บอร์ด สปสช.มีมติปรับเพิ่มเงินช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ที่เสียหายจากการบริการสาธารณสุขเทียบเท่าผู้รับบริการ กรณีเสียชีวิตรับสูงสุด 4 แสนบาท เสียอวัยวะ 2.4 แสนบาท บาดเจ็บไม่เกิน 1 แสนบาท ชี้ หากเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยรับเพิ่ม 2 เท่าจากอัตราใหม่
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมบอร์ด สปสช. ซึ่งได้มีการพิจารณาเรื่อง “การทบทวนและปรับปรุงอัตราการจ่ายเงินชดเชยช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ตามมาตรา 18(4)” ว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีระบบการชดเชยความเสียหายทางการแพทย์ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยในมาตรา 18(4) ได้ให้การคุ้มครองผู้ให้บริการ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เนื่องจากที่ผ่านมามีแพทย์ พยาบาล ได้รับความเสียหายจากการรักษาผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการติดเชื้อโรคจากเหตุสุดวิสัย จึงต้องมีการช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน ส่วนในมาตรา 41 เป็นการชดเชยให้แก่ผู้รับบริการหรือประชาชน เพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งได้มีการปรับอัตราการจ่ายเงินชดเชยเพิ่มไปแล้วในวงเงิน 2 เท่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2555
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ บอร์ด สปสช.จึงมีมติเมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา ให้ สปสช.เสนอการปรับปรุงข้อบังคับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ให้บริการ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เพิ่มอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ให้บริการเท่ากับผู้รับบริการ และกรณีพื้นที่เสี่ยงภัยจะเพิ่มอัตราการจ่ายเป็น 2 เท่าของอัตราใหม่ หรือ 4 เท่าจากอัตราเดิม เช่น 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น ที่ผ่านมาในกรณีพื้นที่เสี่ยงภัยตั้งแต่ปี 2547-2555 มีการพิจารณาจ่าย 4 ราย เป็นเงิน 160,000 บาท
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า การปรับอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ให้บริการใหม่เป็นดังนี้ 1.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีผลกระทบรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จากเดิมจ่ายไม่เกิน 200,000 บาท ปรับเป็น 240,000-400,000 บาท 2.สูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต จากเดิมจ่ายไม่เกิน 120,000 บาท ปรับเป็น 100,000-240,000 บาท และ 3.บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จากเดิมจ่ายไม่เกิน 50,000 บาท ปรับเป็นไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งหลังจากนี้ สปสช.จะจัดทำร่างข้อบังคับเสนอประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาลงนามต่อไป
อนึ่ง การปรับอัตราจ่ายเงินชดเชยผู้รับบริการทางการแพทย์ ซึ่งมีมติเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา มีดังนี้ 1.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ให้จ่ายเงินช่วยเหลือ 240,000-400,000 บาท 2.กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ให้จ่ายเงินช่วยเหลือ 100,000-240,000 บาท และ 3.กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ให้จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 100,000 บาท
วันนี้ (4 ก.พ.) ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมบอร์ด สปสช. ซึ่งได้มีการพิจารณาเรื่อง “การทบทวนและปรับปรุงอัตราการจ่ายเงินชดเชยช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข ตามมาตรา 18(4)” ว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีระบบการชดเชยความเสียหายทางการแพทย์ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยในมาตรา 18(4) ได้ให้การคุ้มครองผู้ให้บริการ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เนื่องจากที่ผ่านมามีแพทย์ พยาบาล ได้รับความเสียหายจากการรักษาผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการติดเชื้อโรคจากเหตุสุดวิสัย จึงต้องมีการช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน ส่วนในมาตรา 41 เป็นการชดเชยให้แก่ผู้รับบริการหรือประชาชน เพื่อช่วยลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งได้มีการปรับอัตราการจ่ายเงินชดเชยเพิ่มไปแล้วในวงเงิน 2 เท่า ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2555
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ บอร์ด สปสช.จึงมีมติเมื่อวันที่ 7 ม.ค.ที่ผ่านมา ให้ สปสช.เสนอการปรับปรุงข้อบังคับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ให้บริการ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เพิ่มอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ให้บริการเท่ากับผู้รับบริการ และกรณีพื้นที่เสี่ยงภัยจะเพิ่มอัตราการจ่ายเป็น 2 เท่าของอัตราใหม่ หรือ 4 เท่าจากอัตราเดิม เช่น 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น ที่ผ่านมาในกรณีพื้นที่เสี่ยงภัยตั้งแต่ปี 2547-2555 มีการพิจารณาจ่าย 4 ราย เป็นเงิน 160,000 บาท
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช.กล่าวว่า การปรับอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ให้บริการใหม่เป็นดังนี้ 1.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิตและมีผลกระทบรุนแรงต่อการดำรงชีวิต จากเดิมจ่ายไม่เกิน 200,000 บาท ปรับเป็น 240,000-400,000 บาท 2.สูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต จากเดิมจ่ายไม่เกิน 120,000 บาท ปรับเป็น 100,000-240,000 บาท และ 3.บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จากเดิมจ่ายไม่เกิน 50,000 บาท ปรับเป็นไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งหลังจากนี้ สปสช.จะจัดทำร่างข้อบังคับเสนอประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาลงนามต่อไป
อนึ่ง การปรับอัตราจ่ายเงินชดเชยผู้รับบริการทางการแพทย์ ซึ่งมีมติเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา มีดังนี้ 1.กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ให้จ่ายเงินช่วยเหลือ 240,000-400,000 บาท 2.กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ให้จ่ายเงินช่วยเหลือ 100,000-240,000 บาท และ 3.กรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง ให้จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 100,000 บาท