สธ.เตรียมปรับค่ารักษาพยาบาลเพิ่ม 10-15% มีรายการใหม่เพิ่มขึ้น 758 รายการ โขกค่าเปลี่ยนปอด-หัวใจจาก 4.5 หมื่นบาท เป็น 6.4 หมื่นบาท คาด ประกาศใช้ใน 1-2 สัปดาห์ ยันไม่กระทบผู้ป่วยระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐ พร้อมตั้งอธิบดี สบส.เป็น Mediator ดูแลทั้งผู้บริการและรับบริการเรื่องค่าใช้จ่าย
วันนี้ (28 ม.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมการพิจารณาปรับปรุงอัตราค่าบริการของสถานบริการในสังกัด สธ.ว่า อัตราค่าบริการได้คงอัตราเดิมมาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งใช้มานานประมาณ 8-9 ปี จึงต้องมีการปรับปรุงใหม่ในปี 2556 เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในการให้บริการ โดยได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา แบ่งย่อยเป็นคณะอนุกรรมการ 8 ชุดด้านต่างๆ คือ ด้านยาและบริการเภสัชกรรม ด้านค่าตรวจพยาธิวิทยา ด้านค่าตรวจรักษาทางรังสีวิทยาและค่าบริการตรวจรักษาทั่วไป ด้านค่าตรวจรักษาโรคโดยวิธีการพิเศษ ด้านค่าบริการทันตกรรม ด้านค่าผ่าตัด ค่าวางยาสลบและยาชา ด้านค่าบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และค่าบริการเวชกรรมฟื้นฟู ซึ่งเกณฑ์ในการพิจารณา ประกอบด้วย 1.ต้นทุนค่าแรง เช่น เงินเดือน 2.ต้นทุนค่ายาและวัสดุ และ 3.ต้นทุนค่าครุภัณฑ์และอื่นๆ โดยพบว่า มีรายการบริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น 758 รายการ จากเดิมมี 1,955 รายการ รวมทั้งหมด 2,713 รายการ ส่วนใหญ่เป็นบริการตรวจทางพยาธิวิทยา และบริการเวชกรรมฟื้นฟู สำหรับราคาค่าบริการ มีทั้งเพิ่มขึ้น เท่าเดิม และลดลง แต่โดยทั่วไปจะปรับขึ้นประมาณร้อยละ 10-15
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การปรับอัตราค่าบริการดังกล่าวจะไม่กระทบต่อประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐทั้ง 3 กองทุน คือ 30 บาทรักษาทุกโรค ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ แต่การเพิ่มตรงนี้จะไปชาร์จเพิ่มในกองทุนนั้นๆ มากกว่า ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ได้รับผลกระทบมาก ไม่จำเป็นต้องเพิ่มค่าเหมาจ่ายรายหัวของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากในภาพรวมมีการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าของสถานพยาบาลแต่ละแห่งอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ได้รับผลกระทบบ้างจะเป็นชาวต่างชาติที่เข้ารับบริการ เพราะต้องจ่ายเอง รวมไปถึงประชาชนที่เข้ารับบริการแบบไม่ใช้สิทธิ คาดว่า การปรับอัตราดังกล่าวจะพิจารณาตัวเลขที่เหมาะสมแล้วเสร็จ และผ่านการพิจารณาร่วมกับกรมบัญชีกลาง ซึ่งจะประกาศใช้ได้ใน 1-2 สัปดาห์นี้
“ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็มีสิทธิจะปรับค่าบริการขึ้น เพราะปัจจุบันค่าบริการไม่ใช่สินค้าควบคุม จึงคิดว่า สธ.จะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบราคาค่าบริการที่เหมาะสม หรือที่เรียกว่า Mediator ซึ่งมี น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เป็นประธาน จะทำหน้าที่ดูแลผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ในเรื่องค่าใช้จ่ายสูงเกินไป โดยจะเข้าไปดูในแง่วิชาการว่าการตรวจการรักษาสมเหตุผลหรือไม่ และค่ารักษาต่อหน่วยสูงเกินไปหรือไม่ เราจะมีราคาอ้างอิงให้ เช่น เป็น รพ.เกรด C แต่ไปคิดแบบเกรด A ไม่ได้ นอกจากนี้ จะดูในเรื่องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทประกันจ่ายให้ว่า เหมาะสมตามความเป็นจริงหรือไม่ด้วย” รมว.สาธารณสุข กล่าว
สำหรับค่าบริการที่จะปรับเพิ่มขึ้นแยกเป็นประเภท อาทิ หัตถการที่มีราคาผ่าตัดสูง เช่น การเปลี่ยนปอด จากราคา 45,000 บาท เป็น 64,000 บาท ค่าเปลี่ยนหัวใจจากราคา 45,000 บาท เป็น 64,000 บาท ค่าเปลี่ยนตับจากราคา 40,000 บาท เป็น 54,000 บาท รายการตรวจรักษาโรคโดยวิธีการพิเศษที่มีราคาสูง เช่น ค่าใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรราคา 80,000 บาท ต่อครั้ง ค่าใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชั่วคราว ราคา 13,000 บาทต่อครั้ง ค่าใส่สายสวนหัวใจราคา 15,000 บาทต่อครั้ง รายการบริการเทคนิคการแพทย์ เช่น ค่าตรวจสารพันธุกรรมราคา 18,000 บาทต่อครั้ง รายการบริการรังสีวินิจฉัยราคาสูงสุด เช่น การตรวจหาการอุดตันในเส้นเลือดสมองราคา 25,000 บาทต่อครั้ง เป็นต้น
