"สมหวัง" แนะ สพฐ.อย่าผลีผลามลดการบ้านเด็กโดยไร้การคิดอย่างตกผลึก ย้ำต้องชัดเจนก่อนว่าจะปรับการเรียนการสอนไปในทิศทางใด จึงค่อยปรับการบ้านให้สอดคล้อง ยกแนวคิด "หมอเกษม" จัดหลักสูตรแกนกลาง 70 : หลักสูตรท้องถิ่น 30 แล้วเพิ่มทักษะให้มากขึ้นในแต่ละช่วงชั้น มาพิจารณา ชี้เป็นหลักการที่ถูกต้อง
ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ (สวพ) และประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนโยบายปรับลดการบ้านนักเรียน โดยให้ครูแต่ละสาระวิชาบูรณาการการให้การบ้านนักเรียนร่วมกัน ว่า สพฐ.ไม่ควรผลีผลามลดการบ้านโดยปราศจากการคิดให้ตกผลึก เพราะจริงๆ แล้ว การให้การบ้านเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นก่อนจะลดการบ้านก็ควรต้องคิดให้ตกผลึกก่อนว่า จะปรับการเรียนการสอนไปในทิศทางใด จากนั้นจึงค่อยปรับการให้การบ้านให้สอดคล้องกับแนวคิดใหม่ดังกล่าวในการจัดการเรียนการสอน
ศ.ดร.สมหวัง กล่าวต่อว่า สำหรับแนวคิดในการจัดการศึกษาของทศวรรษที่ 21 นั้น เน้นเรียนรู้ทุกอย่างในรูปของการฝึกทักษะ แม้กระทั่งเรื่องคุณธรรมหรือจิตอาสาก็ถูกแปลงเป็นทักษะด้วยเช่นกัน ให้เด็กเรียนรู้ว่า การจะเป็นคนที่มีคุณธรรม มีจิตอาสานั้น ต้องมีทักษะใดบ้าง และการเรียนในรูปของทักษะนั้น ครูจะให้เด็กไปเตรียมตัวเรื่องที่จะเรียนจากที่บ้าน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยากเพราะปัจจุบัน เด็กๆ สามารถค้นหาความรู้ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เมื่อมาถึงชั้นเรียนก็จะเป็นการฝึกทักษะโดนเน้นการปฏิบัติโดยมีครูเป็นโค้ช คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
“การเรียนการสอนที่ดีนั้นเรื่องของทักษะต้องเรียนที่โรงเรียน ส่วนความรู้ให้ไปหาที่บ้าน เพราะความรู้สามารถอ่านมาก่อนได้ เมื่อมาถึงโรงเรียนก็ให้ฝึกทำโปรเจกต์หรือโครงการร่วมกันโดยมีครูคอยให้คำแนะนำ การเรียนในชั้นเรียนจะไม่ใช่การที่เด็กมานั่งฟังความรู้เหมือนในอดีตอีก เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามกระแสของทศวรรษนี้แล้ว ก็คงต้องมีการปรับตั้งแต่หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน เมื่อทุกอย่างตกผลึกแล้ว จึงปรับรูปแบบการให้งานแก่เด็กให้สอดคล้องตาม” ศ.ดร.สมหวัง กล่าว
ศ.ดร.สมหวัง กล่าวอีกว่า สำหรับการปฏิรูปหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้น หากจะทำจริงๆ คงต้องปรับกันขนานใหญ่ และอยากเสนอให้นำแนวทางหรือหลักคิดของ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ที่ว่าควรจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในสัดส่วน 70:30 คือ 70 เป็นหลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแกนกลางที่เน้นเรื่องของความเป็นไทยเรื่องที่เป็นความรู้พื้นฐานต่างๆ ที่เด็กควรรู้ ส่วนอีก 30 ให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น มาพิจารณา ซึ่งตนมองว่าเป็นหลักการที่ถูกต้องเพราะพื้นฐานความรู้ที่สำคัญยังต้องสอนต้องย้ำอยู่ โดยระดับประถมศึกษาต้องเน้นความรู้ให้มากแล้วเพิ่มทักษะความรู้เข้าไปตามระดับชั้น จนถึงระดับอุดมศึกษายิ่งต้องเน้นทักษะให้มากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นบัณฑิต ซึ่งถ้าคิดตามกรอบความคิดนี้ก็ต้องไปปรับเปลี่ยนหลักสูตรและการเรียนการสอนไม่ใช่ลดการบ้าน
ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ (สวพ) และประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนโยบายปรับลดการบ้านนักเรียน โดยให้ครูแต่ละสาระวิชาบูรณาการการให้การบ้านนักเรียนร่วมกัน ว่า สพฐ.ไม่ควรผลีผลามลดการบ้านโดยปราศจากการคิดให้ตกผลึก เพราะจริงๆ แล้ว การให้การบ้านเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นก่อนจะลดการบ้านก็ควรต้องคิดให้ตกผลึกก่อนว่า จะปรับการเรียนการสอนไปในทิศทางใด จากนั้นจึงค่อยปรับการให้การบ้านให้สอดคล้องกับแนวคิดใหม่ดังกล่าวในการจัดการเรียนการสอน
ศ.ดร.สมหวัง กล่าวต่อว่า สำหรับแนวคิดในการจัดการศึกษาของทศวรรษที่ 21 นั้น เน้นเรียนรู้ทุกอย่างในรูปของการฝึกทักษะ แม้กระทั่งเรื่องคุณธรรมหรือจิตอาสาก็ถูกแปลงเป็นทักษะด้วยเช่นกัน ให้เด็กเรียนรู้ว่า การจะเป็นคนที่มีคุณธรรม มีจิตอาสานั้น ต้องมีทักษะใดบ้าง และการเรียนในรูปของทักษะนั้น ครูจะให้เด็กไปเตรียมตัวเรื่องที่จะเรียนจากที่บ้าน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ยากเพราะปัจจุบัน เด็กๆ สามารถค้นหาความรู้ต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เมื่อมาถึงชั้นเรียนก็จะเป็นการฝึกทักษะโดนเน้นการปฏิบัติโดยมีครูเป็นโค้ช คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
“การเรียนการสอนที่ดีนั้นเรื่องของทักษะต้องเรียนที่โรงเรียน ส่วนความรู้ให้ไปหาที่บ้าน เพราะความรู้สามารถอ่านมาก่อนได้ เมื่อมาถึงโรงเรียนก็ให้ฝึกทำโปรเจกต์หรือโครงการร่วมกันโดยมีครูคอยให้คำแนะนำ การเรียนในชั้นเรียนจะไม่ใช่การที่เด็กมานั่งฟังความรู้เหมือนในอดีตอีก เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามกระแสของทศวรรษนี้แล้ว ก็คงต้องมีการปรับตั้งแต่หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน เมื่อทุกอย่างตกผลึกแล้ว จึงปรับรูปแบบการให้งานแก่เด็กให้สอดคล้องตาม” ศ.ดร.สมหวัง กล่าว
ศ.ดร.สมหวัง กล่าวอีกว่า สำหรับการปฏิรูปหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นั้น หากจะทำจริงๆ คงต้องปรับกันขนานใหญ่ และอยากเสนอให้นำแนวทางหรือหลักคิดของ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย ที่ว่าควรจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในสัดส่วน 70:30 คือ 70 เป็นหลักสูตรระดับชาติหรือหลักสูตรแกนกลางที่เน้นเรื่องของความเป็นไทยเรื่องที่เป็นความรู้พื้นฐานต่างๆ ที่เด็กควรรู้ ส่วนอีก 30 ให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น มาพิจารณา ซึ่งตนมองว่าเป็นหลักการที่ถูกต้องเพราะพื้นฐานความรู้ที่สำคัญยังต้องสอนต้องย้ำอยู่ โดยระดับประถมศึกษาต้องเน้นความรู้ให้มากแล้วเพิ่มทักษะความรู้เข้าไปตามระดับชั้น จนถึงระดับอุดมศึกษายิ่งต้องเน้นทักษะให้มากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นบัณฑิต ซึ่งถ้าคิดตามกรอบความคิดนี้ก็ต้องไปปรับเปลี่ยนหลักสูตรและการเรียนการสอนไม่ใช่ลดการบ้าน