อปท.หนุนแนวทางใหม่ “เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข” จัดสรรงบรักษาพยาบาล อปท.เท่ากันทุกแห่ง มีสิทธิประโยชน์เหมือนข้าราชการ ครอบคลุมเฉพาะข้าราชการท้องถิ่นประจำและครอบครัว ไม่รวมฝ่ายการเมือง มอบ สปสช.รับบทเคลียริงเฮาส์ คาดเริ่ม 1 ต.ค.56
วันนี้ (7 ม.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดทำระบบหลักประกันสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า อปท.เห็นชอบให้มีการดึงงบสวัสดิการรักษาพยาบาลจาก อปท.แต่ละแห่งมารวมที่ส่วนกลางประมาณ 5 พันล้านบาท หรือ 1% ของงบประมาณที่ อปท.ได้รับปีละ 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะกระจายงบดังกล่าวด้วยหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข โดยมอบหมายให้สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้บริหารกลางแทน คล้ายๆ เคลียริงเฮาส์ (Clearinghouse) โดย สปสช.คิดค่าบริหารจัดการ 1.5% ของงบรักษาพยาบาล ทำให้ผู้มีสิทธิไม่ต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปก่อน
“การจัดสรรงบรักษาพยาบาลข้าราชการท้องถิ่นแบบเดิมที่ส่งไปยัง อปท.แต่ละแห่งโดยตรงนั้น ทำให้ อปท.บางแห่งได้รับงบประมาณน้อย เมื่อมีผู้ป่วยน้อยทำให้รับภาระไม่ไหว แต่การจัดสรรงบรูปแบบใหม่ อปท.ทุกแห่งจะได้รับการจัดสรรงบรักษาพยาบาลเท่ากัน โดยสิทธิประโยชน์จะเหมือนสิทธิสวัสดิการข้าราชการ และในอนาคตหากมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์มากขึ้นจะจัดสรรเงินส่วนนี้เพิ่มเป็น 1.5% ของงบที่ อปท.ได้รับในแต่ละปี หรือราว 7,500 ล้านบาท ซึ่งสิทธินี้จะครอบคลุมข้าราชการท้องถิ่นประจำและครอบครัว แต่ไม่รวมข้าราชการท้องถิ่นฝ่ายการเมือง” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า คาดว่าจะมีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง อปท.กับ สปสช.ในเรื่องระบบหลักประกัน อปท.ช่วงปลาย ม.ค.นี้ หากดำเนินการต่างๆ แล้วเสร็จจะสามารถเริ่มรูปแบบใหม่ในปีงบประมาณ 2557 (1 ต.ค.2556) อย่างไรก็ตาม วันที่ 8 ม.ค.นี้ ตนจะเข้าชี้แจงต่อ ครม.เกี่ยวกับโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น เพื่อให้ขยายครอบคลุมไปถึงผู้มีสิทธิสังกัด อปท.ที่มีประมาณ 5-6 แสนคน และรัฐวิสาหกิจประมาณกว่า 1 ล้านคนด้วย ไม่เฉพาะแต่ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ
“หาก ครม.เห็นชอบ อปท.และรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะต้องนำมติ ครม.ไปพิจารณาเพื่อแก้ไขระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้อง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้สิทธิสังกัด อปท.และรัฐวิสาหกิจที่เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลแห่งใดก็ได้โดยไม่ต้องถามสิทธิ์” เลขาฯ สปสช.กล่าว
วันนี้ (7 ม.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เปิดเผยความคืบหน้าการจัดทำระบบหลักประกันสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ว่า อปท.เห็นชอบให้มีการดึงงบสวัสดิการรักษาพยาบาลจาก อปท.แต่ละแห่งมารวมที่ส่วนกลางประมาณ 5 พันล้านบาท หรือ 1% ของงบประมาณที่ อปท.ได้รับปีละ 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะกระจายงบดังกล่าวด้วยหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข โดยมอบหมายให้สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้บริหารกลางแทน คล้ายๆ เคลียริงเฮาส์ (Clearinghouse) โดย สปสช.คิดค่าบริหารจัดการ 1.5% ของงบรักษาพยาบาล ทำให้ผู้มีสิทธิไม่ต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไปก่อน
“การจัดสรรงบรักษาพยาบาลข้าราชการท้องถิ่นแบบเดิมที่ส่งไปยัง อปท.แต่ละแห่งโดยตรงนั้น ทำให้ อปท.บางแห่งได้รับงบประมาณน้อย เมื่อมีผู้ป่วยน้อยทำให้รับภาระไม่ไหว แต่การจัดสรรงบรูปแบบใหม่ อปท.ทุกแห่งจะได้รับการจัดสรรงบรักษาพยาบาลเท่ากัน โดยสิทธิประโยชน์จะเหมือนสิทธิสวัสดิการข้าราชการ และในอนาคตหากมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์มากขึ้นจะจัดสรรเงินส่วนนี้เพิ่มเป็น 1.5% ของงบที่ อปท.ได้รับในแต่ละปี หรือราว 7,500 ล้านบาท ซึ่งสิทธินี้จะครอบคลุมข้าราชการท้องถิ่นประจำและครอบครัว แต่ไม่รวมข้าราชการท้องถิ่นฝ่ายการเมือง” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า คาดว่าจะมีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง อปท.กับ สปสช.ในเรื่องระบบหลักประกัน อปท.ช่วงปลาย ม.ค.นี้ หากดำเนินการต่างๆ แล้วเสร็จจะสามารถเริ่มรูปแบบใหม่ในปีงบประมาณ 2557 (1 ต.ค.2556) อย่างไรก็ตาม วันที่ 8 ม.ค.นี้ ตนจะเข้าชี้แจงต่อ ครม.เกี่ยวกับโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น เพื่อให้ขยายครอบคลุมไปถึงผู้มีสิทธิสังกัด อปท.ที่มีประมาณ 5-6 แสนคน และรัฐวิสาหกิจประมาณกว่า 1 ล้านคนด้วย ไม่เฉพาะแต่ผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ
“หาก ครม.เห็นชอบ อปท.และรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะต้องนำมติ ครม.ไปพิจารณาเพื่อแก้ไขระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้อง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้สิทธิสังกัด อปท.และรัฐวิสาหกิจที่เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิตเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลแห่งใดก็ได้โดยไม่ต้องถามสิทธิ์” เลขาฯ สปสช.กล่าว