นายกฯ ร่วมงานวันครู ประจำปี 56 ร่วมเฉลิมพระเกียรติ “พระแม่แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นครู” ในวโรกาสพระชนมายุครบ 80 พรรษา 12 ส.ค.55 พร้อมขอบคุณครูใต้ยอมเสียสละแม้ชีวิตเพื่อถ่ายทอดวามรู้ให้เด็ก ยันรัฐบาลพร้อมดูแลสวัสดิการครูทุกคนเต็มที่ พร้อมย้ำต้องปฏิรูปหลักสูตรวิธีปรับการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กมีความรู้ทันสมัยสร้างคนขึ้นมาพัฒนาประเทศ และครูต้องพัฒนาตัวรับกับความรู้ที่ทันสมัย ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
วันนี้ (16 ม.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่หอประชุมคุรุสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีในงานวันครู ประจำปี พ.ศ.2556 ครั้งที่ 57 โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.นายดิเรก พรสีมา รักษาการประธานกรรมการคุรุสภา พร้อมด้วยครูและผู้บริหารสถทานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาร่วมงาน
โดยในโอกาสนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ประกอบพิธีน้อมเกล้าฯถวายสักการะ “เฉลิมพระเกียรติพระแม่แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นครู” หน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชกรณียกิจด้านการศึกษานานัปการที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ทรงส่งเสริมการศึกษาในระบบโรงเรียน เช่น พระราชทุนการศึกษาแก่นักเรียน สร้างโรงเรียน พระราชทานพระราชทรัพย์อุดหนุนโรงเรียนและหน่วยงานด้านการศึกษา และพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนการศึกษาเพื่อซื้ออุปกรณ์การเรียน และเป็นทุนสร้างโรงเรียน โดยเฉพาะได้พระราชทานความช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพในศูนย์ศิลปาชีพ ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และทรงส่งเสริมให้ราษฎร์ศึกษาด้วนตนเอง
นายกฯ กล่าวต่อว่า พระราชกรณียกิจอันมากมายเหลือคณานับจนไม่อาจกล่าวได้หมดสิ้นเป็นที่ประจักษ์ ชื่นชมทั้งแก่ปวงชนชาวไทยและในนานาประเทศว่าเป็นพระแม่แห่งแผ่นดิน และทรงเป็นครู ในโอกาสที่วันครูได้เวียนมาครบรอบปีอีกครั้งหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอพระราชทานพระราชานุญาติ น้อมเกล้า น้อมกระหม่อม ถวายพระพรชัยมงคลด้วยความจงรักภักดี ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิในสากล โปรดดลบันดาลประธานพรให้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงเจริญด้วยจตุรพิธพระพรชัย มีพระราชประสงค์จำนงหมายสิ่งใดขอจงสัมฤทธิ์ ทรงสถิตเป็นมิ่งขวัญร่มเกล้าปวงข้าพระพุทธเจ้าตลอดกาลนิรันดร์เทอญ
ต่อจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้คารวะครูอาวุโส 3 คนซึ่งเป็นครูผู้สอนของนายกฯ ได้แก่ น.ส.อรศรี มนตรี ครูผู้สอนระดับอนุบาลศึกษา นางกาญจนา นันทขว้าง ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา และ นางสุภาพ วัฒนวิกย์กรรม์ ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังได้มอบรางวัลแด่พระผู้มีคุณูปการ ต่อการศึกษาของชาติ และพระผู้ทำคุณประโยชน์ต่อวิชาชีพทางการศึกษา
พร้อมกันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปราศรัยมีใจความสำคัญตอนหนึ่ง ว่า การดูแลครูเป็นเรื่องสำคัญเพื่อเป็นกำลังใจให้กับครูทุกคน รัฐบาลยืนยันดูแลสวัสดิการของครูอย่างเต็มที่ เพราะครูเป็นผู้ที่รับบทหนักมาตลอด เป็นผู้เสียสละ และความรักความเมตตาที่ครูมีให้ ความรู้ที่ครูสั่งสมให้กับเด็กนั้นมีค่ามากกว่าอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นยืน รัฐบาลพร้อมจะให้การสนับสนุนดูแลสวัสดิการของครู ดูแลเรื่องการดำรงชีวิต ให้ครูสามารถอยู่ได้อย่างมีเกียรติและมีสวัสดิการที่เหมาะสม โดยเฉพาะครูที่อยู่ต่างจังหวัดจะดูและให้ได้รับความเป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณครูทุกคนที่เสียสละ โดยเฉพาะครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้เสียชีวิตไปในขณะปฏิบัติหน้าที่ เพราะฉะนั้น ในฐานะคนไทยจึงขอให้กำลังใจ และขอบคุณในความเสียสระของครูและครอบครัวของครูที่ทำหน้าที่ดูแลลูกศิษย์อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ครูจึงมีส่วนสำคันในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในอนาคตเราจะก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ การผลิตบุคลากรจึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นนโยบายใหญ่ของรัฐบาล พัฒนาเยาวชนให้เติบโตเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ มีความสามารถจะแข่งขันกับผู้อื่นได้
“การจัดงานวันครูนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่า แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อคุณครู เพราะครูคือผู้ที่เป็นกำลังสำคัญที่ทำให้วงการการศึกษาและเยาวชนของเราได้พบทางสว่างแห่งปัญญ ครูเป็นผู้เสียสละในการถ่ายทอดวิชาความรู้และภูมิปัญญาที่ สั่งสมมา เพื่อบ่มเพาะนิสัยให้ลูกศิษย์เป็นคนดีของสังคม นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศต่อไป ซึ่งดิฉันเชื่อว่าในสมัยเด็กๆ ทุกคนคงจะมีครูในดวงใน ดิฉันก็มีครูในดวงใจเช่นกัน ถือว่าครูเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิด ต่อจิตสำนึกตั้งแต่เด็ก ดังนั้น นอกจากเด็กจะได้เรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ จากครอบครัวแล้ว ยังได้เรียนรู้จากครู โดยความรัก ความอบอุ่นที่ครูมีให้ เป็นจุดเริ่มต้นของเด็กทุกคน ดิฉันเองนึกถึงสมัยก่อนที่ได้เรียน ได้รับการประสิทธิประสาทวิชา ตอนที่เรียนก็อาจจะยังไม่รู้สึก แต่วันนี้รู้สึกถึงคำสั่งสอนที่คุณครู ที่ผู้ใหญ่และผู้ที่มีความปรารถนาดี ได้สั่งสอนมา และได้นำมาใช้ในชีวิตจนถึงทุกวันนี้” น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
นายกฯ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ โลกมีความเปลี่ยนแปลงไปมากรวมถึงเรื่องการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นแม้การปฏิรูปการศึกษาจะได้ทำอย่างต่อเนื่องจนทำให้การศึกษาของประเทศไทยมีการพัฒนาเติบโตต่อเนื่อง แต่จากภาวะที่เข้ามาไม่ว่าเป็นเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และเรื่องการสื่อสารต่างๆ มีการเปลี่ยนรูปแบบไปมาก วงการศึกษาจึงมีความจำเป็นที่ต้องร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง สอดรับกับโลกหรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปด้วย
“ดิฉันเห็นความสำคัญของการปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรวิชา จนถึงวิธีการเรียนการสอน ขณะเดียวกันเทคโนโลยียังเป็นสิ่งสำคัญใช้เป็นเครื่องมือสร้างองค์ความรู้ต่างๆ มากขึ้น ทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจ แต่องค์ความรู้ที่สั่งสมมายามนานก็ควรจะนำมาถ่ายทอดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้ เชื่อว่า ครูจะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการนำเนื้อหาองค์ความรู้ต่างๆ มาปรับปรุงให้มีความทันสมัยและถ่ายทอดให้เยาวชน อยากเห็นความรู้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสายสามัญ สายอาชีวศึกษา และความรู้นี้ก็ต้องเป็นความรู้ที่ถ่ายทอดแล้วตรงกับงาน เพื่อให้ลูกศิษย์จบออกมามีงานทำได้ นอกจากนั้น ยังอยากเห็นครูปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี และให้ความสำคัญกับการประคับประครองบ่มเพาะเด็กและเยาวชน ให้เด็กมีความรู้และมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม เมตตาธรรม รวมถึงสนับสนุนให้เด็กมีความคิดต่าง แต่ต้องมีความสอดคล้องและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และยืนยันว่า เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็น รัฐบาลพร้อมที่จะอำนวยการร่วมกับ ศธ.จัดเตรียมสถานศึกษาต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขึ้น และร่วมกันพัฒนากลไกการศึกษาและหลักสูตรให้สอดคล้อง” นายกฯ กล่าว
