สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯเปิด รพ.ยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส หลังเป็นอำเภอเดียวที่ไม่มีโรงพยาบาลประจำพื้นที่ รมช.สธ.เผย เปิดรักษาทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน และแผนไทย ดูแลประชากรได้ถึง 4.3 หมื่นคน
วันนี้ (14 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.40 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดแพรคลุมป้ายโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส โดยมี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เฝ้ารับเสด็จฯ
นพ.ชลน่าน กราบบังคมทูลรายงานว่า รพ.ยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง และเป็น 1 ในโรงพยาบาล 10 แห่ง ที่ สธ.จัดสร้างและพัฒนาให้เป็น รพ.ชุมชนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ.2550 เนื่องจากอำเภอยี่งอ เป็นพื้นที่ทุรกันดาร เป็นอำเภอเดียวในจังหวัดนราธิวาส ที่ไม่มีโรงพยาบาลประจำในพื้นที่ ประชาชนต้องเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 20 กิโลเมตร โดยก่อสร้างบนพื้นที่ 33 ไร่เศษ ซึ่งได้มาจากการบริจาคของประชาชนและจัดซื้อเพิ่มเติม แล้วเสร็จและเปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ.2553 เป็นต้นมา ได้เน้นระบบบริหารจัดการรูปแบบพิเศษให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารให้เป็นโรงพยาบาลของชุมชนอย่างแท้จริง และผสมผสานการดำเนินงานด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นแบบอย่างชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาทั้งในและนอกโรงพยาบาล เป็นสถานบริการสุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ ดูแลประชาชนครบถ้วนทั้งกาย จิต และสังคมอย่างใกล้ชิด มีทีมแพทย์ออกให้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 6 แห่ง ดูแลถึงครอบครัว เน้นการให้บริการรักษาที่บ้านมากกว่าที่โรงพยาบาล และยังเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและมีแพทย์คนแรกของประเทศไทยที่ทำการวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยาหรือที่ประชาชนเรียกว่า ไข้ปวดข้อยุงลาย เมื่อปี 2551 เป็นผลสำเร็จ
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เปิดให้บริการรักษาพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง เปิดคลินิกแพทย์แผนไทยตรวจรักษาควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยดูแลประชากร 43,000 คน มีบุคลากรแพทย์เจ้าหน้าที่รวมทั้งหมด 89 คน มีประชาชนในพื้นที่จิตอาสาร่วมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการให้บริการดูแลอำนวยความสะดวกผู้ป่วยปีละ 4,000 คน เช่น จัดเตรียมอาหาร ทำความสะอาดโรงพยาบาล ผลการประเมินคุณภาพบริการในปี 2555 พบว่า ประชาชนพึงพอใจบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกสูงถึงร้อยละ 82 ผู้ป่วยในร้อยละ 80 โดยมีผู้ป่วยนอกปีละ 58,774 ราย และผู้ป่วยใน 3,212 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยจากสถานการณ์ความไม่สงบ 111 ราย โรคที่พบในพื้นที่มากที่สุดได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง รองลงมาคือเบาหวาน ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง ฟันผุ
นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระทรวงสาธารณสุขได้จัดแผนพัฒนาระบบบริการ ได้กำหนดให้โรงพยาบาลศูนย์ยะลา เป็นโรงพยาบาลศูนย์ รองรับผู้ป่วยที่เกินขีดความสามารถ ก่อนส่งต่อไปโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ ส่วนในจังหวัดนราธิวาส มีโรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่ง ที่จะรองรับผู้ป่วยจากทั้ง 13 อำเภอ ได้แก่ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ รองรับผู้ป่วยจากอำเภอเมือง ยี่งอ บาเจาะ รือเสาะ ระแงะ จะแนะ ศรีสาคร เจาะไอร้อง ตากใบ และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก รองรับผู้ป่วยจากอำเภอสุไหงโก-ลก สุไหงปาดี แว้ง และ สุคิริน โดยพัฒนาโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ให้เด่นเฉพาะทางในบางสาขาที่เป็นปัญหาของพื้นที่ เช่น การดูแลผู้ป่วยมารดาและทารก เป็นต้น ส่วนโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ มีแผนพัฒนาให้เป็นจุดรับส่งต่อการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นภาวะการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก่อนส่งรักษาในศูนย์เชี่ยวชาญโรคหัวใจ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตมากขึ้น