วันนี้ (28 ม.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังประชุมการพิจารณาปรับปรุงอัตราค่าบริการของสถานบริการในสังกัด สธ.ว่า อัตราค่าบริการได้คงอัตราเดิมมาตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งใช้มานานประมาณ 8-9 ปี จึงต้องมีการปรับปรุงใหม่ในปี 2556 เพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในการให้บริการ โดยได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา แบ่งย่อยเป็นคณะอนุกรรมการ 8 ชุดด้านต่างๆ คือ ด้านยาและบริการเภสัชกรรม ด้านค่าตรวจพยาธิวิทยา ด้านค่าตรวจรักษาทางรังสีวิทยาและค่าบริการตรวจรักษาทั่วไป ด้านค่าตรวจรักษาโรคโดยวิธีการพิเศษ ด้านค่าบริการทันตกรรม ด้านค่าผ่าตัด ค่าวางยาสลบและยาชา ด้านค่าบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และค่าบริการเวชกรรมฟื้นฟู ซึ่งเกณฑ์ในการพิจารณา ประกอบด้วย 1.ต้นทุนค่าแรง เช่น เงินเดือน 2.ต้นทุนค่ายาและวัสดุ และ 3.ต้นทุนค่าครุภัณฑ์และอื่นๆ โดยพบว่า มีรายการบริการใหม่ที่เพิ่มขึ้น 758 รายการ จากเดิมมี 1,955 รายการ รวมทั้งหมด 2,713 รายการ ส่วนใหญ่เป็นบริการตรวจทางพยาธิวิทยา และบริการเวชกรรมฟื้นฟู สำหรับราคาค่าบริการ มีทั้งเพิ่มขึ้น เท่าเดิม และลดลง แต่โดยทั่วไปจะปรับขึ้นประมาณร้อยละ 10-15
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า การปรับอัตราค่าบริการดังกล่าวจะไม่กระทบต่อประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพภาครัฐทั้ง 3 กองทุน คือ 30 บาทรักษาทุกโรค ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ แต่การเพิ่มตรงนี้จะไปชาร์จเพิ่มในกองทุนนั้นๆ มากกว่า ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ได้รับผลกระทบมาก ไม่จำเป็นต้องเพิ่มค่าเหมาจ่ายรายหัวของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากในภาพรวมมีการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าของสถานพยาบาลแต่ละแห่งอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ได้รับผลกระทบบ้างจะเป็นชาวต่างชาติที่เข้ารับบริการ เพราะต้องจ่ายเอง รวมไปถึงประชาชนที่เข้ารับบริการแบบไม่ใช้สิทธิ คาดว่า การปรับอัตราดังกล่าวจะพิจารณาตัวเลขที่เหมาะสมแล้วเสร็จ และผ่านการพิจารณาร่วมกับกรมบัญชีกลาง ซึ่งจะประกาศใช้ได้ใน 1-2 สัปดาห์นี้
“ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็มีสิทธิจะปรับค่าบริการขึ้น เพราะปัจจุบันค่าบริการไม่ใช่สินค้าควบคุม จึงคิดว่า สธ.จะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบราคาค่าบริการที่เหมาะสม หรือที่เรียกว่า Mediator ซึ่งมี น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เป็นประธาน จะทำหน้าที่ดูแลผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ในเรื่องค่าใช้จ่ายสูงเกินไป โดยจะเข้าไปดูในแง่วิชาการว่าการตรวจการรักษาสมเหตุผลหรือไม่ และค่ารักษาต่อหน่วยสูงเกินไปหรือไม่ เราจะมีราคาอ้างอิงให้ เช่น เป็น รพ.เกรด C แต่ไปคิดแบบเกรด A ไม่ได้ นอกจากนี้ จะดูในเรื่องค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทประกันจ่ายให้ว่า เหมาะสมตามความเป็นจริงหรือไม่ด้วย” รมว.สาธารณสุข กล่าว
สำหรับค่าบริการที่จะปรับเพิ่มขึ้นแยกเป็นประเภท อาทิ หัตถการที่มีราคาผ่าตัดสูง เช่น การเปลี่ยนปอด จากราคา 45,000 บาท เป็น 64,000 บาท ค่าเปลี่ยนหัวใจจากราคา 45,000 บาท เป็น 64,000 บาท ค่าเปลี่ยนตับจากราคา 40,000 บาท เป็น 54,000 บาท รายการตรวจรักษาโรคโดยวิธีการพิเศษที่มีราคาสูง เช่น ค่าใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวรราคา 80,000 บาท ต่อครั้ง ค่าใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชั่วคราว ราคา 13,000 บาทต่อครั้ง ค่าใส่สายสวนหัวใจราคา 15,000 บาทต่อครั้ง รายการบริการเทคนิคการแพทย์ เช่น ค่าตรวจสารพันธุกรรมราคา 18,000 บาทต่อครั้ง รายการบริการรังสีวินิจฉัยราคาสูงสุด เช่น การตรวจหาการอุดตันในเส้นเลือดสมองราคา 25,000 บาทต่อครั้ง เป็นต้น