ทดสอบบีเน็ตครั้งแรกราบรื่น สทศ.เชื่อพระ-เณร ไม่ทุจริต มั่นใจข้อสอบถูกต้องเพราะตรวจชุดข้อสอบและกระดาศคำตอบซ้ำแล้ว “พระราชวรมุนี” ชี้การสอบจะช่วยกระตุ้นกระตุ้นร.ร.พระปริยัติธรรมสอนภาษาบาลีมากขึ้น
วันนี้(16 ก.พ.) ที่วิทยาลัยนาฎศิลป จ.นครปฐม รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พร้อมด้วย พระราชวรมุนี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และนายบุญเลิศ โสภา ผู้อำนวยการกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ร่วมกันตรวจสนามสอบ การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านพระพุทธศาสนา หรือ B-NET (Buddhism National Educational Test) ปีการศึกษา 2555 เป็นครั้งแรก ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยพระภิกษุ และสามเณร จำนวนรวม 12,072 รูป แบ่งเป็นระดับชั้น ม.3 จำนวน 8,908 รูป ระดับชั้นม.6 จำนวน 3,164 รูป ที่เรียนตามหลักสูตร โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกาศผลสอบวันที่ 31 มีนาคม 2556
พระราชวรมุนี กล่าวว่า การจัดสอบบีเน็ตครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้จัดขึ้ซึ่งตนเองได้ทำงานร่วมกับสทศ.ในการออกแบบข้อสอบ โดยจะแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 วิชา ได้แก่ วิชาพุทธประวัติและธรรมวินัย วิชาศาสนปฎิบัติ และวิชาภาษาบาลี ซึ่งผลการสอบบีเน็ตจะถูกนำไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินภายนอกสถานศึกษา ที่จัดโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน) หรือ สมศ. ในสัดส่วน 8 % ร่วมกับผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต 12 % รวมเป็น 20 % จากเดิมที่ สมศ.ใช้เพียงผลคะแนนโอเน็ต เหมือนกับโรงเรียนที่เรียนหลักสูตรสามัญ อย่างเดียว ทำให้โรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ ซึ่งอยู่ในกลุ่มสถานศึกษาวัตถุประสงค์พิเศษเกิดความเสียเปรียบ เพราะอัตลักษณ์ของการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ คือการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานวิชาสามัญร่วมกับการเรียนรู้หลักสูตรทางธรรม นอกจากนี้ผลการสอบบีเน็ตจะมีส่วนช่วยให้มหาเถรสมาคม(มส.) ในฐานะกำกับดูแลโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ 409 แห่งทั่วประเทศ ได้มีเกณฑ์ในการตรวจสอบมาตรฐานของสถานศึกษาด้วย
พระราชวรมุนี กล่าวต่อว่า ผลการสอบบีเน็ตนอกจากจะเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดในการประเมินสมศ. รอบ 3 แล้ว ยังเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้พระภิกษุ สามเณร สนใจการเรียนภาษาบาลี ขณะเดียวกันโรงเรียนก็เล็งเห็นความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนภาษาบาลีอย่างเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีการเรียนการสอน แต่มีการเรียนการสอนที่น้อย นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุ สามเณรที่เข้าสอบสามารถไปสอบนักธรรมบาลีได้อีกด้วย
ด้านรศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวว่า สำหรับภาพรวมการจัดสอบวันนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยได้รับรายงานว่าบางศูนย์สอบพบปัญหาผู้เข้าสอบลืมหลักฐานที่ใช้ในการเข้าสอบ อาทิ หนังสือสุทธิสำหรับภิกษุและสามเณรที่มีรูปถ่าย บัตรประจำตัวนักเรียนที่มีรูปถ่าย นอกจากนี้ยับพบปัญหากรณีโรงเรียนส่งรายชื่อ เลขบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ตรงกับรายชื่อที่สนามสอบ ซึ่งทั้ง 2 กรณีเป็นความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้เพราะครั้งนี้เป็นการสอบครั้งแรก โดย สทศ.ได้อนุโลมให้ภายใต้หลักเกณฑ์การสอบที่กำหนดไว้แล้ว
"ผมได้กำชับศูนย์สอบทั่วประเทศให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการสอบอย่างเคร่งครัดแล้ว จึงมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาการทุจริตและปัญหาอื่นๆ ตามมา ส่วนกรณีตัวข้อสอบบีเน็ตที่หลายฝ่ายอาจเกิดความกังวลว่าจะเกิดปัญหาซ้ำขึ้นอีกเหมือนกรณีข้อสอบโอเน็ตหรือไม่นั้น ผมได้ให้ประธานคณะกรรมการตรวจข้อสอบของ สทศ. ทำการตรวจสอบชุดข้อสอบและกระดาษคำตอบซ้ำอีกรอบแล้วเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากระบบการผลิตเหมือนที่ผ่านมา" รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว
