สธ.ยึดอำนาจการส่งเสริมป้องกันโรคคืนจาก สปสช.หลังปล่อยให้ส่งงบตรงไปยังหน่วยบริการแบบไม่เห็นหัว และไม่ตรงเป้าการทำงาน พร้อมส่ง คปสข.วางแผนปฏิบัติงานพร้อมจัดสรรงบร่วมกับ อปสข.เผยการพัฒนาโรงพยาบาลใน 12 เขตบริการ รู้ผลชี้เป้าใน ธ.ค.นี้
วันนี้ (18 ธ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ในฐานะผู้ให้บริการ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะผู้ซื้อบริการ เห็นชอบร่วมกันเรื่องการปรับระบบบริหารการส่งเสริมป้องกันโรค โดยมอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับเขต (คปสข.) สธ.และอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ (อปสข.) สปสช.ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินการเรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคในพื้นที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายใหญ่ที่ สธ.กำหนด โดยให้ คปสข.ทำหน้าที่พิจารณางบประมาณภาพรวมของแผนปฏิบัติการในพื้นที่และมีส่วนรับรู้การจัดสรรงบประมาณ เนื่องจากที่ผ่านมา สปสช.จัดสรรงบผ่าน อปสข.ส่งตรงไปยังหน่วยบริการเลย โดยที่ สธ.ไม่ได้ร่วมวางแผนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าการส่งเสริมป้องกันโรคของ สธ.ทั้งที่หน่วยงานที่ทำงานด้านการส่งเสริมป้องกันโรคเป็นหลักนั้น สังกัด สธ.ถึง 90%
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องการจัดบริการร่วมกัน 10 สาขาของสถานพยาบาลในเขตบริการเดียวกันทั้ง 12 เขตนั้น ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลจากทั้ง 12 เขตบริการ เพื่อให้ทราบว่าในแต่ละเขตสถานพยาบาลใดได้รับการชี้เป้าให้พัฒนาขีดความสามารถในเรื่องใดบ้าง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นจะมีคณะกรรมการส่วนกลางวิเคราะห์ว่าแผนการพัฒนาดังกล่าวของเขตบริการมากน้อยไปหรือไม่อย่างไร ก่อนที่จะดำเนินการเรื่องแผนกำลังคน ทรัพยากร และการลงทุนในแต่ละพื้นที่เขต ยกตัวอย่าง การเพิ่มขีดความสามารถด้านการผ่าตัดให้โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) แต่ละเขตจะต้องพิจารณาว่า รพช.แห่งใดจะได้รับการพัฒนาในเรื่องนี้ แต่ไม่ใช่ทุก รพช.อาจเป็น รพช.ขนาดใหญ่ที่เป็นแม่ข่ายจำนวน 91 แห่ง และรพช.ขนาดใหญ่ที่มีขีดความสามารถเท่ากับโรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) ขนาดเล็ก จำนวน 35 แห่ง ทั้งนี้ สธ.จะปรับบทบาทให้ทำหน้าที่ในการคุมกฎระเบียบหลักของงานสาธารณสุขของประเทศ โดยจะกระจายอำนาจบทบาทด้านการจัดบริการไปยังเขตบริการทั้ง 12 เขต
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ส่วนเรื่องการจัดสรรอัตรากำลังและบรรจุเป็นข้าราชการตามอัตรากำลังที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ สธ.ดำเนินการบรรจุปีละประมาณ 7,500 อัตรานั้น ในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคมนี้จะมีการหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเกณฑ์การพิจารณาหน่วยงานที่จะได้รับการจัดสรรอัตราบรรจุ โดยพิจารณาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และภาระงาน ส่วนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุจะพิจารณาจากอายุงานเป็นหลักแต่ต้องสอดคล้องกับหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรอัตรากำลังด้วย
วันนี้ (18 ธ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ในฐานะผู้ให้บริการ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะผู้ซื้อบริการ เห็นชอบร่วมกันเรื่องการปรับระบบบริหารการส่งเสริมป้องกันโรค โดยมอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับเขต (คปสข.) สธ.และอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ (อปสข.) สปสช.ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการดำเนินการเรื่องการส่งเสริมป้องกันโรคในพื้นที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายใหญ่ที่ สธ.กำหนด โดยให้ คปสข.ทำหน้าที่พิจารณางบประมาณภาพรวมของแผนปฏิบัติการในพื้นที่และมีส่วนรับรู้การจัดสรรงบประมาณ เนื่องจากที่ผ่านมา สปสช.จัดสรรงบผ่าน อปสข.ส่งตรงไปยังหน่วยบริการเลย โดยที่ สธ.ไม่ได้ร่วมวางแผนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าการส่งเสริมป้องกันโรคของ สธ.ทั้งที่หน่วยงานที่ทำงานด้านการส่งเสริมป้องกันโรคเป็นหลักนั้น สังกัด สธ.ถึง 90%
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องการจัดบริการร่วมกัน 10 สาขาของสถานพยาบาลในเขตบริการเดียวกันทั้ง 12 เขตนั้น ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลจากทั้ง 12 เขตบริการ เพื่อให้ทราบว่าในแต่ละเขตสถานพยาบาลใดได้รับการชี้เป้าให้พัฒนาขีดความสามารถในเรื่องใดบ้าง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ จากนั้นจะมีคณะกรรมการส่วนกลางวิเคราะห์ว่าแผนการพัฒนาดังกล่าวของเขตบริการมากน้อยไปหรือไม่อย่างไร ก่อนที่จะดำเนินการเรื่องแผนกำลังคน ทรัพยากร และการลงทุนในแต่ละพื้นที่เขต ยกตัวอย่าง การเพิ่มขีดความสามารถด้านการผ่าตัดให้โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) แต่ละเขตจะต้องพิจารณาว่า รพช.แห่งใดจะได้รับการพัฒนาในเรื่องนี้ แต่ไม่ใช่ทุก รพช.อาจเป็น รพช.ขนาดใหญ่ที่เป็นแม่ข่ายจำนวน 91 แห่ง และรพช.ขนาดใหญ่ที่มีขีดความสามารถเท่ากับโรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) ขนาดเล็ก จำนวน 35 แห่ง ทั้งนี้ สธ.จะปรับบทบาทให้ทำหน้าที่ในการคุมกฎระเบียบหลักของงานสาธารณสุขของประเทศ โดยจะกระจายอำนาจบทบาทด้านการจัดบริการไปยังเขตบริการทั้ง 12 เขต
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ส่วนเรื่องการจัดสรรอัตรากำลังและบรรจุเป็นข้าราชการตามอัตรากำลังที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ สธ.ดำเนินการบรรจุปีละประมาณ 7,500 อัตรานั้น ในวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคมนี้จะมีการหารือร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเกณฑ์การพิจารณาหน่วยงานที่จะได้รับการจัดสรรอัตราบรรจุ โดยพิจารณาจากความห่างไกล ทุรกันดาร ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และภาระงาน ส่วนบุคคลที่จะได้รับการบรรจุจะพิจารณาจากอายุงานเป็นหลักแต่ต้องสอดคล้องกับหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรอัตรากำลังด้วย