บอร์ดแท็บเล็ต รื้อวิธีจัดซื้อใหม่ แบ่งซื้อเหลือ 4 โซนๆ ละกว่า 4 แสนเครื่อง จากเดิมให้ซื้อ 10 โซน สพฐ.ยันวิธีนี้ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ผู้ผลิตรายใหญ่
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ที่มี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้หารืออีกครั้งถึงแนวทางการจัดซื้อแท็บเล็ตระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งภายหลังที่ประชุมได้นำข้อมูลต่างๆ มาศึกษาเปรียบเทียบกันแล้ว จึงมีมติแบ่งการจัดซื้อจัดจ้างออกเป็น 4 โซน แยกเป็น การจัดซื้อแท็บเล็ตของนักเรียนชี้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 โซน และแท็บเล็ตระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 โซน โดยโซนที่ 1 เป็นการจัดซื้อของจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ส่วนโซนที่ 2 เป็นการจัดซื้อแท็บเล็ตของจังหวัดในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ยแล้วแต่ละโซน จัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตประมาณ 400,000 เครื่อง อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น ในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนธันวาคม 2555 ได้มีมติให้แบ่งการจัดซื้อจัดจ้างแท็บเล็ต ออกเป็น 5 โซน 10 สัญญา แยกเป็น ป.1 จำนวน 5 โซน และ ม.1 จำนวน 5 โซน โดยแต่ละโซนจะมีจำนวนเครื่องแท็บเล็ตที่ต้องจัดซื้อระหว่าง 1.4-1.8 แสนเครื่อง แต่ในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมพิจารณาแล้วว่า ถ้าแต่ละโซนมีการจัดซื้อจำนวนเครื่องมากพอสมควร จึงจะสามารถต่อรองให้ได้ราคาต่ำที่สุด ซึ่งการจัดซื้อครั้งละประมาณ 4 แสนเครื่อง เป็นขนาดที่เหมาะสมมากกว่า
“การเปลี่ยนแปลงให้เหลือแค่ 4 โซน แต่ละโซนจัดซื้อจำนวน 4 แสนเครื่องนั้น ไม่ได้เป็นการล็อก หรือเอื้อให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ เชื่อว่า แต่ละโซนจะมีผู้ผลิตไม่ต่ำกว่า 3 ราย ที่จะสามารถเข้าร่วมการประมูลจัดซื้อจัดจ้างได้ ขณะเดียวกัน ก็จะสามารถซื้อแท็บเล็ตได้ในราคาที่ประหยัดที่สุด ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตรายใหญ่จะมีกำลังการผลิตและบริการหลังการขายที่เป็นระบบกว่า” นายชินภัทร กล่าวและว่า จะไม่มีการกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างได้มากสุดไม่เกิน 2 สัญญา ตามผลการประชุมบอร์ดครั้งที่แล้ว เพราะทางกรมบัญชีกลางชี้แจงมาว่าไม่สามารถดำเนินการเช่นนั้นได้ บริษัทผู้ผลิตแต่ละบริษัทจะทำสัญญาได้กี่สัญญาขึ้นอยู่กับกำลังการผลิต และความสามารถของผลิตรายนั้นๆ
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในขั้นตอนการประมูลจัดซื้อจัดจ้างซึ่งจะเป็นระบบ อี-ออกชัน นั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเป็นตัวแทนในการประกวดราคาแทนหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งทางกรมบัญชีกลางได้มีหนังสือตอบกลับมาแล้วว่า หน่วยงานอื่นๆสามารถมอบอำนาจให้ สพฐ.ดำเนินการประมูลฯ แทนได้ เมื่อประมูลเสร็จแล้วให้หน่วยงานเจ้าของเงินเป็นผู้ทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้ที่ชนะการประกวดราคาโดยตรง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบให้ สพฐ.ทำรายละเอียดของการดำเนินการจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
ด้าน นายสุรพล นะวะมวัฒน์ ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า การจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตแบ่งออกเป็น 4 โซน โดยระดับ ป.1 โซนที่ 1 จัดซื้อจำนวน 431,175 เครื่อง โซนที่ 2 จัดซื้อจำนวน 417,042 เครื่อง ส่วนแท็บเล็ต ม.1 โซนที่ 1 จัดซื้อจำนวน 416,440 เครื่อง และโซนที่ 2 จัดซื้อจำนวน 423,333 เครื่อง ทั้งนี้ การจัดซื้อแท็บเล็ตถ้ายิ่งซื้อครั้งละมากๆ จะยิ่งซื้อได้ในราคาที่ถูกลง โดยได้กำหนดราคาแท็บเล็ต ป.1 ไว้ที่ 2,720 บาท และ ม.1 อยู่ที่ 2,920 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวรวมทั้งตัวเครื่อง ค่าขนส่ง และบริการหลังการขายเป็นระยะเวลา 1 ปี