วันนี้(16 ก.พ.) ที่วิทยาลัยนาฎศิลป จ.นครปฐม รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พร้อมด้วย พระราชวรมุนี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และนายบุญเลิศ โสภา ผู้อำนวยการกองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ร่วมกันตรวจสนามสอบ การจัดการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านพระพุทธศาสนา หรือ B-NET (Buddhism National Educational Test) ปีการศึกษา 2555 เป็นครั้งแรก ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วยพระภิกษุ และสามเณร จำนวนรวม 12,072 รูป แบ่งเป็นระดับชั้น ม.3 จำนวน 8,908 รูป ระดับชั้นม.6 จำนวน 3,164 รูป ที่เรียนตามหลักสูตร โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกาศผลสอบวันที่ 31 มีนาคม 2556
พระราชวรมุนี กล่าวว่า การจัดสอบบีเน็ตครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้จัดขึ้ซึ่งตนเองได้ทำงานร่วมกับสทศ.ในการออกแบบข้อสอบ โดยจะแบ่งการทดสอบออกเป็น 3 วิชา ได้แก่ วิชาพุทธประวัติและธรรมวินัย วิชาศาสนปฎิบัติ และวิชาภาษาบาลี ซึ่งผลการสอบบีเน็ตจะถูกนำไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินภายนอกสถานศึกษา ที่จัดโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์กรมหาชน) หรือ สมศ. ในสัดส่วน 8 % ร่วมกับผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต 12 % รวมเป็น 20 % จากเดิมที่ สมศ.ใช้เพียงผลคะแนนโอเน็ต เหมือนกับโรงเรียนที่เรียนหลักสูตรสามัญ อย่างเดียว ทำให้โรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ ซึ่งอยู่ในกลุ่มสถานศึกษาวัตถุประสงค์พิเศษเกิดความเสียเปรียบ เพราะอัตลักษณ์ของการเรียนการสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ คือการเรียนรู้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานวิชาสามัญร่วมกับการเรียนรู้หลักสูตรทางธรรม นอกจากนี้ผลการสอบบีเน็ตจะมีส่วนช่วยให้มหาเถรสมาคม(มส.) ในฐานะกำกับดูแลโรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ 409 แห่งทั่วประเทศ ได้มีเกณฑ์ในการตรวจสอบมาตรฐานของสถานศึกษาด้วย
พระราชวรมุนี กล่าวต่อว่า ผลการสอบบีเน็ตนอกจากจะเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดในการประเมินสมศ. รอบ 3 แล้ว ยังเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้พระภิกษุ สามเณร สนใจการเรียนภาษาบาลี ขณะเดียวกันโรงเรียนก็เล็งเห็นความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนภาษาบาลีอย่างเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีการเรียนการสอน แต่มีการเรียนการสอนที่น้อย นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุ สามเณรที่เข้าสอบสามารถไปสอบนักธรรมบาลีได้อีกด้วย
ด้านรศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวว่า สำหรับภาพรวมการจัดสอบวันนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยได้รับรายงานว่าบางศูนย์สอบพบปัญหาผู้เข้าสอบลืมหลักฐานที่ใช้ในการเข้าสอบ อาทิ หนังสือสุทธิสำหรับภิกษุและสามเณรที่มีรูปถ่าย บัตรประจำตัวนักเรียนที่มีรูปถ่าย นอกจากนี้ยับพบปัญหากรณีโรงเรียนส่งรายชื่อ เลขบัตรประจำตัวประชาชน ไม่ตรงกับรายชื่อที่สนามสอบ ซึ่งทั้ง 2 กรณีเป็นความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้เพราะครั้งนี้เป็นการสอบครั้งแรก โดย สทศ.ได้อนุโลมให้ภายใต้หลักเกณฑ์การสอบที่กำหนดไว้แล้ว
"ผมได้กำชับศูนย์สอบทั่วประเทศให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการสอบอย่างเคร่งครัดแล้ว จึงมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาการทุจริตและปัญหาอื่นๆ ตามมา ส่วนกรณีตัวข้อสอบบีเน็ตที่หลายฝ่ายอาจเกิดความกังวลว่าจะเกิดปัญหาซ้ำขึ้นอีกเหมือนกรณีข้อสอบโอเน็ตหรือไม่นั้น ผมได้ให้ประธานคณะกรรมการตรวจข้อสอบของ สทศ. ทำการตรวจสอบชุดข้อสอบและกระดาษคำตอบซ้ำอีกรอบแล้วเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากระบบการผลิตเหมือนที่ผ่านมา" รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว