นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เรียกร้องให้มีการเสนอ พ.ร.ก.นิรโทษกรรม สำหรับผู้ชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ปี 50-54 ว่า การนิรโทษกรรม ถือเป็นอำนาจรัฐบาลที่จะออกเป็นพ.ร.ก. หรือ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมก็ได้ แต่ส่วนตัวเห็นว่า ต้องยึดหลักการของกฎหมายเป็นหลัก โดยหากจะมีการนิรโทษกรรมจริง ก็ควรจะเป็นการนิรโทษในช่วงที่ไม่มีกระบวนการยุติธรรมปกติ ซึ่งหมายถึงเป็นช่วงที่มีรัฐบาล จากคณะรัฐประหาร และองค์กรที่เกิดจากในช่วงรัฐประหาร จนทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบเท่านั้น แต่หากคดีอาญาใดที่ยังมีอายุความ และยังมีหลักฐานที่ดำเนินการได้อยู่ ก็ควรจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติ ทั้งนี้ขอเสนอของกลุ่ม นปช.ไม่น่าจะถูกต้อง และมีเหตุผลตอบสังคมไม่ได้
"เมื่อมีกระบวนการยุติธรรมปกติ และคดียังไม่หมดอายุความ ก็ควรจะปล่อยให้ทำงานไปตามปกติ เพราะมันยังไปต่อได้ ผมว่าไม่เห็นด้วยที่จะนิรโทษกรรมทั้งหมดตามที่นปช. เสนอ เพราะขัดหลักการกฎหมาย" นายวัฒนา กล่าว
นายวัฒนา ยังกล่าวถึงกรณีนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ยืนยันจะเดินหน้าเสนอแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่า หากมีการเปลี่ยนหลักการใหม่ โดยโยงเข้ากับหมวดสิทธิเสรีภาพ ก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไปรวบรวมรายชื่อใหม่จำนวน10,000 รายชื่อ มาเสนอ เพราะร่างแก้ไขดังกล่าวที่ถูกตีตกไปนั้น เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์การเสนอกฎหมายโดยประชาชน ที่ระบุว่าจะเข้าชื่อเสนอได้ ต้องเป็นนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ เสรีภาพ และแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น แต่ร่างดังกล่าวที่ส่งเข้ามา เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์โดยตรง จึงถูกตีตกไป อีกทั้งเมื่อมีการส่งเรื่องให้รัฐสภาพิจารณาแล้ว หากประธาน หรือรองประธานรัฐสภา ไม่พิจารณาก่อนปล่อยให้เข้าสู่ระเบียบวาระก็จะถูกดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ได้ ดังนั้นหากกลุ่มนิติราษฎร์ ยังต้องการผลักร่างดังกล่าว ก็ไปเสนอต่อพรรคการเมือง เพื่อให้ส.ส. จำนวน 20 คน แก้ไขกฎหมายได้ทุกเรื่อง
**"มาร์ค"ชี้แผน"ตู่"วางยา"แม้ว"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี กลุ่มนปช. ไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้ออกพ.ร.ก.นิรโทษกรรม ให้กับผู้ที่ถูกศาลตัดสินจำคุก และผู้ที่ถูกกล่าวหาที่คดียังไม่ถึงที่สุด จากคดีทางการเมือง ตั้งแต่ 1 ม.ค. 50-31 ธ.ค. 54 โดยที่ไม่นิรโทษกรรมให้กับผู้ที่มีอำนาจสั่งการ ตัดสินใจ ว่า ตกลงแรงจูงใจทางการเมืองหรือว่าการกระทำความผิดโดยมีมูลเหตุทางการเมืองนั้น จะนิยามอย่างไร ซึ่งจะเพิ่มความสับสนเข้าไปอีกว่า ใครมีอำนาจ หรือสั่งการให้เคลื่อนไหว ใครจะเป็นคนชี้นำจริงๆ ซึ่งตนอยากถามว่า คนที่สั่งการเคลื่อนไหวแน่ๆ คนเดียวที่เห็นก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่วิดีโอลิงก์ เข้ามาสั่งให้เคลื่อนไหวชัดเจน ซึ่งไม่รู้ว่างานนี้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. วางยาพ.ต.ท.ทักษิณ หรือเปล่า
" อยากเตือนรัฐบาล เพราะมองไม่เห็นว่า เรื่องนี้จะไปเข้าเงื่อนไขการออกพ.ร.ก. ได้อย่างไร เพราะไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เหมือนกรณีเงินกู้ของน้ำท่วม ซึ่งต่อมาก็พิสูจน์ภายหลังค่อนข้างชัดเจนว่า ที่อ้างว่าเร่งด่วนมากๆ ถึงวันนี้ปรากฏว่า เงินยังแทบไม่ได้ หากรัฐบาลออก พ.ร.ก.ดังกล่าวไปแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบ แต่คิดว่ารัฐบาลอย่าไปสร้างปมปัญหาความขัดแย้งเพิ่ม แต่ควรมานั่งคุยกันว่า อะไรที่รับกันได้ ในเรื่องการนิรโทษกรรม เช่น การฝ่าฝืนพ.ร.ก.จะเป็นประโยชน์กว่า" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**นิรโทษปชช.ยกเว้นนักการเมือง
นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 กล่าวถึงกรณี กลุ่มนปช. ยื่นเรื่องให้รัฐบาลออกพ.ร.ก.นิรโทษกรรม ว่า ตนไม่เห็นด้วย เพราะไม่เหมาะสม ควรออกเป็นพ.ร.บ.โดยผ่านสภามากกว่า จะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย โดยออกเป็นพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เฉพาะประชาชนที่ร่วมชุมนุมทางการเมืองที่ยังติดคุกอยู่ แต่ไม่รวมแกนนำที่รับผิดชอบ และคนที่มีคดีความผิดทางอาญา รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ต้องต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมต่อไป รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารที่ก่อเหตุ ผู้นำเหล่าทัพต่างๆ จะต้องมาต่อสู้ในชั้นศาลต่อไปตามปกติ ถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ก็ไม่มีความผิดอยู่แล้ว เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองไทยต่อไป
"คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 จะไปขอคำแนะนำและขอการสนับสนุนกับประธานรัฐสภา รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย ในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมกันผลักดันให้เป็นพ.ร.บ.ที่นิรโทษกรรมให้แก่ภาคประชาชนเท่านั้น ทั้งนี้ผมอยากขอให้อดีต คอป. ชุดอาจารย์คณิต ได้ออกมาสนับสนุนเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเป็นไปตามแนวทางของ คอป. ด้วย" นายอดุลย์ กล่าว
**อัดรัฐยืมมือนักวิชาการแก้รธน.
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมมอบให้สถาบันการศึกษา 3 แห่ง พิจารณาเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญว่า เท่าที่ได้ติดตามพบว่าเรื่องดังกล่าว เป็นเพราะรัฐบาลทราบอยู่แล้วว่า มีการศึกษามาแล้วหลายองค์กร รวมทั้งคณะกรรมการที่สภาแต่งตั้งขึ้น และคณะกรรมการจากภายนอกอีกหลายชุด จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้สถาบันการศึกษาทั้ง 3 แห่งมาศึกษาอีก จึงไม่แน่ใจว่าการทำเช่นนี้ เพื่อต้องการผลการศึกษาที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง หรือมีนัยยะแอบแฝง โดยยืมมือสถาบันการศึกษามาดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายในสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการต่อหรือไม่ จึงอยากฝากไปยังรัฐบาลว่า ถ้ามีความจริงใจในเรื่องนี้ และต้องการแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง ควรดำเนินการแก้รัฐธรรมนูญอย่างตรงไปตรงมา ให้เป็นประโยชน์ต่อชาติ ดีกว่าซื้อเวลาไปวันๆ แล้วหาข้ออ้างมาดำเนินการตามวัตถุประสงค์แอบแฝงของตัวเอง
**วุฒิฯให้แก้รายมาตราเลี่ยงปัญหาขัดแย้ง
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี คณะทำงานศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า จากการร่วมหารือนัดแรกกับทางพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นท่าทีที่ดี แม้จะยังไม่รับประเด็นที่ฝ่ายวุฒิสภาเสนอ แต่ก็รับไว้ไปปรึกษาหารือกับทางพรรคร่วมก่อน ยังไม่ได้ตัดประเด็นของเราไป ซึ่งคงต้องหารือกันอีกหลายครั้ง เพื่อนำเสนอแนวทางที่กลุ่มส.ว. 67 คน เห็นว่าควรให้เดินไปตามแนวทางที่คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีตนเป็นประธานฯ เคยเสนอไว้ โดยเห็นว่าเวลานี้เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรค และให้รัฐบาลทำงานไปได้ จึงควรแก้เป็นรายมาตรา ที่ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว.สรรหา ส.ว.เลือกตั้ง ต่างเห็นตรงกันหมดว่า มีปัญหาจริงๆ เช่น มาตรา 190 หรือ มาตรา 237 ดังนั้นจึงน่าจะได้เดินไปตามแนวทางนี้ก่อน ส่วนการลงมติวาระ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อตั้งส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างใหม่นั้น ให้ว่ากันทีหลัง และเราจะได้หารือกับทางฝ่ายค้านต่อไป