ต่อจากนั้น นายดิเรก ได้เป็นตัวแทนยื่นข้อเสนอเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู คุณภาพการศึกษา และคุณภาพคนไทย ต่อ นายกฯ โดยขอให้ดำเนินการเร่งด่วนใน 8 ประเด็น ดังนี้ 1.กำหนดนโยบายให้สถาบันผลิตครู ผลิตครูทั้งด้านปริมาณและคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ครู ด้วยการกำหนดโควตานักศึกษาครูและงบประมาณสนับสนุนการผลิตครูให้แก่สถาบัน ผลิตครูแต่ละแห่งตามจำนวนโควตาที่ได้รับ นั่นคือ ทำให้ Supply of Teachers เท่ากับ Demand for Teachers 2.พัฒนาศักยภาพสถาบันผลิตครูของไทยให้มีศักยภาพใกล้เคียง หรือทัดเทียมศักยภาพของสถาบันผลิตครูของประเทศชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ด้วยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศแก่บุคคลผู้ประสงค์จะเป็นคณาจารย์และการจ้างคณาจารย์ชาวต่างประเทศมาทำการสอนและวิจัยประจำสถาบัน ผลิตครูของไทย 3.กำหนดนโยบายให้สถานศึกษาทุกแห่งและทุกประเภทมีครูครบทุกห้องและชั้นเรียน ด้วยการกำหนดจำนวนนักเรียน หรือนักศึกษาต่อห้อง สำหรับแต่ละประเภทของการจัดการศึกษา ให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ 4.ให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัดและทุกประเภทได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนผู้ประกอบวิชาชีพครูทั้งในประเทศและในกลุ่มประเทศ สมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนด้านงบประมาณให้เข้าร่วมประชุมสัมมนา สังเกตการสอน หรือการปฏิบัติงานของครูที่สอนเก่ง และ/หรือจัดทำแผนการสอนร่วมกัน
5.จัดให้มีมาตรฐานขั้นต่ำของสื่อการเรียนรู้ ครุภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเรียนการสอนในทุกสาขาวิชาและทุกระดับการศึกษา อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ด้วยการตรากฎหมายกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสื่อครุภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเรียนรู้ที่รัฐต้องจัดให้แก่สถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนแต่ละวิชา แต่ละสาขา และแต่ละระดับชั้นหรือประเภทของการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ 6.ผลักดันให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัดทั้งภาครัฐ และ เอกชน มีวิทยฐานะได้รับเงินค่าวิทยฐานะและเงินค่าวิชาชีพ ด้วยการปรับปรุงกฎเกณฑ์ว่าด้วยการให้มี หรือให้เลื่อนวิทยฐานะ โดยพิจารณาจากผลงานที่ตรงตามภารกิจหลักของผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการผลักดันดังกล่าว 7.ปรับปรุงบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สูงขึ้น และให้มีจำนวนขั้นเงินเดือนน้อยลง ด้วยการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยบัญชีเงินเดือนข้าราชการครู ให้เป็นบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับบัญชีเงินเดือนข้าราชการตุลาการ หรือแพทย์ และ 8.ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัดมีสิทธิสมัคร หรือลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการโดยสมัครใจ ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 หมวด 3 มาตรา 36
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเดินทางกลับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับมอบหนังสือจากสมาพันธ์ครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) สมาคมครูมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย และองค์กรเครือข่ายวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ที่เรียกร้องให้ นายกฯ เร่งรัดดำเนินการแต่งตั้งประธานคุรุสภา และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคุรุสภาโดยเร็ว เนื่องจากนับแต่คณะกรรมการคุรุสภาชุดเดิมหมดวาระไปวันที่ 3 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา จนถึงเวลานี้เป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้วแต่คณะกรรมการคุรุสภายังไม่ครบชุด ซึ่งสร้างความเสียหายต่อการทำงานทั้งเรื่องการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ การบริหารงาน และภาพลักษณ์ของคุรุสภาด้วย โดยขอให้ นายกฯ ให้คำตอบภายในวันที่ 23 มกราคม 2556 ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า จะรับเรื่องไปดูและเร่งดำเนินการให้
