“วิทยา” เปรยโครงการหลักประกันสุขภาพน่าจะทำได้ดีกว่านี้ เล็งปรับสภาพการเงินให้คล่องตัวตั้งแต่ปีงบประมาณ 56 เป็นต้นไป พร้อมตรวจสอบปัญหาโรงพยาบาลขาดทุน ปรับวิธีจัดสรรเงินใหม่
วันนี้ (11 ต.ค.) ที่โรงแรมเซนทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556 ว่า เป็นการเตรียมความพร้อมของการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เนื่องจากการดูแลสุขภาพประชาชนในโครงการหลักประกันสุขภาพที่ผ่านมา น่าจะทำได้ดีกว่านี้ โดยจะต้องเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งโรงพยาบาลบางแห่งพบว่ามีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2556 จะต้องปรับประสิทธิภาพทางด้านการเงินการคลังให้มีสภาพคล่อง งบประมาณค่าใช้จ่ายรายหัวที่ได้รับ 2,755 บาท จะต้องบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ส่วนในปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลมีนโยบายให้จัดทำงบประมาณให้เร็วขึ้น เพื่อนำไปสู่กระบวนการจัดทำงบประมาณที่จะตรงกับความเป็นจริง โดย สธ.เป็นผู้จัดบริการรายใหญ่ ส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้จ่ายเงิน ต้องบริหารจัดการให้ได้ โดยการจัดสรรเงินลงไปยังหน่วยบริการ ต้องอยู่ในหลักความเป็นจริงที่ได้ทำ เพราะในความเป็นจริง คนเราไม่ได้ป่วยทุกคน และรัฐบาลปัจจุบันเน้นการสร้างสุขภาพคนทุกกลุ่มวัย รณรงค์เรื่องการออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย ในระยะยาวคาดหวังว่าคนไทยจะป่วยเจ็บป่วยน้อยลง ที่สำคัญ ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและต้องการการดูแล จึงคาดหวังว่าในอนาคต ผู้สูงอายุจะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า วันนี้เป็นการมอบนโยบายแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง สปสช.กับ สธ.โดยจะมีการจัดบริการร่วมกัน นำปัญหามาวิเคราะห์กำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกัน สธ.เป็นผู้จัดบริการ ส่วนสปสช.เป็นผู้ซื้อบริการ และติดตามประเมินผลร่วมกัน ส่วนกรณีที่รัฐบาลคงงบประมาณตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไปนั้น สิ่งที่ สธ.ต้องเริ่มต้นคือการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบริหาร ต้องทำให้มีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งเรื่องระบบบัญชี รายรับรายจ่าย เพราะโรงพยาบาลในบางพื้นที่ บริหารอย่างไรก็ขาดทุน เพราะประชากรน้อย งบประมาณก็เข้าน้อย
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ สธ.ได้จัดระดับความรุนแรงปัญหารายรับน้อยกว่ารายจ่ายเป็น 7 ระดับ ถ้าเป็นระดับ 7 ถือว่ารุนแรง พบว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาล 100 กว่าแห่ง ส่วนใหญ่เป็นระดับโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ได้มอบหมายให้ นายแพทย์ โสภณ เมฆธน รองปลัด สธ.เร่งแก้ไขปัญหา โดยส่งทีมลงไปดูว่าปัญหาเกิดจากสาเหตุใด และต้องปรับวิธีการจัดสรรเงิน เพื่อให้เกิดสภาพคล่องและไม่เกิดผลกระทบต่อการจัดบริการประชาชนในพื้นที่
วันนี้ (11 ต.ค.) ที่โรงแรมเซนทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556 ว่า เป็นการเตรียมความพร้อมของการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เนื่องจากการดูแลสุขภาพประชาชนในโครงการหลักประกันสุขภาพที่ผ่านมา น่าจะทำได้ดีกว่านี้ โดยจะต้องเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการที่เป็นระบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งโรงพยาบาลบางแห่งพบว่ามีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2556 จะต้องปรับประสิทธิภาพทางด้านการเงินการคลังให้มีสภาพคล่อง งบประมาณค่าใช้จ่ายรายหัวที่ได้รับ 2,755 บาท จะต้องบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ
นายวิทยา กล่าวอีกว่า ส่วนในปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลมีนโยบายให้จัดทำงบประมาณให้เร็วขึ้น เพื่อนำไปสู่กระบวนการจัดทำงบประมาณที่จะตรงกับความเป็นจริง โดย สธ.เป็นผู้จัดบริการรายใหญ่ ส่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้จ่ายเงิน ต้องบริหารจัดการให้ได้ โดยการจัดสรรเงินลงไปยังหน่วยบริการ ต้องอยู่ในหลักความเป็นจริงที่ได้ทำ เพราะในความเป็นจริง คนเราไม่ได้ป่วยทุกคน และรัฐบาลปัจจุบันเน้นการสร้างสุขภาพคนทุกกลุ่มวัย รณรงค์เรื่องการออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย ในระยะยาวคาดหวังว่าคนไทยจะป่วยเจ็บป่วยน้อยลง ที่สำคัญ ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นและต้องการการดูแล จึงคาดหวังว่าในอนาคต ผู้สูงอายุจะเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ.กล่าวว่า วันนี้เป็นการมอบนโยบายแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง สปสช.กับ สธ.โดยจะมีการจัดบริการร่วมกัน นำปัญหามาวิเคราะห์กำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกัน สธ.เป็นผู้จัดบริการ ส่วนสปสช.เป็นผู้ซื้อบริการ และติดตามประเมินผลร่วมกัน ส่วนกรณีที่รัฐบาลคงงบประมาณตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไปนั้น สิ่งที่ สธ.ต้องเริ่มต้นคือการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบบริหาร ต้องทำให้มีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งเรื่องระบบบัญชี รายรับรายจ่าย เพราะโรงพยาบาลในบางพื้นที่ บริหารอย่างไรก็ขาดทุน เพราะประชากรน้อย งบประมาณก็เข้าน้อย
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ สธ.ได้จัดระดับความรุนแรงปัญหารายรับน้อยกว่ารายจ่ายเป็น 7 ระดับ ถ้าเป็นระดับ 7 ถือว่ารุนแรง พบว่า ขณะนี้มีโรงพยาบาล 100 กว่าแห่ง ส่วนใหญ่เป็นระดับโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ได้มอบหมายให้ นายแพทย์ โสภณ เมฆธน รองปลัด สธ.เร่งแก้ไขปัญหา โดยส่งทีมลงไปดูว่าปัญหาเกิดจากสาเหตุใด และต้องปรับวิธีการจัดสรรเงิน เพื่อให้เกิดสภาพคล่องและไม่เกิดผลกระทบต่อการจัดบริการประชาชนในพื้นที่