โดย...คนชายขอบสุขภาพ
ไม่รู้ว่าจะมี “เหนือเมฆ 3” หรือไม่ แต่ “เหนือเมฆ 2” กลายเป็นละครที่โด่งดังทะลุเมฆไปเรียบร้อยแล้ว แม้ว่ายังฉายไม่จบ และไม่รู้ว่าจะได้เห็นฉากจบกันในชาตินี้หรือไม่ก็ตาม
บางครั้ง “ความเชื่อ” ก็มีอิทธิพลและสร้างแรงสะเทือนได้มากกว่า “ความจริง” และขณะนี้สังคมก็เชื่อไปแล้วโดยบริสุทธิ์ใจว่า “เหนือเมฆ 2” ไม่ได้มีความประสงค์จะลาจอไปเอง หากแต่มีใครที่มีอำนาจมากกว่าจอมขมังเวทย์บันดาลให้เป็น
คล้ายๆ กับการคัดเลือกรองเลขาธิการใหม่อีก 2 ตำแหน่งของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์กรที่ดูแลงบประมาณด้านสุขภาพของคนไทยกว่า 48 ล้านคน เพราะแม้ว่าเหตุผลในการเพิ่มตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงคือภาระงานมากขึ้น ไหนจะต้องทำงานเพื่อสนองตอบนโยบายรัฐบาล ทั้งการบูรณาการฉุกเฉิน 3 กองทุน บูรณาการรักษาไต/เอดส์ บูรณาการมะเร็ง การรับเป็นศูนย์ในการบริหารค่ารักษาพยาบาลให้กับข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาระบบหักบัญชีกลาง (National Clearing House) ของประเทศ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นงานที่ไม่ง่าย และต้องฝ่าด่านอรหันต์อีกมากก็ตาม
แต่ด้วยเม็ดเงินงบประมาณที่มากกว่า 140,000 ล้านบาทต่อปี ทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่ มีความเคลือบแคลง และอดคิดไม่ได้ว่า “การเมือง” คือ ผู้อยู่เบื้องหลังการผลักดันให้เกิดการเปิดตำแหน่งใหม่หรือไม่ โดยใช้อำนาจที่มองไม่เห็นไปกดดันเลขาธิการให้เป็นผู้เสนอวาระนี้เข้าไปในบอร์ด (แหล่งข่าวระบุว่ากรรมการบอร์ดที่มาจากสายการเมือง ยกมือเห็นชอบพร้อมอ้างข้อดีกันสลอน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับสำนักงานนักก็ตาม) จากนั้นการเมืองก็ให้สัมภาษณ์ยืนกระต่ายขาเดียวมาโดยตลอดว่า ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้อยู่เบื้องหลัง ไม่รู้ไม่เห็น เป็นเรื่องที่สำนักงานขอเพิ่มตำแหน่งเอง ลอยตัวไปสบายๆ
มิไยที่นักเคลื่อนไหวภาคประชาชนและภาคส่วนต่างๆ จะออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย แต่ฝ่ายการเมืองกลับไม่สนใจ อาจด้วยเพราะประธานบอร์ดที่มาจากฝ่ายการเมือง ไม่เคยเป็น ส.ส.ไม่มี ส.ส.ในสังกัด จึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องฟังเสียงประชาชน เพราะการที่ส้มหล่นได้เป็นรัฐมนตรี โดยข้ามหัว ส.ส.มากฝีมือในพรรคมากมายก็เกินคุ้ม ขอเพียงแค่สมัยเดียวก็ถือว่าไกลเกินกว่าที่ฝันไว้มากแล้ว
ถ้าคิดเพียงแค่นี้ ผลเสียระยะยาวอาจตกอยู่กับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีอย่างหลีกไม่พ้น 10 ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นนโยบายของพรรคไทยรักไทยที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ได้รับความนิยมจากประชาชนมาโดยตลอดไม่ว่าจะสำรวจความคิดเห็นเมื่อใด เพราะทำให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงบริการรักษาพยาบาลได้โดยไม่มีภาระค่าใช้จ่ายไม่ต้องกู้หนี้ ยืมสิน ขายไร่ขายนาเพื่อนำเงินไปรักษาตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนรากหญ้าที่เป็นฐานเสียงสำคัญ ทั้งนี้ก็ด้วยการดำเนินงานจากบุคลากรที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขและใจอาสา สืบก่อต่อเนื่องจากปณิธานของ นายแพทย์ สงวน นิตยารัมพงศ์ เลขาธิการ สปสช.คนแรก
ต้นไม้หลักประกันสุขภาพได้ยืนต้น ผลิใบ ให้ดอกผลกับประชาชนไทยมายาวนานกว่า 1 ทศวรรษ ช่วยป้องกันไม่ให้คนไทย “ล้มละลาย” จากค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยมาแล้วหลายล้านคน สร้างคะแนนเสียงให้กับพรรคการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง
ฝาก ส.ส.ที่มาจากการสนับสนุนจากประชาชน มาจากเสียงที่พวกเรากากบาทให้ท่าน ไปบอกรัฐมนตรีเด็กเส้นด้วยว่า เคารพความคิดเห็นของประชาชน อย่าใช้อำนาจบาตรใหญ่ อย่าทำอะไรตามอำเภอใจ ให้ฟังเสียงประชาชนที่ท่านอ้างมาตลอดบ้าง ก่อนทุกอย่างจะพังมากไปกว่านี้
ไม่รู้ว่าจะมี “เหนือเมฆ 3” หรือไม่ แต่ “เหนือเมฆ 2” กลายเป็นละครที่โด่งดังทะลุเมฆไปเรียบร้อยแล้ว แม้ว่ายังฉายไม่จบ และไม่รู้ว่าจะได้เห็นฉากจบกันในชาตินี้หรือไม่ก็ตาม
บางครั้ง “ความเชื่อ” ก็มีอิทธิพลและสร้างแรงสะเทือนได้มากกว่า “ความจริง” และขณะนี้สังคมก็เชื่อไปแล้วโดยบริสุทธิ์ใจว่า “เหนือเมฆ 2” ไม่ได้มีความประสงค์จะลาจอไปเอง หากแต่มีใครที่มีอำนาจมากกว่าจอมขมังเวทย์บันดาลให้เป็น
คล้ายๆ กับการคัดเลือกรองเลขาธิการใหม่อีก 2 ตำแหน่งของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ องค์กรที่ดูแลงบประมาณด้านสุขภาพของคนไทยกว่า 48 ล้านคน เพราะแม้ว่าเหตุผลในการเพิ่มตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงคือภาระงานมากขึ้น ไหนจะต้องทำงานเพื่อสนองตอบนโยบายรัฐบาล ทั้งการบูรณาการฉุกเฉิน 3 กองทุน บูรณาการรักษาไต/เอดส์ บูรณาการมะเร็ง การรับเป็นศูนย์ในการบริหารค่ารักษาพยาบาลให้กับข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาระบบหักบัญชีกลาง (National Clearing House) ของประเทศ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นงานที่ไม่ง่าย และต้องฝ่าด่านอรหันต์อีกมากก็ตาม
แต่ด้วยเม็ดเงินงบประมาณที่มากกว่า 140,000 ล้านบาทต่อปี ทำให้คนในสังคมส่วนใหญ่ มีความเคลือบแคลง และอดคิดไม่ได้ว่า “การเมือง” คือ ผู้อยู่เบื้องหลังการผลักดันให้เกิดการเปิดตำแหน่งใหม่หรือไม่ โดยใช้อำนาจที่มองไม่เห็นไปกดดันเลขาธิการให้เป็นผู้เสนอวาระนี้เข้าไปในบอร์ด (แหล่งข่าวระบุว่ากรรมการบอร์ดที่มาจากสายการเมือง ยกมือเห็นชอบพร้อมอ้างข้อดีกันสลอน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับสำนักงานนักก็ตาม) จากนั้นการเมืองก็ให้สัมภาษณ์ยืนกระต่ายขาเดียวมาโดยตลอดว่า ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ได้อยู่เบื้องหลัง ไม่รู้ไม่เห็น เป็นเรื่องที่สำนักงานขอเพิ่มตำแหน่งเอง ลอยตัวไปสบายๆ
มิไยที่นักเคลื่อนไหวภาคประชาชนและภาคส่วนต่างๆ จะออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย แต่ฝ่ายการเมืองกลับไม่สนใจ อาจด้วยเพราะประธานบอร์ดที่มาจากฝ่ายการเมือง ไม่เคยเป็น ส.ส.ไม่มี ส.ส.ในสังกัด จึงไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องฟังเสียงประชาชน เพราะการที่ส้มหล่นได้เป็นรัฐมนตรี โดยข้ามหัว ส.ส.มากฝีมือในพรรคมากมายก็เกินคุ้ม ขอเพียงแค่สมัยเดียวก็ถือว่าไกลเกินกว่าที่ฝันไว้มากแล้ว
ถ้าคิดเพียงแค่นี้ ผลเสียระยะยาวอาจตกอยู่กับรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีอย่างหลีกไม่พ้น 10 ปีที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นนโยบายของพรรคไทยรักไทยที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ได้รับความนิยมจากประชาชนมาโดยตลอดไม่ว่าจะสำรวจความคิดเห็นเมื่อใด เพราะทำให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงบริการรักษาพยาบาลได้โดยไม่มีภาระค่าใช้จ่ายไม่ต้องกู้หนี้ ยืมสิน ขายไร่ขายนาเพื่อนำเงินไปรักษาตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนรากหญ้าที่เป็นฐานเสียงสำคัญ ทั้งนี้ก็ด้วยการดำเนินงานจากบุคลากรที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขและใจอาสา สืบก่อต่อเนื่องจากปณิธานของ นายแพทย์ สงวน นิตยารัมพงศ์ เลขาธิการ สปสช.คนแรก
ต้นไม้หลักประกันสุขภาพได้ยืนต้น ผลิใบ ให้ดอกผลกับประชาชนไทยมายาวนานกว่า 1 ทศวรรษ ช่วยป้องกันไม่ให้คนไทย “ล้มละลาย” จากค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยมาแล้วหลายล้านคน สร้างคะแนนเสียงให้กับพรรคการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง
ฝาก ส.ส.ที่มาจากการสนับสนุนจากประชาชน มาจากเสียงที่พวกเรากากบาทให้ท่าน ไปบอกรัฐมนตรีเด็กเส้นด้วยว่า เคารพความคิดเห็นของประชาชน อย่าใช้อำนาจบาตรใหญ่ อย่าทำอะไรตามอำเภอใจ ให้ฟังเสียงประชาชนที่ท่านอ้างมาตลอดบ้าง ก่อนทุกอย่างจะพังมากไปกว่านี้