สอศ.เตรียมยกเครื่องระบบอาชีวศึกษาตอบสนองเศรษฐกิจไทย การเคลื่อนย้ายการลงทุนและแรงงานในการเปิดเออีซี ชี้หากแรงงานไทยมีศักยภาพจะดูดซับทุนจากต่างประเทศเข้าประเทศได้มากขึ้น
วันนี้ (9 มี.ค.) ที่โรงแรมบางกอกกอล์ฟ สปา รีสอร์ท จ.ปทุมธานี ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวในการเปิดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อใช้เป็นแม่บทของการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาทั้งระบบ ซึ่งมีนักวิชาการในภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ ร่วมระดมความคิดวางกรอบจัดทำ Foresight หรือกำหนดภาพในอนาคตทางด้านอาชีวศึกษาในระยะ 10 ปี ว่า ประเทศไทยควรมีการผลิตกำลังคนสายวิชาชีพเป็นจำนวนเท่าใด ตลาดของผู้ประกอบการต้องการทักษะและความชำนาญงานสาขาวิชาชีพใด เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและตอบสนองการแข่งขันของประเทศภาคใต้ความเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล ใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านการผลิตกำลังคนในระยะต้น ระยะกลาง และระยะยาวของประเทศ
ดร.ชัยพฤกษ์ กล่าวอีกว่า การจัดทำ Foresight ครั้งนี้ ถือเป็นการยกเครื่องครั้งสำคัญ เพื่อปรับแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอนให้สามารถสนองตอบเป้าหมายของการพัฒนากำลังคนระบบใหญ่ของประเทศ โดยจะปรับภารกิจเดิมของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่เน้นการผลิตนักเรียน นักศึกษา ระดับ ปวช. ปวส. และ ปริญญาตรีสายเทคโนโลยี เข้าสู่ตลาดแรงงานภาครัฐและเอกชนเป็นส่วนใหญ่ แต่ภารกิจที่กำหนดขึ้นใหม่จะเพิ่มกลุ่มเป้าหมายวัยแรงงานที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และรวมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานและการประกอบอาชีพ เป็นการยกระดับฝีมือแรงงานของประเทศ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะมีบทบาทในการส่งเสริมให้หน่วยงานอื่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ และเอกชนเข้ามาร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาในลักษณะทวิภาคีให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มผลิตภาพด้านแรงงานควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและการลงทุน ตลอดจนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มีความสมดุลกันด้วย
การประชุมครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทน.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วันนี้ (9 มี.ค.) ที่โรงแรมบางกอกกอล์ฟ สปา รีสอร์ท จ.ปทุมธานี ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวในการเปิดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อใช้เป็นแม่บทของการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาทั้งระบบ ซึ่งมีนักวิชาการในภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ ร่วมระดมความคิดวางกรอบจัดทำ Foresight หรือกำหนดภาพในอนาคตทางด้านอาชีวศึกษาในระยะ 10 ปี ว่า ประเทศไทยควรมีการผลิตกำลังคนสายวิชาชีพเป็นจำนวนเท่าใด ตลาดของผู้ประกอบการต้องการทักษะและความชำนาญงานสาขาวิชาชีพใด เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและตอบสนองการแข่งขันของประเทศภาคใต้ความเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล ใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการด้านการผลิตกำลังคนในระยะต้น ระยะกลาง และระยะยาวของประเทศ
ดร.ชัยพฤกษ์ กล่าวอีกว่า การจัดทำ Foresight ครั้งนี้ ถือเป็นการยกเครื่องครั้งสำคัญ เพื่อปรับแผนยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอนให้สามารถสนองตอบเป้าหมายของการพัฒนากำลังคนระบบใหญ่ของประเทศ โดยจะปรับภารกิจเดิมของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่เน้นการผลิตนักเรียน นักศึกษา ระดับ ปวช. ปวส. และ ปริญญาตรีสายเทคโนโลยี เข้าสู่ตลาดแรงงานภาครัฐและเอกชนเป็นส่วนใหญ่ แต่ภารกิจที่กำหนดขึ้นใหม่จะเพิ่มกลุ่มเป้าหมายวัยแรงงานที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และรวมทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานและการประกอบอาชีพ เป็นการยกระดับฝีมือแรงงานของประเทศ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะมีบทบาทในการส่งเสริมให้หน่วยงานอื่น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบการ และเอกชนเข้ามาร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาในลักษณะทวิภาคีให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มผลิตภาพด้านแรงงานควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและการลงทุน ตลอดจนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้มีความสมดุลกันด้วย
การประชุมครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทน.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี