“กาฬสินธุ์” ประกาศตัวเป็นเมืองแห่งความสุข จังหวัดแรกของไทย ดันทุกชุมชนให้มีสุขภาพดี ตั้งสุขศาลาดูแลประชาชน พร้อมประกาศทำ “งานศพปลอดเหล้า” ตั้งเป้าปีละ 10,000 งาน คาดลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 200 ล้านบาท เล็งขยายงานบุญอื่น
วันนี้ (14 ก.พ.) ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่ายภายหลังเป็นสักขีพยานพิธีประกาศวาระ “กาฬสินธุ์เมืองแห่งความสุข คนดี สุขภาพดี รายได้ดี” สู่การเป็นเมืองแห่งความสุข และวาระ “ชาวกาฬสินธุ์ปลอดเหล้าในงานศพ” ประจำปี 2556 ว่า การประกาศวาระของ จ.กาฬสินธุ์ ให้เป็นเมืองแห่งสุข เป็นจังหวัดแรกของประเทศ และมีตัวชี้วัดความสุขที่ชัดเจนคือ คนดี สุขภาพดี รายได้ดี นับว่าสอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ให้ทุกจังหวัดกำหนดแผนและทิศทางในเรื่องการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ให้กับประชาชน เป็นจังหวัดตัวอย่างของการบูรณาการ แผนงาน งบประมาณ กำลังคน และการจัดการร่วมกัน เชื่อมโยงการทำงานอย่างเป็นระบบจากจังหวัด อำเภอ ตำบล จนถึงชุมชนหมู่บ้าน ชัดเจน และจัดงบประมาณสนับสนุนสบทบให้ท้องถิ่นตำบลละ 2 แสนบาท ท้องถิ่นร่วมสมทบ 2 แสนบาท รวมงบประมาณ 54 ล้านบาท เชื่อมั่นว่าจะประสบผลสำเร็จและยั่งยืน
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของ สธ.เกี่ยวข้องโดยตรงกับหมวด สุขภาพดี มี 6 ตัวชี้วัดที่ จ.กาฬสินธุ์ตั้งเป้าดำเนินการทุกชุมชน ได้แก่ 1.ชุมชนมีการจัดการปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดในสมอง มะเร็งท่อน้ำดี ภาวะขาดสารไอโอดีน และปัญหาอื่นของชุมชน 2.ชุมชนมีการแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างในอาหารและกระแสเลือด จนอยู่ในระดับความปลอดภัย 3.ชุมชนมีกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 4.ชุมชนมีสุขศาลาหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยบริการสุขภาพเบื้องต้น ดำเนินการโดย อสม.มีโครงสร้างและการจัดบริการผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 5.ชุมชนมีการส่งเสริมและใช้สมุนไพร ภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพ และ 6.ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่สะอาดเป็นระเบียบ หน้าบ้านน่ามอง ในบ้านน่าอยู่ ถูกหลักหลักสุขาภิบาลและจัดการชุมชนสีเขียว
“ขณะนี้ทุกหมู่บ้าน มีสุขศาลา ซึ่งเป็นหน่วยให้บริการดูแลสุขภาพเบื้องต้นแก่ประชาชน โดย อสม.ในรูปแบบของจิตอาสา ทั้งการรักษาพยาบาลเบื้องต้น เช่น ทำแผล ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจเบาหวานในเลือด และการสร้างสุขภาพ เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้ประชาชนได้รับบริการใกล้บ้านใกล้ใจ มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยแห่งละ 5 คนต่อวัน บางแห่งสูงถึง 20 คน ชาวบ้านเชื่อมั่นศรัทธา อสม.เพิ่มขึ้น สามารถลดรายจ่ายประชาชนไปโรงพยาบาลปีละประมาณ 580 ล้านบาท เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านมีความสุข” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการชาวกาฬสินธุ์ปลอดเหล้างานศพ จะเชิญชวนให้ทุกบ้านสมัครเข้าร่วมโครงการ มีการอบรมตำรวจเพื่อช่วยเป็นพิธีกรงานศพ และสร้างค่านิยมให้ดื่มน้ำสมุนไพรแทนเหล้าและน้ำอัดลมในงานศพและงานบุญอื่นๆ เนื่องจากข้อมูลของ จ.กาฬสินธุ์ พบว่า ปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของจังหวัดในปี 2554 ยอดจำหน่ายเหล้า เบียร์ รวมประมาณ 40 ล้านขวด โดยประชาชนมีรายจ่ายค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานศพเฉลี่ยครัวเรือนละ 20,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยและส่งผลร้ายกับสุขภาพ ทั้งนี้ ตั้งเป้างานศพงดเหล้าให้ได้ปีละ 10,000 งาน ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 200 ล้านบาท และจะมีการขยายผลไปยังงานบุญประเพณีอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น วันเข้าพรรษา บุญกฐิน บุญบวช ซึ่งในภาพรวมของ สธ.ในปีนี้ตั้งเป้าลดนักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นวัยรุ่นลงให้ได้ร้อยละ 50
