สอศ.เตรียมปรับตัวครั้งใหญ่ ระดมนักวิชาการ-คนในวงการอุตสาหกรรมร่วมจัดทำ Foresight กำหนดภาพในอนาคตระยะ 10 ปีของอาชีวศึกษา และทำแผนยุทธศาสตร์เสนอรัฐบาล กำหนดเสร็จภายใน 1 เดือน หวังยกระดับฝีมือแรงงานในประเทศ
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เตรียมปรับวิสัยทัศน์ครั้งใหญ่ เพื่อให้การผลิตและพัฒนากำลังทางด้านอาชีวศึกษาของทั้งประเทศตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น โดยการปรับตัวครั้งนี้จะเริ่มทำ Foresight หรือภาพในอนาคตทางด้านอาชีวศึกษาในระยะ 10 ปี เชิญนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในภาคผลิตและภาคอุตสาหกรรม เช่น สภาอุตสาหกรรม ตัวแทนสถานประกอบการมาร่วมกันทำ Foresight โดยได้รับความร่วมมือจาก ศ.ดร.กฤษพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการจัดทำ Foresight ให้กับหน่วยงานต่างๆ มาเป็นหัวเรือใหญ่ช่วย สอศ.จัดทำ Foresight ดังกล่าวและ Foresight ฉบับนี้ จะนำไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการหรือ Roadmap เสนอรัฐบาล
“Foresight พร้อมแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัตินี้ จะจัดทำให้เสร็จภายใน 1 เดือน โดยจะมีการจัดประชุม สัมมนาในหลายๆ เวที เพื่อให้ได้ความเห็นที่หลากหลายมาจัดทำ Foresight แต่สาระสำคัญที่จะต้องกำหนดไว้ใน Foresight ก็คือ แผนแม่บทของผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาในระยะ 10 ปี ซึ่งอาจต้องมีทบทวนการผลิตกำลังในปัจจุบันใหม่เพื่อให้เข้ากับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ที่สำคัญ อาจมีการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่า ประเทศไทยควรมีสัดส่วนกำลังคนสายเทคโนโลยีเท่าใดเพื่อรองรับการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เช่น ประเทศมาเลเซีย กำหนดไว้ที่ร้อยละ 60 ของวัยทำงาน รวมถึงจะมีการสร้างภาพให้เห็นด้วยว่า สเปกของแรงงานสายอาชีวศึกษาที่ต้องการ ในแต่ละสายอาชีพต้องมีทักษะใดบ้าง” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า การปรับตัวทางด้านการผลิตกำลังคนสายอาชีวศึกษาซึ่งจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัยเรียนโดยตรงแล้ว ก็จะมีการเปิดกลุ่มเป้าหมายใหมด้วย นั่นก็คือ กลุ่มวัยแรงงาน วัยตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป โดยสอศ.ต้องการจะเข้าไปพัฒนาทักษะในการทำงานและประกอบอาชีพให้กับวัยแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยยกระดับฝีมือแรงงานของทั้งประเทศ ขณะที่ สอศ.ก็จะเลิกผูกขาดในการจัดการศึกษาและหันมาส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมจัดการอาชีวศึกษามากขึ้น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานประกอบการต่างๆ เข้ามาร่วมจัดในลักษณะทวิภาคี ส่วน สอศ.จะเน้นบทบาทในการวางเป้าหมาย ควบคุมมาตรฐานและบทบาทในการส่งเสริมแทน
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เตรียมปรับวิสัยทัศน์ครั้งใหญ่ เพื่อให้การผลิตและพัฒนากำลังทางด้านอาชีวศึกษาของทั้งประเทศตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น โดยการปรับตัวครั้งนี้จะเริ่มทำ Foresight หรือภาพในอนาคตทางด้านอาชีวศึกษาในระยะ 10 ปี เชิญนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในภาคผลิตและภาคอุตสาหกรรม เช่น สภาอุตสาหกรรม ตัวแทนสถานประกอบการมาร่วมกันทำ Foresight โดยได้รับความร่วมมือจาก ศ.ดร.กฤษพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการจัดทำ Foresight ให้กับหน่วยงานต่างๆ มาเป็นหัวเรือใหญ่ช่วย สอศ.จัดทำ Foresight ดังกล่าวและ Foresight ฉบับนี้ จะนำไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการหรือ Roadmap เสนอรัฐบาล
“Foresight พร้อมแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัตินี้ จะจัดทำให้เสร็จภายใน 1 เดือน โดยจะมีการจัดประชุม สัมมนาในหลายๆ เวที เพื่อให้ได้ความเห็นที่หลากหลายมาจัดทำ Foresight แต่สาระสำคัญที่จะต้องกำหนดไว้ใน Foresight ก็คือ แผนแม่บทของผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาในระยะ 10 ปี ซึ่งอาจต้องมีทบทวนการผลิตกำลังในปัจจุบันใหม่เพื่อให้เข้ากับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ที่สำคัญ อาจมีการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่า ประเทศไทยควรมีสัดส่วนกำลังคนสายเทคโนโลยีเท่าใดเพื่อรองรับการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เช่น ประเทศมาเลเซีย กำหนดไว้ที่ร้อยละ 60 ของวัยทำงาน รวมถึงจะมีการสร้างภาพให้เห็นด้วยว่า สเปกของแรงงานสายอาชีวศึกษาที่ต้องการ ในแต่ละสายอาชีพต้องมีทักษะใดบ้าง” นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า การปรับตัวทางด้านการผลิตกำลังคนสายอาชีวศึกษาซึ่งจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวัยเรียนโดยตรงแล้ว ก็จะมีการเปิดกลุ่มเป้าหมายใหมด้วย นั่นก็คือ กลุ่มวัยแรงงาน วัยตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป โดยสอศ.ต้องการจะเข้าไปพัฒนาทักษะในการทำงานและประกอบอาชีพให้กับวัยแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยยกระดับฝีมือแรงงานของทั้งประเทศ ขณะที่ สอศ.ก็จะเลิกผูกขาดในการจัดการศึกษาและหันมาส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ร่วมจัดการอาชีวศึกษามากขึ้น เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานประกอบการต่างๆ เข้ามาร่วมจัดในลักษณะทวิภาคี ส่วน สอศ.จะเน้นบทบาทในการวางเป้าหมาย ควบคุมมาตรฐานและบทบาทในการส่งเสริมแทน