วันนี้ (14 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.40 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดแพรคลุมป้ายโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส โดยมี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เฝ้ารับเสด็จฯ
นพ.ชลน่าน กราบบังคมทูลรายงานว่า รพ.ยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง และเป็น 1 ในโรงพยาบาล 10 แห่ง ที่ สธ.จัดสร้างและพัฒนาให้เป็น รพ.ชุมชนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ.2550 เนื่องจากอำเภอยี่งอ เป็นพื้นที่ทุรกันดาร เป็นอำเภอเดียวในจังหวัดนราธิวาส ที่ไม่มีโรงพยาบาลประจำในพื้นที่ ประชาชนต้องเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งอยู่ห่างประมาณ 20 กิโลเมตร โดยก่อสร้างบนพื้นที่ 33 ไร่เศษ ซึ่งได้มาจากการบริจาคของประชาชนและจัดซื้อเพิ่มเติม แล้วเสร็จและเปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ.2553 เป็นต้นมา ได้เน้นระบบบริหารจัดการรูปแบบพิเศษให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารให้เป็นโรงพยาบาลของชุมชนอย่างแท้จริง และผสมผสานการดำเนินงานด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นแบบอย่างชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาทั้งในและนอกโรงพยาบาล เป็นสถานบริการสุขภาพใกล้บ้านใกล้ใจ ดูแลประชาชนครบถ้วนทั้งกาย จิต และสังคมอย่างใกล้ชิด มีทีมแพทย์ออกให้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 6 แห่ง ดูแลถึงครอบครัว เน้นการให้บริการรักษาที่บ้านมากกว่าที่โรงพยาบาล และยังเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและมีแพทย์คนแรกของประเทศไทยที่ทำการวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยาหรือที่ประชาชนเรียกว่า ไข้ปวดข้อยุงลาย เมื่อปี 2551 เป็นผลสำเร็จ
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เปิดให้บริการรักษาพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง เปิดคลินิกแพทย์แผนไทยตรวจรักษาควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยดูแลประชากร 43,000 คน มีบุคลากรแพทย์เจ้าหน้าที่รวมทั้งหมด 89 คน มีประชาชนในพื้นที่จิตอาสาร่วมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการให้บริการดูแลอำนวยความสะดวกผู้ป่วยปีละ 4,000 คน เช่น จัดเตรียมอาหาร ทำความสะอาดโรงพยาบาล ผลการประเมินคุณภาพบริการในปี 2555 พบว่า ประชาชนพึงพอใจบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกสูงถึงร้อยละ 82 ผู้ป่วยในร้อยละ 80 โดยมีผู้ป่วยนอกปีละ 58,774 ราย และผู้ป่วยใน 3,212 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยจากสถานการณ์ความไม่สงบ 111 ราย โรคที่พบในพื้นที่มากที่สุดได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง รองลงมาคือเบาหวาน ไข้เลือดออก อุจจาระร่วง ฟันผุ
นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส กระทรวงสาธารณสุขได้จัดแผนพัฒนาระบบบริการ ได้กำหนดให้โรงพยาบาลศูนย์ยะลา เป็นโรงพยาบาลศูนย์ รองรับผู้ป่วยที่เกินขีดความสามารถ ก่อนส่งต่อไปโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ ส่วนในจังหวัดนราธิวาส มีโรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่ง ที่จะรองรับผู้ป่วยจากทั้ง 13 อำเภอ ได้แก่ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ รองรับผู้ป่วยจากอำเภอเมือง ยี่งอ บาเจาะ รือเสาะ ระแงะ จะแนะ ศรีสาคร เจาะไอร้อง ตากใบ และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก รองรับผู้ป่วยจากอำเภอสุไหงโก-ลก สุไหงปาดี แว้ง และ สุคิริน โดยพัฒนาโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ให้เด่นเฉพาะทางในบางสาขาที่เป็นปัญหาของพื้นที่ เช่น การดูแลผู้ป่วยมารดาและทารก เป็นต้น ส่วนโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ มีแผนพัฒนาให้เป็นจุดรับส่งต่อการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นภาวะการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก่อนส่งรักษาในศูนย์เชี่ยวชาญโรคหัวใจ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตมากขึ้น