วันนี้ (14 ก.พ.) ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่ายภายหลังเป็นสักขีพยานพิธีประกาศวาระ “กาฬสินธุ์เมืองแห่งความสุข คนดี สุขภาพดี รายได้ดี” สู่การเป็นเมืองแห่งความสุข และวาระ “ชาวกาฬสินธุ์ปลอดเหล้าในงานศพ” ประจำปี 2556 ว่า การประกาศวาระของ จ.กาฬสินธุ์ ให้เป็นเมืองแห่งสุข เป็นจังหวัดแรกของประเทศ และมีตัวชี้วัดความสุขที่ชัดเจนคือ คนดี สุขภาพดี รายได้ดี นับว่าสอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ให้ทุกจังหวัดกำหนดแผนและทิศทางในเรื่องการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ให้กับประชาชน เป็นจังหวัดตัวอย่างของการบูรณาการ แผนงาน งบประมาณ กำลังคน และการจัดการร่วมกัน เชื่อมโยงการทำงานอย่างเป็นระบบจากจังหวัด อำเภอ ตำบล จนถึงชุมชนหมู่บ้าน ชัดเจน และจัดงบประมาณสนับสนุนสบทบให้ท้องถิ่นตำบลละ 2 แสนบาท ท้องถิ่นร่วมสมทบ 2 แสนบาท รวมงบประมาณ 54 ล้านบาท เชื่อมั่นว่าจะประสบผลสำเร็จและยั่งยืน
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของ สธ.เกี่ยวข้องโดยตรงกับหมวด สุขภาพดี มี 6 ตัวชี้วัดที่ จ.กาฬสินธุ์ตั้งเป้าดำเนินการทุกชุมชน ได้แก่ 1.ชุมชนมีการจัดการปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดในสมอง มะเร็งท่อน้ำดี ภาวะขาดสารไอโอดีน และปัญหาอื่นของชุมชน 2.ชุมชนมีการแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างในอาหารและกระแสเลือด จนอยู่ในระดับความปลอดภัย 3.ชุมชนมีกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 4.ชุมชนมีสุขศาลาหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยบริการสุขภาพเบื้องต้น ดำเนินการโดย อสม.มีโครงสร้างและการจัดบริการผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 5.ชุมชนมีการส่งเสริมและใช้สมุนไพร ภูมิปัญญาไทยในการดูแลสุขภาพ และ 6.ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่สะอาดเป็นระเบียบ หน้าบ้านน่ามอง ในบ้านน่าอยู่ ถูกหลักหลักสุขาภิบาลและจัดการชุมชนสีเขียว
“ขณะนี้ทุกหมู่บ้าน มีสุขศาลา ซึ่งเป็นหน่วยให้บริการดูแลสุขภาพเบื้องต้นแก่ประชาชน โดย อสม.ในรูปแบบของจิตอาสา ทั้งการรักษาพยาบาลเบื้องต้น เช่น ทำแผล ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจเบาหวานในเลือด และการสร้างสุขภาพ เยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้ประชาชนได้รับบริการใกล้บ้านใกล้ใจ มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยแห่งละ 5 คนต่อวัน บางแห่งสูงถึง 20 คน ชาวบ้านเชื่อมั่นศรัทธา อสม.เพิ่มขึ้น สามารถลดรายจ่ายประชาชนไปโรงพยาบาลปีละประมาณ 580 ล้านบาท เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านมีความสุข” ปลัด สธ.กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการชาวกาฬสินธุ์ปลอดเหล้างานศพ จะเชิญชวนให้ทุกบ้านสมัครเข้าร่วมโครงการ มีการอบรมตำรวจเพื่อช่วยเป็นพิธีกรงานศพ และสร้างค่านิยมให้ดื่มน้ำสมุนไพรแทนเหล้าและน้ำอัดลมในงานศพและงานบุญอื่นๆ เนื่องจากข้อมูลของ จ.กาฬสินธุ์ พบว่า ปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของจังหวัดในปี 2554 ยอดจำหน่ายเหล้า เบียร์ รวมประมาณ 40 ล้านขวด โดยประชาชนมีรายจ่ายค่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานศพเฉลี่ยครัวเรือนละ 20,000 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยและส่งผลร้ายกับสุขภาพ ทั้งนี้ ตั้งเป้างานศพงดเหล้าให้ได้ปีละ 10,000 งาน ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 200 ล้านบาท และจะมีการขยายผลไปยังงานบุญประเพณีอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น วันเข้าพรรษา บุญกฐิน บุญบวช ซึ่งในภาพรวมของ สธ.ในปีนี้ตั้งเป้าลดนักดื่มหน้าใหม่ที่เป็นวัยรุ่นลงให้ได้ร้อยละ 50