“เคที” เปิดโต๊ะเคลียร์จ้างบีทีเอสซีเดินรถไฟฟ้าไม่ขัดประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ยันไม่ยุ่งเกี่ยวสัญญาสัมปทานเดิม ชี้หวังดิสเครดิตเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
วันนี้ (3 ม.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) กล่าวว่า ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีหนังสือเชิญผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) ไปรับทราบข้อกล่าวหากรณีจัดทำสัญญาว่าจ้างการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นเวลา 30 ปี ว่า กทม.บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ว่า ร่วมกันประกอบกิจการรถรางโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 นั้น ขอชี้แจงว่า บริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกกรณี โดยตระหนักและคำนึงถึงความขัดแย้งทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล และ กทม.ซึ่งโครงการนี้ได้ผ่านการตรวจสอบจากที่ปรึกษากฎหมายทั้งของบริษัท และ กทม.ถึงอำนาจหน้าที่ กทม.ที่ได้ระบุตามกฎหมาย นอกจากนั้น ยังได้ผ่านการพิจารณาคัดกรองจากสภา กทม.ที่ประกอบด้วย สมาชิกจากทั้งสองพรรคการเมือง ดังนั้น โครงการนี้จึงผ่านการคิดพิจารณา ทั้งจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกว่า 200 ท่าน ใช้เวลาพิจารณากว่า 3 ปี อย่างถี่ถ้วนในทุกประเด็น ทุกความเสี่ยงในการดำเนินการ
นายอมร กล่าวต่อว่า ประเด็นการปฏิบัติตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 (ปว.58) นั้น เป็นปฐมบทแห่งการเริ่มวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการด้านกฎหมาย ซึ่งทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า โครงการนี้ไม่ขัดต่อ ปว.58 โดยสาระสำคัญคือ การให้ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเปรียบได้ว่าเป็นที่ปรึกษากฎหมายของประเทศ ตามเรื่องเสร็จที่ 252/2525 ที่ให้ความเห็นว่า ปว.58 มุ่งบังคับกับเอกชนไม่ใช่รัฐ โดยได้พิจารณาจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสองแห่ง คือ การไฟฟ้านครหลวง และการประปานครหลวง ว่า การดำเนินการของทั้งสองหน่วยงานไม่ต้องปฏิบัติตาม ปว.58 เนื่องจากทั้งสองหน่วยงานมีกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติที่ให้อำนาจในการดำเนินกิจการของตนไว้แล้ว เช่นเดียวกับกทม.มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 89(8) ให้ดำเนินกิจการขนส่งได้ นอกจากนั้น ใน ปว.58 ข้อ 6 ได้ระบุไว้ด้วยว่า กรณีที่มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการดังกล่าว ก็ให้ปฏิบัติไปตามกฎหมายว่าด้วยกิจการนั้น โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ กทม.ดำเนินการจึงสอดคล้องกับ ปว.58 ที่ กทม.มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการด้านการขนส่งในเขตพื้นที่ตนเอง
นายอมร กล่าวอีกว่า ในประเด็นที่สองการเข้าไปเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานของกระทรวงมหาดไทยนั้น ขอชี้แจงว่า สัญญาที่เกิดขึ้นทั้งจาก กทม.และจากบีทีเอสซี ไม่ได้ปลี่ยนแปลงสาระใดๆ ในสัมปทานเดิมที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำไว้กับกระทรวงมหาดไทย นอกเหนือจากนั้น การทำสัญญาจ้างบีทีเอสซียังเป็นประโยชน์ ต่อประชาชนผู้เดินทาง เช่น การเพิ่มเติมประตูกั้นผู้โดยสารเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง การเพิ่มขบวนรถทำให้ผู้โดยสารได้ใช้รถไฟที่ใหม่เพิ่มขึ้น ส่วนการจ้างบีทีเอสซีเดินรถต่อไปอีก 13 ปี เมื่อหมดสิทธิตามสัญญาสัมปทานนั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสัญญาสัมปทานที่ให้ทรัพย์สินทั้งหมดในสัญญาสัมปทานตกเป็นของ กทม.ไม่ได้ตกเป็นของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้การใช้ทรัพย์สินเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน จึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กัน
“ขอย้ำว่า การที่บีทีเอสซีนำรถมาวิ่งรับผู้โดยสารในส่วนต่อขยาย หรือการที่บีทีเอสซีมาเดินรถหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เป็นเพียงผู้รับจ้างเดินรถและได้รับเพียงค่าจ้างเท่านั้น จึงแตกต่างอย่างสิ้นเชิงถ้าเทียบกับการเป็นผู้รับสัมปทาน การที่นักการเมืองไปร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐเพื่อตรวจสอบนั้นถือเป็นเรื่องปกติทางการเมือง หากสังเกตจะพบสิ่งชี้นำ ที่ต้องการนำเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์ทางการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้เกิดความระแวงสงสัยในการดำเนินงานของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ โดยลงเนื้อหาข่าววันเดียวกับที่พรรคประชาธิปัตย์มีมติเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นตัวแทนพรรคในการลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.และที่สำคัญ ขอย้ำว่า การดำเนินโครงการต่างๆของ กทม.คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและราชการเป็นที่ตั้ง สร้างทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชน ให้ได้รับความสะดวกปลอดภัย ในส่วนของราชการประหยัดงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เพื่อหวังให้เกิดผลต่อการลดปัญหาจราจรในเมือง เช่น เมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกที่ทำสำเร็จมาแล้ว” นายอมร กล่าว