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ต่อ 1 นักเรียน ที่มี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้หารืออีกครั้งถึงแนวทางการจัดซื้อแท็บเล็ตระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งภายหลังที่ประชุมได้นำข้อมูลต่างๆ มาศึกษาเปรียบเทียบกันแล้ว จึงมีมติแบ่งการจัดซื้อจัดจ้างออกเป็น 4 โซน แยกเป็น การจัดซื้อแท็บเล็ตของนักเรียนชี้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 โซน และแท็บเล็ตระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 โซน โดยโซนที่ 1 เป็นการจัดซื้อของจังหวัดในภาคกลางและภาคใต้ ส่วนโซนที่ 2 เป็นการจัดซื้อแท็บเล็ตของจังหวัดในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ยแล้วแต่ละโซน จัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตประมาณ 400,000 เครื่อง อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น ในการประชุมครั้งล่าสุดในเดือนธันวาคม 2555 ได้มีมติให้แบ่งการจัดซื้อจัดจ้างแท็บเล็ต ออกเป็น 5 โซน 10 สัญญา แยกเป็น ป.1 จำนวน 5 โซน และ ม.1 จำนวน 5 โซน โดยแต่ละโซนจะมีจำนวนเครื่องแท็บเล็ตที่ต้องจัดซื้อระหว่าง 1.4-1.8 แสนเครื่อง แต่ในการประชุมครั้งนี้ที่ประชุมพิจารณาแล้วว่า ถ้าแต่ละโซนมีการจัดซื้อจำนวนเครื่องมากพอสมควร จึงจะสามารถต่อรองให้ได้ราคาต่ำที่สุด ซึ่งการจัดซื้อครั้งละประมาณ 4 แสนเครื่อง เป็นขนาดที่เหมาะสมมากกว่า
“การเปลี่ยนแปลงให้เหลือแค่ 4 โซน แต่ละโซนจัดซื้อจำนวน 4 แสนเครื่องนั้น ไม่ได้เป็นการล็อก หรือเอื้อให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ เชื่อว่า แต่ละโซนจะมีผู้ผลิตไม่ต่ำกว่า 3 ราย ที่จะสามารถเข้าร่วมการประมูลจัดซื้อจัดจ้างได้ ขณะเดียวกัน ก็จะสามารถซื้อแท็บเล็ตได้ในราคาที่ประหยัดที่สุด ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตรายใหญ่จะมีกำลังการผลิตและบริการหลังการขายที่เป็นระบบกว่า” นายชินภัทร กล่าวและว่า จะไม่มีการกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างได้มากสุดไม่เกิน 2 สัญญา ตามผลการประชุมบอร์ดครั้งที่แล้ว เพราะทางกรมบัญชีกลางชี้แจงมาว่าไม่สามารถดำเนินการเช่นนั้นได้ บริษัทผู้ผลิตแต่ละบริษัทจะทำสัญญาได้กี่สัญญาขึ้นอยู่กับกำลังการผลิต และความสามารถของผลิตรายนั้นๆ
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ในขั้นตอนการประมูลจัดซื้อจัดจ้างซึ่งจะเป็นระบบ อี-ออกชัน นั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะเป็นตัวแทนในการประกวดราคาแทนหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งทางกรมบัญชีกลางได้มีหนังสือตอบกลับมาแล้วว่า หน่วยงานอื่นๆสามารถมอบอำนาจให้ สพฐ.ดำเนินการประมูลฯ แทนได้ เมื่อประมูลเสร็จแล้วให้หน่วยงานเจ้าของเงินเป็นผู้ทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับผู้ที่ชนะการประกวดราคาโดยตรง ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบให้ สพฐ.ทำรายละเอียดของการดำเนินการจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
ด้าน นายสุรพล นะวะมวัฒน์ ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า การจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตแบ่งออกเป็น 4 โซน โดยระดับ ป.1 โซนที่ 1 จัดซื้อจำนวน 431,175 เครื่อง โซนที่ 2 จัดซื้อจำนวน 417,042 เครื่อง ส่วนแท็บเล็ต ม.1 โซนที่ 1 จัดซื้อจำนวน 416,440 เครื่อง และโซนที่ 2 จัดซื้อจำนวน 423,333 เครื่อง ทั้งนี้ การจัดซื้อแท็บเล็ตถ้ายิ่งซื้อครั้งละมากๆ จะยิ่งซื้อได้ในราคาที่ถูกลง โดยได้กำหนดราคาแท็บเล็ต ป.1 ไว้ที่ 2,720 บาท และ ม.1 อยู่ที่ 2,920 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวรวมทั้งตัวเครื่อง ค่าขนส่ง และบริการหลังการขายเป็นระยะเวลา 1 ปี