วันนี้ (16 ม.ค.) เมื่อเวลา 09.00 น.ที่หอประชุมคุรุสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร่วมพิธีในงานวันครู ประจำปี พ.ศ.2556 ครั้งที่ 57 โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.นายดิเรก พรสีมา รักษาการประธานกรรมการคุรุสภา พร้อมด้วยครูและผู้บริหารสถทานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาร่วมงาน
โดยในโอกาสนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ประกอบพิธีน้อมเกล้าฯถวายสักการะ “เฉลิมพระเกียรติพระแม่แห่งแผ่นดิน ผู้ทรงเป็นครู” หน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชกรณียกิจด้านการศึกษานานัปการที่พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย ทรงส่งเสริมการศึกษาในระบบโรงเรียน เช่น พระราชทุนการศึกษาแก่นักเรียน สร้างโรงเรียน พระราชทานพระราชทรัพย์อุดหนุนโรงเรียนและหน่วยงานด้านการศึกษา และพระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนการศึกษาเพื่อซื้ออุปกรณ์การเรียน และเป็นทุนสร้างโรงเรียน โดยเฉพาะได้พระราชทานความช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพในศูนย์ศิลปาชีพ ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และทรงส่งเสริมให้ราษฎร์ศึกษาด้วนตนเอง
นายกฯ กล่าวต่อว่า พระราชกรณียกิจอันมากมายเหลือคณานับจนไม่อาจกล่าวได้หมดสิ้นเป็นที่ประจักษ์ ชื่นชมทั้งแก่ปวงชนชาวไทยและในนานาประเทศว่าเป็นพระแม่แห่งแผ่นดิน และทรงเป็นครู ในโอกาสที่วันครูได้เวียนมาครบรอบปีอีกครั้งหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอพระราชทานพระราชานุญาติ น้อมเกล้า น้อมกระหม่อม ถวายพระพรชัยมงคลด้วยความจงรักภักดี ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิในสากล โปรดดลบันดาลประธานพรให้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงเจริญด้วยจตุรพิธพระพรชัย มีพระราชประสงค์จำนงหมายสิ่งใดขอจงสัมฤทธิ์ ทรงสถิตเป็นมิ่งขวัญร่มเกล้าปวงข้าพระพุทธเจ้าตลอดกาลนิรันดร์เทอญ
ต่อจากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้คารวะครูอาวุโส 3 คนซึ่งเป็นครูผู้สอนของนายกฯ ได้แก่ น.ส.อรศรี มนตรี ครูผู้สอนระดับอนุบาลศึกษา นางกาญจนา นันทขว้าง ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา และ นางสุภาพ วัฒนวิกย์กรรม์ ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังได้มอบรางวัลแด่พระผู้มีคุณูปการ ต่อการศึกษาของชาติ และพระผู้ทำคุณประโยชน์ต่อวิชาชีพทางการศึกษา
พร้อมกันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปราศรัยมีใจความสำคัญตอนหนึ่ง ว่า การดูแลครูเป็นเรื่องสำคัญเพื่อเป็นกำลังใจให้กับครูทุกคน รัฐบาลยืนยันดูแลสวัสดิการของครูอย่างเต็มที่ เพราะครูเป็นผู้ที่รับบทหนักมาตลอด เป็นผู้เสียสละ และความรักความเมตตาที่ครูมีให้ ความรู้ที่ครูสั่งสมให้กับเด็กนั้นมีค่ามากกว่าอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นยืน รัฐบาลพร้อมจะให้การสนับสนุนดูแลสวัสดิการของครู ดูแลเรื่องการดำรงชีวิต ให้ครูสามารถอยู่ได้อย่างมีเกียรติและมีสวัสดิการที่เหมาะสม โดยเฉพาะครูที่อยู่ต่างจังหวัดจะดูและให้ได้รับความเป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม ขอขอบคุณครูทุกคนที่เสียสละ โดยเฉพาะครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้เสียชีวิตไปในขณะปฏิบัติหน้าที่ เพราะฉะนั้น ในฐานะคนไทยจึงขอให้กำลังใจ และขอบคุณในความเสียสระของครูและครอบครัวของครูที่ทำหน้าที่ดูแลลูกศิษย์อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ครูจึงมีส่วนสำคันในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในอนาคตเราจะก้าวไปสู่สังคมผู้สูงอายุ การผลิตบุคลากรจึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นนโยบายใหญ่ของรัฐบาล พัฒนาเยาวชนให้เติบโตเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ มีความสามารถจะแข่งขันกับผู้อื่นได้
“การจัดงานวันครูนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่า แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อคุณครู เพราะครูคือผู้ที่เป็นกำลังสำคัญที่ทำให้วงการการศึกษาและเยาวชนของเราได้พบทางสว่างแห่งปัญญ ครูเป็นผู้เสียสละในการถ่ายทอดวิชาความรู้และภูมิปัญญาที่ สั่งสมมา เพื่อบ่มเพาะนิสัยให้ลูกศิษย์เป็นคนดีของสังคม นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศต่อไป ซึ่งดิฉันเชื่อว่าในสมัยเด็กๆ ทุกคนคงจะมีครูในดวงใน ดิฉันก็มีครูในดวงใจเช่นกัน ถือว่าครูเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิด ต่อจิตสำนึกตั้งแต่เด็ก ดังนั้น นอกจากเด็กจะได้เรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ จากครอบครัวแล้ว ยังได้เรียนรู้จากครู โดยความรัก ความอบอุ่นที่ครูมีให้ เป็นจุดเริ่มต้นของเด็กทุกคน ดิฉันเองนึกถึงสมัยก่อนที่ได้เรียน ได้รับการประสิทธิประสาทวิชา ตอนที่เรียนก็อาจจะยังไม่รู้สึก แต่วันนี้รู้สึกถึงคำสั่งสอนที่คุณครู ที่ผู้ใหญ่และผู้ที่มีความปรารถนาดี ได้สั่งสอนมา และได้นำมาใช้ในชีวิตจนถึงทุกวันนี้” น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว
นายกฯ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ โลกมีความเปลี่ยนแปลงไปมากรวมถึงเรื่องการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นแม้การปฏิรูปการศึกษาจะได้ทำอย่างต่อเนื่องจนทำให้การศึกษาของประเทศไทยมีการพัฒนาเติบโตต่อเนื่อง แต่จากภาวะที่เข้ามาไม่ว่าเป็นเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และเรื่องการสื่อสารต่างๆ มีการเปลี่ยนรูปแบบไปมาก วงการศึกษาจึงมีความจำเป็นที่ต้องร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง สอดรับกับโลกหรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปด้วย
“ดิฉันเห็นความสำคัญของการปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรวิชา จนถึงวิธีการเรียนการสอน ขณะเดียวกันเทคโนโลยียังเป็นสิ่งสำคัญใช้เป็นเครื่องมือสร้างองค์ความรู้ต่างๆ มากขึ้น ทำให้การเรียนการสอนน่าสนใจ แต่องค์ความรู้ที่สั่งสมมายามนานก็ควรจะนำมาถ่ายทอดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้ เชื่อว่า ครูจะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการนำเนื้อหาองค์ความรู้ต่างๆ มาปรับปรุงให้มีความทันสมัยและถ่ายทอดให้เยาวชน อยากเห็นความรู้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นสายสามัญ สายอาชีวศึกษา และความรู้นี้ก็ต้องเป็นความรู้ที่ถ่ายทอดแล้วตรงกับงาน เพื่อให้ลูกศิษย์จบออกมามีงานทำได้ นอกจากนั้น ยังอยากเห็นครูปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี และให้ความสำคัญกับการประคับประครองบ่มเพาะเด็กและเยาวชน ให้เด็กมีความรู้และมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม เมตตาธรรม รวมถึงสนับสนุนให้เด็กมีความคิดต่าง แต่ต้องมีความสอดคล้องและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และยืนยันว่า เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็น รัฐบาลพร้อมที่จะอำนวยการร่วมกับ ศธ.จัดเตรียมสถานศึกษาต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขึ้น และร่วมกันพัฒนากลไกการศึกษาและหลักสูตรให้สอดคล้อง” นายกฯ กล่าว