"เมื่อมีกระบวนการยุติธรรมปกติ และคดียังไม่หมดอายุความ ก็ควรจะปล่อยให้ทำงานไปตามปกติ เพราะมันยังไปต่อได้ ผมว่าไม่เห็นด้วยที่จะนิรโทษกรรมทั้งหมดตามที่นปช. เสนอ เพราะขัดหลักการกฎหมาย" นายวัฒนา กล่าว
นายวัฒนา ยังกล่าวถึงกรณีนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ยืนยันจะเดินหน้าเสนอแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่า หากมีการเปลี่ยนหลักการใหม่ โดยโยงเข้ากับหมวดสิทธิเสรีภาพ ก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไปรวบรวมรายชื่อใหม่จำนวน10,000 รายชื่อ มาเสนอ เพราะร่างแก้ไขดังกล่าวที่ถูกตีตกไปนั้น เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์การเสนอกฎหมายโดยประชาชน ที่ระบุว่าจะเข้าชื่อเสนอได้ ต้องเป็นนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ เสรีภาพ และแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเท่านั้น แต่ร่างดังกล่าวที่ส่งเข้ามา เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์โดยตรง จึงถูกตีตกไป อีกทั้งเมื่อมีการส่งเรื่องให้รัฐสภาพิจารณาแล้ว หากประธาน หรือรองประธานรัฐสภา ไม่พิจารณาก่อนปล่อยให้เข้าสู่ระเบียบวาระก็จะถูกดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157 ฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ได้ ดังนั้นหากกลุ่มนิติราษฎร์ ยังต้องการผลักร่างดังกล่าว ก็ไปเสนอต่อพรรคการเมือง เพื่อให้ส.ส. จำนวน 20 คน แก้ไขกฎหมายได้ทุกเรื่อง
**"มาร์ค"ชี้แผน"ตู่"วางยา"แม้ว"
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี กลุ่มนปช. ไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้ออกพ.ร.ก.นิรโทษกรรม ให้กับผู้ที่ถูกศาลตัดสินจำคุก และผู้ที่ถูกกล่าวหาที่คดียังไม่ถึงที่สุด จากคดีทางการเมือง ตั้งแต่ 1 ม.ค. 50-31 ธ.ค. 54 โดยที่ไม่นิรโทษกรรมให้กับผู้ที่มีอำนาจสั่งการ ตัดสินใจ ว่า ตกลงแรงจูงใจทางการเมืองหรือว่าการกระทำความผิดโดยมีมูลเหตุทางการเมืองนั้น จะนิยามอย่างไร ซึ่งจะเพิ่มความสับสนเข้าไปอีกว่า ใครมีอำนาจ หรือสั่งการให้เคลื่อนไหว ใครจะเป็นคนชี้นำจริงๆ ซึ่งตนอยากถามว่า คนที่สั่งการเคลื่อนไหวแน่ๆ คนเดียวที่เห็นก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่วิดีโอลิงก์ เข้ามาสั่งให้เคลื่อนไหวชัดเจน ซึ่งไม่รู้ว่างานนี้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. วางยาพ.ต.ท.ทักษิณ หรือเปล่า
" อยากเตือนรัฐบาล เพราะมองไม่เห็นว่า เรื่องนี้จะไปเข้าเงื่อนไขการออกพ.ร.ก. ได้อย่างไร เพราะไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เหมือนกรณีเงินกู้ของน้ำท่วม ซึ่งต่อมาก็พิสูจน์ภายหลังค่อนข้างชัดเจนว่า ที่อ้างว่าเร่งด่วนมากๆ ถึงวันนี้ปรากฏว่า เงินยังแทบไม่ได้ หากรัฐบาลออก พ.ร.ก.ดังกล่าวไปแล้ว ก็ต้องรับผิดชอบ แต่คิดว่ารัฐบาลอย่าไปสร้างปมปัญหาความขัดแย้งเพิ่ม แต่ควรมานั่งคุยกันว่า อะไรที่รับกันได้ ในเรื่องการนิรโทษกรรม เช่น การฝ่าฝืนพ.ร.ก.จะเป็นประโยชน์กว่า" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**นิรโทษปชช.ยกเว้นนักการเมือง
นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 2535 กล่าวถึงกรณี กลุ่มนปช. ยื่นเรื่องให้รัฐบาลออกพ.ร.ก.นิรโทษกรรม ว่า ตนไม่เห็นด้วย เพราะไม่เหมาะสม ควรออกเป็นพ.ร.บ.โดยผ่านสภามากกว่า จะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย โดยออกเป็นพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เฉพาะประชาชนที่ร่วมชุมนุมทางการเมืองที่ยังติดคุกอยู่ แต่ไม่รวมแกนนำที่รับผิดชอบ และคนที่มีคดีความผิดทางอาญา รวมถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ต้องต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมต่อไป รวมถึงเจ้าหน้าที่ทหารที่ก่อเหตุ ผู้นำเหล่าทัพต่างๆ จะต้องมาต่อสู้ในชั้นศาลต่อไปตามปกติ ถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ก็ไม่มีความผิดอยู่แล้ว เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองไทยต่อไป
"คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 จะไปขอคำแนะนำและขอการสนับสนุนกับประธานรัฐสภา รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย ในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ทุกฝ่ายร่วมกันผลักดันให้เป็นพ.ร.บ.ที่นิรโทษกรรมให้แก่ภาคประชาชนเท่านั้น ทั้งนี้ผมอยากขอให้อดีต คอป. ชุดอาจารย์คณิต ได้ออกมาสนับสนุนเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเป็นไปตามแนวทางของ คอป. ด้วย" นายอดุลย์ กล่าว
**อัดรัฐยืมมือนักวิชาการแก้รธน.
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลเตรียมมอบให้สถาบันการศึกษา 3 แห่ง พิจารณาเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญว่า เท่าที่ได้ติดตามพบว่าเรื่องดังกล่าว เป็นเพราะรัฐบาลทราบอยู่แล้วว่า มีการศึกษามาแล้วหลายองค์กร รวมทั้งคณะกรรมการที่สภาแต่งตั้งขึ้น และคณะกรรมการจากภายนอกอีกหลายชุด จึงไม่มีความจำเป็นต้องให้สถาบันการศึกษาทั้ง 3 แห่งมาศึกษาอีก จึงไม่แน่ใจว่าการทำเช่นนี้ เพื่อต้องการผลการศึกษาที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง หรือมีนัยยะแอบแฝง โดยยืมมือสถาบันการศึกษามาดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายในสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการต่อหรือไม่ จึงอยากฝากไปยังรัฐบาลว่า ถ้ามีความจริงใจในเรื่องนี้ และต้องการแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง ควรดำเนินการแก้รัฐธรรมนูญอย่างตรงไปตรงมา ให้เป็นประโยชน์ต่อชาติ ดีกว่าซื้อเวลาไปวันๆ แล้วหาข้ออ้างมาดำเนินการตามวัตถุประสงค์แอบแฝงของตัวเอง
**วุฒิฯให้แก้รายมาตราเลี่ยงปัญหาขัดแย้ง
นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี คณะทำงานศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า จากการร่วมหารือนัดแรกกับทางพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อวันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นท่าทีที่ดี แม้จะยังไม่รับประเด็นที่ฝ่ายวุฒิสภาเสนอ แต่ก็รับไว้ไปปรึกษาหารือกับทางพรรคร่วมก่อน ยังไม่ได้ตัดประเด็นของเราไป ซึ่งคงต้องหารือกันอีกหลายครั้ง เพื่อนำเสนอแนวทางที่กลุ่มส.ว. 67 คน เห็นว่าควรให้เดินไปตามแนวทางที่คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีตนเป็นประธานฯ เคยเสนอไว้ โดยเห็นว่าเวลานี้เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรค และให้รัฐบาลทำงานไปได้ จึงควรแก้เป็นรายมาตรา ที่ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว.สรรหา ส.ว.เลือกตั้ง ต่างเห็นตรงกันหมดว่า มีปัญหาจริงๆ เช่น มาตรา 190 หรือ มาตรา 237 ดังนั้นจึงน่าจะได้เดินไปตามแนวทางนี้ก่อน ส่วนการลงมติวาระ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อตั้งส.ส.ร.ขึ้นมายกร่างใหม่นั้น ให้ว่ากันทีหลัง และเราจะได้หารือกับทางฝ่ายค้านต่อไป