สธ.ร่วม ส.แพทย์โรคหัวใจฯ จัดประชุมสมาคมโรคหัวใจแห่งเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 19 หวังแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจากผู้เชี่ยวชาญ หลังพบโรคหัวใจเป็นยมทูตคร่าชีวิตชาวโลกมากเป็นอันดับ 1 ปีละ 17 ล้านคน
วันนี้ (20 ก.พ.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 22-24 ก.พ.นี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมาคมโรคหัวใจแห่งเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 19 (19th Asian Pacific Congress of Cardiology : 19th APCC) ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี จัดโดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (Asian Pacific Society of Cardiology : APSC) ร่วมกับ สธ.ได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์โรคหัวใจ (World Heart Federation) สมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป (European Society of Cardiology) และสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (Thailand convention & Exhibition Bureau :TCEB Thailand) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีความก้าวหน้าในด้านการดูแลรักษาการตรวจวินิจฉัย ป้องกัน และงานวิจัยที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปก (APEC) ยุโรป และสหรัฐอเมริกา เป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างประเทศไทย กับประเทศต่างๆ ที่กล่าวมา โดยในวันที่ 22 ก.พ. 2556 เวลา 10.00 น.สธ.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯเป็นองค์ประธานเปิดงานประชุมดังกล่าว
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพเพื่อสนองนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ โดยไม่เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบโดยรวมแก่ประชาชนคนไทย ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่วงการแพทย์ไทยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Academic Hub) เน้นการพัฒนาศักยภาพ 3 ด้านหลักคือ ด้านการศึกษา การฝึกอบรมทางวิชาการในการการรักษาพยาบาลด้านต่างๆ และการจัดประชุมในระดับนานาชาติ นอกจากจะให้คนไทยได้รับการบริการที่เป็นเลิศอย่างเท่าเทียมแล้ว ยังสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทย ดึงดูดชาวต่างชาติให้มารับบริการด้านการรักษาพยาบาลโรคสำคัญๆ เช่น ศัลยกรรมกระดูก ศัลยกรรมความงาม การผ่าตัดโรคหัวใจ ทันตกรรม โรคระบบทางเดินอาหาร รวมถึงการตรวจสุขภาพ ซึ่งในปีที่ผ่านมามีชาวต่างชาติ 1 ใน 4 ที่เดินทางมาไทยเพื่อรับบริการในโรงพยาบาล
สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตติดอันดับ 1 ทั่วโลก องค์การอนามัยโลก คาดในปีพ.ศ. 2551 มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 17.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด และจะเพิ่มเป็น 25 ล้านคนในปี พ.ศ. 2573 หรือในอีก 17 ปีข้างหน้า สำหรับไทยในปี พ.ศ. 2554 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบแตก และโรคหัวใจ รวม 43,077 ราย สูงเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็ง ติดอันดับ 1 ใน 3 ต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี และแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบการดูแล ตั้งแต่การป้องกันเพื่อลดการเจ็บป่วย เช่นการตรวจสุขภาพคัดกรอง 2 โรคสำคัญที่จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คือโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ให้ความรู้ให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่ให้ป่วย รวมถึงการดูแลรักษากลุ่มที่ป่วยแล้วเพื่อลดผลแทรกซ้อน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดเครือข่ายบริการสุขภาพ การยกระดับมาตรฐานการรักษาโรคหัวใจฉุกเฉิน เช่น โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น เร็วขึ้น ส่งผลให้อัตราการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันลดลงจากเดิมร้อยละ 17 ในปี พ.ศ. 2554 เหลือไม่เกินร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2556
ด้าน นพ.เกรียงไกร เฮงรัศมี นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยแพทย์ทั่วไป อายุรแพทย์โรคหัวใจ กุมารแพทย์โรคหัวใจ ศัลยแพทย์ทรวงอก แพทย์กายภาพบำบัด พยาบาล และผู้สนใจในเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือดคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ จากกลุ่มเอเชียแปซิฟิก 18 ประเทศ ประมาณ 1,000-1,500 คน โดยร้อยละ 60 มาจากต่างประเทศ และมีวิทยากรเชี่ยวชาญจากกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก และสหรัฐอเมริกา จำนวน 85 คน และจากประเทศไทย 35 คน ซึ่งเป็นการนำประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการและเทคโนโลยีในการดูแลโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงพัฒนาการรักษาพยาบาลด้วยวิธีการสมัยใหม่ที่เรียกว่าชีววิศวกรรมในระดับปลูกถ่ายเซลล์เนื้อเยื่อ เพื่อให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านวิชาการ ด้านการรักษาพยาบาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และระดับโลกต่อไปในอนาคต ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในฐานะศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
