“วิทยา” เมิน สตง.ท้วงขยายเพดานวงเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตาม ม.41 เดินหน้าใช้ 1 ต.ค.นี้ เหมือนเดิม ยันประชาชนได้ประโยชน์ และค่าใช้จ่ายไม่เกิน 1% ของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
วันนี้ (1 ต.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กรณีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้มีหนังสือท้วงติงมายัง สปสช.หลังมีมติขยายเพดานวงเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป ว่า สตง.มีข้อเสนอแนะ 3 ประเด็น ได้แก่ 1.ขอให้คณะกรรมการทบทวนการแก้ไขข้อบังคับที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 2.ขอให้กำหนดกระบวนการ หรือแนวทางดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 42 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจในวิธีการดำเนินการไล่เบี้ยเอา แก่ผู้กระทำผิด โดยนำ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดมาใช้ด้วย และ 3.ขอให้กำหนดมาตรการเพื่อให้คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงิน ช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัดพิจารณาดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในข้อบังคับ
นายวิทยา กล่าวว่า จากข้อเสนอแนะทั้ง 3 ประเด็นของ สตง.นั้น ที่ประชุมบอร์ด สปสช.มีมติยืนยันให้ใช้ข้อบังคับฯใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ต่อไป โดยขยายวงเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จากเดิมกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงินสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท เป็น 400,000 บาท กรณีพิการจ่ายเงินสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท เป็น 240,000 บาท และกรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องจ่ายเงินสูงสุด 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท ส่วนกรณีที่ว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการ ในการบังคับใช้ มาตรา 42 นั้น ให้ยึดหลักการ การช่วยเหลือฯที่ไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิดเหมือนเดิม และกรณีการพัฒนาระบบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการจังหวัดนั้นให้ สปสช.ประสานกับคณะกรรมการควบคุมฯ พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอของ สตง.โดยศึกษาทำความเข้าใจข้อบังคับฯ และให้มีผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษา ร่วมในการพิจารณา รวมทั้งมีระบบการตรวจสอบ ติดตาม กำกับดูแลการพิจารณา
“คณะกรรมการเห็นว่า ในเรื่องการเพิ่มเพดานการจ่ายชดเชย ตามมาตรา 41 ผู้ที่ได้ประโยชน์คือประชาชน และหากไม่มีการปรับปรุงจะมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการด้วย ซึ่งการขยายวงเงินขอยืนยันว่าจะดำเนินการต่อไปเพราะไม่เกินร้อยละ 1 ของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ส่วนการขยาย ม.41 เป็นเรื่องของกฎหมายที่สามารถทำได้ โดยในปีงบประมาณ 2555 มีคำร้องที่เข้าเกณฑ์ 834 เรื่อง เป็นเงิน 98 ล้านบาท ส่วนการเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนั้น เป็นเรื่องขั้นตอนทางกฎหมายที่จะทำต่อไป” นายวิทยา กล่าว
วันนี้ (1 ต.ค.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมว.สธ.) ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กรณีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้มีหนังสือท้วงติงมายัง สปสช.หลังมีมติขยายเพดานวงเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.เป็นต้นไป ว่า สตง.มีข้อเสนอแนะ 3 ประเด็น ได้แก่ 1.ขอให้คณะกรรมการทบทวนการแก้ไขข้อบังคับที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 2.ขอให้กำหนดกระบวนการ หรือแนวทางดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 42 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจในวิธีการดำเนินการไล่เบี้ยเอา แก่ผู้กระทำผิด โดยนำ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดมาใช้ด้วย และ 3.ขอให้กำหนดมาตรการเพื่อให้คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงิน ช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัดพิจารณาดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในข้อบังคับ
นายวิทยา กล่าวว่า จากข้อเสนอแนะทั้ง 3 ประเด็นของ สตง.นั้น ที่ประชุมบอร์ด สปสช.มีมติยืนยันให้ใช้ข้อบังคับฯใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ต่อไป โดยขยายวงเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จากเดิมกรณีเสียชีวิตและทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงินสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท เป็น 400,000 บาท กรณีพิการจ่ายเงินสูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท เป็น 240,000 บาท และกรณีบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่องจ่ายเงินสูงสุด 50,000 บาท เป็น 100,000 บาท ส่วนกรณีที่ว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการ ในการบังคับใช้ มาตรา 42 นั้น ให้ยึดหลักการ การช่วยเหลือฯที่ไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิดเหมือนเดิม และกรณีการพัฒนาระบบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการจังหวัดนั้นให้ สปสช.ประสานกับคณะกรรมการควบคุมฯ พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอของ สตง.โดยศึกษาทำความเข้าใจข้อบังคับฯ และให้มีผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษา ร่วมในการพิจารณา รวมทั้งมีระบบการตรวจสอบ ติดตาม กำกับดูแลการพิจารณา
“คณะกรรมการเห็นว่า ในเรื่องการเพิ่มเพดานการจ่ายชดเชย ตามมาตรา 41 ผู้ที่ได้ประโยชน์คือประชาชน และหากไม่มีการปรับปรุงจะมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการด้วย ซึ่งการขยายวงเงินขอยืนยันว่าจะดำเนินการต่อไปเพราะไม่เกินร้อยละ 1 ของเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ส่วนการขยาย ม.41 เป็นเรื่องของกฎหมายที่สามารถทำได้ โดยในปีงบประมาณ 2555 มีคำร้องที่เข้าเกณฑ์ 834 เรื่อง เป็นเงิน 98 ล้านบาท ส่วนการเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนั้น เป็นเรื่องขั้นตอนทางกฎหมายที่จะทำต่อไป” นายวิทยา กล่าว