินบำรุงของสถานบริการ เพื่อให้สามารถนำเงินบำรุงมาใช้จ่ายเป็นค่าจ้างพนักงานทั้งหมด และ 2.เร่งจัดตั้งกองทุนสำรองเลี่ยงชีพพนักงานฯภายใน 1 ปี นับจากระเบียบมีผลใช้บังคับและแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน ภายใน 2 ปี และประการที่ 3 คือเร่งชี้แจงทำความเข้าใจผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภาค เพื่อความเข้าใจในข้อระเบียบและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป นายแพทย์ณรงค์ กล่าว
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าของการออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยพนักงานกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2556 ว่า ได้ลงนามเพื่อประกาศใช้ระเบียบดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2556 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้กลุ่มลูกจ้างชั่วคราวสายสนับสนุนที่อยู่นอกเหนือ 21 สายงานวิชาชีพ และลูกจ้างชั่วคราวสายวิชาชีพอื่นที่ยังไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการของทุกกรมในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีประมาณ 117,000 คนทั่วประเทศมีโอกาสได้เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข หรือ พกส.มีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น เกิดกำลังใจในการปฏิบัติงานต่อไป โดยจะดำเนินการจ้างงานใหม่ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2556 นับว่าเป็นกฎหมายบริหารกำลังคนเฉพาะของกระทรวงสาธารณสุขฉบับแรกในประวัติศาสตร์
ในระเบียบนี้จะมีคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข 1 ชุด ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธาน และอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการที่เป็นผู้แทนที่แต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขอีก 7 คน จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป พนักงานกระทรวงสาธารณสุข และหัวหน้าหน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านบริหารงานบุคคลระดับกระทรวงเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขเกี่ยวกับการจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข การสรรหา และการเลือกสรร รวมทั้งแบบสัญญาจ้าง กำหนดลักษณะงานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มพนักงาน อัตราค่าจ้าง ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์ของ พกส.เป็นต้น
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามระเบียบ พกส.นี้ มี 6 หมวดและบทเฉพาะกาล สำหรับหมวดที่ 1 จะเกี่ยวกับการกำหนดประเภทและกลุ่มตำแหน่งของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ ประเภททั่วไป ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติงานในลักษณะเป็นงานประจำทั้งภารกิจหลักและสนับสนุนทั่วไปของหน่วยบริการในด้านงานเทคนิค งานบริการ งานบริหารทั่วไป งานวิชาชีพเฉพาะ และประเภทที่ 2 คือประเภทพิเศษ ซึ่งเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานในลักษณะที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญสูงมากเป็นพิเศษ โดยกำหนดกลุ่มตำแหน่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มเทคนิค บริการ บริหารทั่วไป กลุ่มวิชาชีพเฉพาะหรือกลุ่มที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพ และกลุ่มเชี่ยวชาญ
หมวดที่ 2 จะเกี่ยวกับการกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี รวมถึงบทบาทอำนาจหน้าที่ หมวดที่ 3 ว่าด้วยระบบการจ้างงาน โดยให้ส่วนราชการเป็นผู้ว่าจ้าง และพนักงานมีสิทธิย้ายไปปฏิบัติงานในหน่วยบริการอื่นที่อยู่ในส่วนราชการเดียวกันได้ และอาจได้รับการแต่งตั้งจากส่วนราชการให้เป็นหัวหน้างานได้ หมวดที่ 4 ว่าด้วยค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ โดยมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษ เช่นพื้นที่พิเศษ พื้นที่ขาดแคลน และได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลา การรับค่าจ้างระหว่างลา ค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเบี้ยประชุม และมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทางราชการจ่ายเงินก้อนให้ยามพ้นจากราชการ สิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและสิทธิอื่นๆ หมวดที่ 5 ว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติงาน หมวดที่ 6 ว่าด้วยการสิ้นสุดสัญญาจ้าง ซึ่งมี 7 กรณีได้แก่ ครบกำหนดสัญญาอายุครบ 60 ปี ตาย ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน ถูกปลดออก หรือถูกไล่ออก หากเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เลิกจ้างเพราะเสร็จสิ้นภารกิจ และขอลาออก สำหรับในหมวดเฉพาะกาล โดยการกำหนดจำนวนพนักงานตามประเภทและกลุ่ม ให้ส่วนราชการหรือหน่วยบริการวิเคราะห์ภาระงาน และพิจารณาการใช้กำลังคนในภาพรวมทุกประเภท ทั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ จ้างเหมาบริการ ให้จัดทำกรอบกำลังพนักงานทุก 4 ปี
โดยกระทรวงสาธารณสุขจะต้องเร่งดำเนินการ 3 เรื่อง คือ 1.การขอแก้ระเบียบการใช้เงินบำรุงของสถานบริการ เพื่อให้สามารถนำเงินบำรุงมาใช้จ่ายเป็นค่าจ้างพนักงานทั้งหมด และ 2.เร่งจัดตั้งกองทุนสำรองเลี่ยงชีพพนักงานฯภายใน 1 ปี นับจากระเบียบมีผลใช้บังคับและแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน ภายใน 2 ปี และประการที่ 3 คือเร่งชี้แจงทำความเข้าใจผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภาค เพื่อความเข้าใจในข้อระเบียบและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป นายแพทย์ณรงค์ กล่าว