เล็งแก้ กม.วิจัย กำหนดชัดควรขึ้นกับหน่วยงานใด รวมทั้งการจัดสรรเม็ดเงินเพื่อสร้างงานวิจัย หลังเสียงสะท้อนนักวิจัยพ้อพบปัญหาการเข้าถึงแหล่งทุน การนำงานวิจัยไปใช้
นายดิเรก ถึงฝั่ง เลขานุการคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา เปิดเผยว่า จากการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มนักวิจัยที่ได้รับรางวัลโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ รุ่นที่ 1 พ.ศ.2555 ทำให้เห็นถึงปัญหาการทำวิจัยทั้งเรื่องการเข้าถึงแหล่งทุน การนำงานวิจัยไปใช้ และการต่อยอดงานวิจัยสู่ภาคการผลิต อุตสาหกรรมและการบริการ ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่วุฒิสภากำลังดำเนินการอยู่ คือ การแก้ไขกฎหมายการวิจัยแห่งชาติ เพื่อให้งานวิจัยได้รับการสนับสนุนเป็นระบบและคล่องตัวมากขึ้น เบื้องต้นเห็นว่า เดิมงบประมาณเพื่องานวิจัยภาครัฐจะกระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัย แต่พบว่าเมื่อถึงปลายปี กระทรวง กรม ต่างๆ จะขอเปลี่ยนหมวดงบวิจัย เป็นงบบริหาร ทำให้งบวิจัยหายไป
ดังนั้น ร่างกฎหมายใหม่จะระบุให้ชัดเจนว่า งบวิจัยควรจะอยู่ที่หน่วยงานใด จำนวนเท่าไร โดยกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ จะเป็นผู้ควบคุมจัดสรรเงินให้กับกระทรวงต่างๆ เพื่อไม่ให้เงินกระจุกตัวอยู่กระทรวงใดกระทรวงหนึ่งมากเกินไป และถูกเปลี่ยนหมวดไปในที่สุดโดยไม่ใช้ประโยชน์ ทั้งจะได้ช่วยกันดูแลไม่ให้งบฯวิจัยรั่วไหล ส่วนงบฯวิจัยที่อยู่กับมหาวิทยาลัยนั้น ก็เป็นไปตามเดิมเพราะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ผลิตงานวิจัยอยู่แล้ว
ด้าน นางนิลวรรณ เพชระบูรณิน ประธานกรรมการโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ รุ่นที่ 2 พ.ศ.2556 เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการจัดโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ รุ่นที่ 1 ประสบความสำเร็จด้วยดี มีผู้ได้รับการยกย่องประกาศเกียรติคุณ จำนวน 215 ผลงาน ดังนั้นในปี 2556 กรรมาธิการวิทยาศาสตร์ฯ วุฒิสภา จึงจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 กำหนดกลุ่มเป้าหมายคือ บุคคลทั่วไป, นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครูอาจารย์, ผู้ประกอบการใหม่,องค์กรภาคเอกชน,องค์กรภาครัฐ จำนวน 15 สาขา ได้แก่ เกษตรกรรม, อาหาร, สุขภาพและการแพทย์, พลังงาน, สิ่งแวดล้อม, การจัดการภัยพิบัติ, การศึกษา, บริการภาครัฐ, การสื่อสาร, โทรคมนาคม, ความมั่นคง, การผลิต, การบริการ, ศิลปวัฒนธรรม และสาขาอื่นๆ โดยเปิดรับการเสนอรายชือผู้สมควรได้รับใบประกาศเกียรติคุณ ถึงวันที่ 15 พ.ค.นี้ จากนั้นคณะทำงานจะลงพื้นที่ตรวจสอบ และจะประกาศผลการยกย่องภายในวันที่ 31 ส.ค.นี้ ผู้สนใจสอบถาม 0-2831-9158-9 หรือ www.senate.go.th
นายดิเรก ถึงฝั่ง เลขานุการคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา เปิดเผยว่า จากการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มนักวิจัยที่ได้รับรางวัลโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ รุ่นที่ 1 พ.ศ.2555 ทำให้เห็นถึงปัญหาการทำวิจัยทั้งเรื่องการเข้าถึงแหล่งทุน การนำงานวิจัยไปใช้ และการต่อยอดงานวิจัยสู่ภาคการผลิต อุตสาหกรรมและการบริการ ดังนั้น แนวทางหนึ่งที่วุฒิสภากำลังดำเนินการอยู่ คือ การแก้ไขกฎหมายการวิจัยแห่งชาติ เพื่อให้งานวิจัยได้รับการสนับสนุนเป็นระบบและคล่องตัวมากขึ้น เบื้องต้นเห็นว่า เดิมงบประมาณเพื่องานวิจัยภาครัฐจะกระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัย แต่พบว่าเมื่อถึงปลายปี กระทรวง กรม ต่างๆ จะขอเปลี่ยนหมวดงบวิจัย เป็นงบบริหาร ทำให้งบวิจัยหายไป
ดังนั้น ร่างกฎหมายใหม่จะระบุให้ชัดเจนว่า งบวิจัยควรจะอยู่ที่หน่วยงานใด จำนวนเท่าไร โดยกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ จะเป็นผู้ควบคุมจัดสรรเงินให้กับกระทรวงต่างๆ เพื่อไม่ให้เงินกระจุกตัวอยู่กระทรวงใดกระทรวงหนึ่งมากเกินไป และถูกเปลี่ยนหมวดไปในที่สุดโดยไม่ใช้ประโยชน์ ทั้งจะได้ช่วยกันดูแลไม่ให้งบฯวิจัยรั่วไหล ส่วนงบฯวิจัยที่อยู่กับมหาวิทยาลัยนั้น ก็เป็นไปตามเดิมเพราะเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ผลิตงานวิจัยอยู่แล้ว
ด้าน นางนิลวรรณ เพชระบูรณิน ประธานกรรมการโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ รุ่นที่ 2 พ.ศ.2556 เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการจัดโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ รุ่นที่ 1 ประสบความสำเร็จด้วยดี มีผู้ได้รับการยกย่องประกาศเกียรติคุณ จำนวน 215 ผลงาน ดังนั้นในปี 2556 กรรมาธิการวิทยาศาสตร์ฯ วุฒิสภา จึงจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 กำหนดกลุ่มเป้าหมายคือ บุคคลทั่วไป, นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครูอาจารย์, ผู้ประกอบการใหม่,องค์กรภาคเอกชน,องค์กรภาครัฐ จำนวน 15 สาขา ได้แก่ เกษตรกรรม, อาหาร, สุขภาพและการแพทย์, พลังงาน, สิ่งแวดล้อม, การจัดการภัยพิบัติ, การศึกษา, บริการภาครัฐ, การสื่อสาร, โทรคมนาคม, ความมั่นคง, การผลิต, การบริการ, ศิลปวัฒนธรรม และสาขาอื่นๆ โดยเปิดรับการเสนอรายชือผู้สมควรได้รับใบประกาศเกียรติคุณ ถึงวันที่ 15 พ.ค.นี้ จากนั้นคณะทำงานจะลงพื้นที่ตรวจสอบ และจะประกาศผลการยกย่องภายในวันที่ 31 ส.ค.นี้ ผู้สนใจสอบถาม 0-2831-9158-9 หรือ www.senate.go.th