วันนี้ (20 ก.พ.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 22-24 ก.พ.นี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมาคมโรคหัวใจแห่งเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 19 (19th Asian Pacific Congress of Cardiology : 19th APCC) ที่โรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี จัดโดยสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (Asian Pacific Society of Cardiology : APSC) ร่วมกับ สธ.ได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์โรคหัวใจ (World Heart Federation) สมาคมโรคหัวใจแห่งยุโรป (European Society of Cardiology) และสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (Thailand convention & Exhibition Bureau :TCEB Thailand) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีความก้าวหน้าในด้านการดูแลรักษาการตรวจวินิจฉัย ป้องกัน และงานวิจัยที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปก (APEC) ยุโรป และสหรัฐอเมริกา เป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างประเทศไทย กับประเทศต่างๆ ที่กล่าวมา โดยในวันที่ 22 ก.พ. 2556 เวลา 10.00 น.สธ.ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯเป็นองค์ประธานเปิดงานประชุมดังกล่าว
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพการให้บริการสุขภาพเพื่อสนองนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ โดยไม่เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบโดยรวมแก่ประชาชนคนไทย ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่วงการแพทย์ไทยคือ ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Academic Hub) เน้นการพัฒนาศักยภาพ 3 ด้านหลักคือ ด้านการศึกษา การฝึกอบรมทางวิชาการในการการรักษาพยาบาลด้านต่างๆ และการจัดประชุมในระดับนานาชาติ นอกจากจะให้คนไทยได้รับการบริการที่เป็นเลิศอย่างเท่าเทียมแล้ว ยังสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทย ดึงดูดชาวต่างชาติให้มารับบริการด้านการรักษาพยาบาลโรคสำคัญๆ เช่น ศัลยกรรมกระดูก ศัลยกรรมความงาม การผ่าตัดโรคหัวใจ ทันตกรรม โรคระบบทางเดินอาหาร รวมถึงการตรวจสุขภาพ ซึ่งในปีที่ผ่านมามีชาวต่างชาติ 1 ใน 4 ที่เดินทางมาไทยเพื่อรับบริการในโรงพยาบาล
สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตติดอันดับ 1 ทั่วโลก องค์การอนามัยโลก คาดในปีพ.ศ. 2551 มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 17.3 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด และจะเพิ่มเป็น 25 ล้านคนในปี พ.ศ. 2573 หรือในอีก 17 ปีข้างหน้า สำหรับไทยในปี พ.ศ. 2554 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบแตก และโรคหัวใจ รวม 43,077 ราย สูงเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็ง ติดอันดับ 1 ใน 3 ต่อเนื่องมากกว่า 10 ปี และแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาระบบการดูแล ตั้งแต่การป้องกันเพื่อลดการเจ็บป่วย เช่นการตรวจสุขภาพคัดกรอง 2 โรคสำคัญที่จะเพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คือโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ให้ความรู้ให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่ให้ป่วย รวมถึงการดูแลรักษากลุ่มที่ป่วยแล้วเพื่อลดผลแทรกซ้อน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการจัดเครือข่ายบริการสุขภาพ การยกระดับมาตรฐานการรักษาโรคหัวใจฉุกเฉิน เช่น โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้มากขึ้น เร็วขึ้น ส่งผลให้อัตราการตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันลดลงจากเดิมร้อยละ 17 ในปี พ.ศ. 2554 เหลือไม่เกินร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2556
ด้าน นพ.เกรียงไกร เฮงรัศมี นายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยแพทย์ทั่วไป อายุรแพทย์โรคหัวใจ กุมารแพทย์โรคหัวใจ ศัลยแพทย์ทรวงอก แพทย์กายภาพบำบัด พยาบาล และผู้สนใจในเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือดคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ จากกลุ่มเอเชียแปซิฟิก 18 ประเทศ ประมาณ 1,000-1,500 คน โดยร้อยละ 60 มาจากต่างประเทศ และมีวิทยากรเชี่ยวชาญจากกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก และสหรัฐอเมริกา จำนวน 85 คน และจากประเทศไทย 35 คน ซึ่งเป็นการนำประเทศไทยสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการและเทคโนโลยีในการดูแลโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงพัฒนาการรักษาพยาบาลด้วยวิธีการสมัยใหม่ที่เรียกว่าชีววิศวกรรมในระดับปลูกถ่ายเซลล์เนื้อเยื่อ เพื่อให้ไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านวิชาการ ด้านการรักษาพยาบาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และระดับโลกต่อไปในอนาคต ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในฐานะศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