วันนี้ (3 ม.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) กล่าวว่า ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีหนังสือเชิญผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) ไปรับทราบข้อกล่าวหากรณีจัดทำสัญญาว่าจ้างการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นเวลา 30 ปี ว่า กทม.บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ว่า ร่วมกันประกอบกิจการรถรางโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 นั้น ขอชี้แจงว่า บริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายทุกกรณี โดยตระหนักและคำนึงถึงความขัดแย้งทางการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล และ กทม.ซึ่งโครงการนี้ได้ผ่านการตรวจสอบจากที่ปรึกษากฎหมายทั้งของบริษัท และ กทม.ถึงอำนาจหน้าที่ กทม.ที่ได้ระบุตามกฎหมาย นอกจากนั้น ยังได้ผ่านการพิจารณาคัดกรองจากสภา กทม.ที่ประกอบด้วย สมาชิกจากทั้งสองพรรคการเมือง ดังนั้น โครงการนี้จึงผ่านการคิดพิจารณา ทั้งจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกว่า 200 ท่าน ใช้เวลาพิจารณากว่า 3 ปี อย่างถี่ถ้วนในทุกประเด็น ทุกความเสี่ยงในการดำเนินการ
นายอมร กล่าวต่อว่า ประเด็นการปฏิบัติตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 (ปว.58) นั้น เป็นปฐมบทแห่งการเริ่มวิเคราะห์ความเสี่ยงโครงการด้านกฎหมาย ซึ่งทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า โครงการนี้ไม่ขัดต่อ ปว.58 โดยสาระสำคัญคือ การให้ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเปรียบได้ว่าเป็นที่ปรึกษากฎหมายของประเทศ ตามเรื่องเสร็จที่ 252/2525 ที่ให้ความเห็นว่า ปว.58 มุ่งบังคับกับเอกชนไม่ใช่รัฐ โดยได้พิจารณาจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสองแห่ง คือ การไฟฟ้านครหลวง และการประปานครหลวง ว่า การดำเนินการของทั้งสองหน่วยงานไม่ต้องปฏิบัติตาม ปว.58 เนื่องจากทั้งสองหน่วยงานมีกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติที่ให้อำนาจในการดำเนินกิจการของตนไว้แล้ว เช่นเดียวกับกทม.มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 89(8) ให้ดำเนินกิจการขนส่งได้ นอกจากนั้น ใน ปว.58 ข้อ 6 ได้ระบุไว้ด้วยว่า กรณีที่มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการดังกล่าว ก็ให้ปฏิบัติไปตามกฎหมายว่าด้วยกิจการนั้น โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ กทม.ดำเนินการจึงสอดคล้องกับ ปว.58 ที่ กทม.มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการด้านการขนส่งในเขตพื้นที่ตนเอง
นายอมร กล่าวอีกว่า ในประเด็นที่สองการเข้าไปเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานของกระทรวงมหาดไทยนั้น ขอชี้แจงว่า สัญญาที่เกิดขึ้นทั้งจาก กทม.และจากบีทีเอสซี ไม่ได้ปลี่ยนแปลงสาระใดๆ ในสัมปทานเดิมที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ทำไว้กับกระทรวงมหาดไทย นอกเหนือจากนั้น การทำสัญญาจ้างบีทีเอสซียังเป็นประโยชน์ ต่อประชาชนผู้เดินทาง เช่น การเพิ่มเติมประตูกั้นผู้โดยสารเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง การเพิ่มขบวนรถทำให้ผู้โดยสารได้ใช้รถไฟที่ใหม่เพิ่มขึ้น ส่วนการจ้างบีทีเอสซีเดินรถต่อไปอีก 13 ปี เมื่อหมดสิทธิตามสัญญาสัมปทานนั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสัญญาสัมปทานที่ให้ทรัพย์สินทั้งหมดในสัญญาสัมปทานตกเป็นของ กทม.ไม่ได้ตกเป็นของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้การใช้ทรัพย์สินเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน จึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กัน
“ขอย้ำว่า การที่บีทีเอสซีนำรถมาวิ่งรับผู้โดยสารในส่วนต่อขยาย หรือการที่บีทีเอสซีมาเดินรถหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน เป็นเพียงผู้รับจ้างเดินรถและได้รับเพียงค่าจ้างเท่านั้น จึงแตกต่างอย่างสิ้นเชิงถ้าเทียบกับการเป็นผู้รับสัมปทาน การที่นักการเมืองไปร้องเรียนต่อหน่วยงานของรัฐเพื่อตรวจสอบนั้นถือเป็นเรื่องปกติทางการเมือง หากสังเกตจะพบสิ่งชี้นำ ที่ต้องการนำเรื่องนี้ไปใช้ประโยชน์ทางการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่กำลังจะมาถึง เพื่อให้เกิดความระแวงสงสัยในการดำเนินงานของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ โดยลงเนื้อหาข่าววันเดียวกับที่พรรคประชาธิปัตย์มีมติเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นตัวแทนพรรคในการลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.และที่สำคัญ ขอย้ำว่า การดำเนินโครงการต่างๆของ กทม.คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและราชการเป็นที่ตั้ง สร้างทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชน ให้ได้รับความสะดวกปลอดภัย ในส่วนของราชการประหยัดงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ เพื่อหวังให้เกิดผลต่อการลดปัญหาจราจรในเมือง เช่น เมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกที่ทำสำเร็จมาแล้ว” นายอมร กล่าว