ต่อจากนั้น นายดิเรก ได้เป็นตัวแทนยื่นข้อเสนอเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู คุณภาพการศึกษา และคุณภาพคนไทย ต่อ นายกฯ โดยขอให้ดำเนินการเร่งด่วนใน 8 ประเด็น ดังนี้ 1.กำหนดนโยบายให้สถาบันผลิตครู ผลิตครูทั้งด้านปริมาณและคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ครู ด้วยการกำหนดโควตานักศึกษาครูและงบประมาณสนับสนุนการผลิตครูให้แก่สถาบัน ผลิตครูแต่ละแห่งตามจำนวนโควตาที่ได้รับ นั่นคือ ทำให้ Supply of Teachers เท่ากับ Demand for Teachers 2.พัฒนาศักยภาพสถาบันผลิตครูของไทยให้มีศักยภาพใกล้เคียง หรือทัดเทียมศักยภาพของสถาบันผลิตครูของประเทศชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ด้วยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศแก่บุคคลผู้ประสงค์จะเป็นคณาจารย์และการจ้างคณาจารย์ชาวต่างประเทศมาทำการสอนและวิจัยประจำสถาบัน ผลิตครูของไทย 3.กำหนดนโยบายให้สถานศึกษาทุกแห่งและทุกประเภทมีครูครบทุกห้องและชั้นเรียน ด้วยการกำหนดจำนวนนักเรียน หรือนักศึกษาต่อห้อง สำหรับแต่ละประเภทของการจัดการศึกษา ให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ 4.ให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัดและทุกประเภทได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนผู้ประกอบวิชาชีพครูทั้งในประเทศและในกลุ่มประเทศ สมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนด้านงบประมาณให้เข้าร่วมประชุมสัมมนา สังเกตการสอน หรือการปฏิบัติงานของครูที่สอนเก่ง และ/หรือจัดทำแผนการสอนร่วมกัน
5.จัดให้มีมาตรฐานขั้นต่ำของสื่อการเรียนรู้ ครุภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเรียนการสอนในทุกสาขาวิชาและทุกระดับการศึกษา อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ด้วยการตรากฎหมายกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสื่อครุภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเรียนรู้ที่รัฐต้องจัดให้แก่สถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนแต่ละวิชา แต่ละสาขา และแต่ละระดับชั้นหรือประเภทของการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ 6.ผลักดันให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัดทั้งภาครัฐ และ เอกชน มีวิทยฐานะได้รับเงินค่าวิทยฐานะและเงินค่าวิชาชีพ ด้วยการปรับปรุงกฎเกณฑ์ว่าด้วยการให้มี หรือให้เลื่อนวิทยฐานะ โดยพิจารณาจากผลงานที่ตรงตามภารกิจหลักของผู้ประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการผลักดันดังกล่าว 7.ปรับปรุงบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สูงขึ้น และให้มีจำนวนขั้นเงินเดือนน้อยลง ด้วยการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยบัญชีเงินเดือนข้าราชการครู ให้เป็นบัญชีเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับบัญชีเงินเดือนข้าราชการตุลาการ หรือแพทย์ และ 8.ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัดมีสิทธิสมัคร หรือลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการโดยสมัครใจ ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 หมวด 3 มาตรา 36
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเดินทางกลับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้รับมอบหนังสือจากสมาพันธ์ครูแห่งประเทศไทย (ส.ค.ท.) สมาคมครูมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย และองค์กรเครือข่ายวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ที่เรียกร้องให้ นายกฯ เร่งรัดดำเนินการแต่งตั้งประธานคุรุสภา และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคุรุสภาโดยเร็ว เนื่องจากนับแต่คณะกรรมการคุรุสภาชุดเดิมหมดวาระไปวันที่ 3 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา จนถึงเวลานี้เป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้วแต่คณะกรรมการคุรุสภายังไม่ครบชุด ซึ่งสร้างความเสียหายต่อการทำงานทั้งเรื่องการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ การบริหารงาน และภาพลักษณ์ของคุรุสภาด้วย โดยขอให้ นายกฯ ให้คำตอบภายในวันที่ 23 มกราคม 2556 ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า จะรับเรื่องไปดูและเร่งดำเนินการให้