ASTV ผู้จัดการรายวัน - กก.บห.ปชป.เผลอหลุดชื่อ “กรณ์-องอาจ” เหมาะสมลงชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.ในนามพรรคประชาธิปัตย์ เชื่อพูดคุยทำความเข้าใจ “คุณชายสุขุมพันธุ์” ได้หากกินแห้วไม่ได้ลงเป็นตัวแทน “ชวนนท์”รู้ทันแผนเพื่อไทย ดอดหนุน “พงศพัศ” ลงอิสระ หวังตีกินเสียงคนที่ยังไม่ตัดสินใจ
วานนี้ (25 ธ.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในคณะกรรมการบริหารพรรค แถลงถึงความคืบหน้าในการสรรหาผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ของพรรคประชาธิปัตย์ ว่าคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครที่มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นประธาน กำลังสรุปผลการคัดเลือกเพื่อเสนอมายังคณะกรรมการบริหารพรรค หากผลการคัดเลือกสมบูรณ์คณะกรรมการบริหารพรรคก็จะสามารถพิจารณาได้ทันก่อนสิ้นปี หรืออาจเลยไปถึงปี 2556 แต่ขณะนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่ได้นัดประชุมกรรมการบริหารพรรคเพื่อพิจารณาแต่อย่างใด ส่วนที่มองว่าอาจมีม้ามืดถูกเสนอชื่อขึ้นมาใหม่ในที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคนอกเหนือจาก 4 รายชื่อที่เสนอมานั้น
ตามหลักการคณะกรรมการบริหารพรรคสามารถที่จะเสนอชื่อบุคคลอื่นขึ้นมาได้ หากเห็นว่ามีความเหมาะสม และการที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. หนึ่งในแคนดิเดตผู้สมัคร ระบุพร้อมรับผลการตัดสิน แต่ควรมีการทำความเข้าใจกันด้วยนั้น ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่แน่นอนอยู่แล้ว ที่เมื่อผลการคัดเลือกออกมาเป็นอย่างไร ก็จะต้องมีการพูดคุยกับทุกคนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
นายชวนนท์กล่าวอีกว่า สำหรับตนเห็นว่าทุกคนมีความเหมาะสม ทั้งนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยเป็น ส.ส.กทม. และเคยเป็นอดีต รมว.คลังมาแล้ว ส่วนนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็เป็นถึงประธาน ส.ส.ภาค กทม. ขณะที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ก็เป็นผู้ว่าฯ กทม.คนปัจจุบัน ส่วนนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ก็เป็นคนมีความรู้ความสามารถ
เมื่อถามว่า มีข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์กังวลว่าพรรคเพื่อไทยอาจเล่นเกมไม่ส่งคนลงสมัครในนามพรรค แต่หันไปสนับสนุนผู้สมัครอิสระ ซึ่งจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์เสียคะแนนในกลุ่มคนที่ยังไม่ตัดสินใจ และกลุ่มที่ไม่ชอบคนเสื้อแดง ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ต้องหันมาสนับสนุนนายกรณ์ เป็นผู้สมัครของพรรค นายชวนนท์กล่าวว่า คงไม่ใช่เหตุผลนั้น แต่การที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร. และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ประกาศอาจจะลงสมัครในนามอิสระ พยายามสร้างแบรนด์ของตัวเองว่าไม่ใช่คนของพรรคการเมือง โดยคิดว่าจะได้เสียงจากกลุ่มคนที่ยังไม่ตัดสินใจ แต่มั่นใจว่าไม่กระทบกับฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์แน่นอน และปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับ พล.ต.อ.พงศพัศ ไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ และยังมีการขึ้นป้ายโฆษณาหาเสียงโดยใช้งบประมาณของรัฐ เชื่อว่าคนกรุงเทพมหานครดูออกว่า พล.ต.อ.พงศพัศเป็นคนของพรรคเพื่อไทยหรือไม่
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารพรรค มีสิทธิที่จะเสนอรายชื่อบุคคลอื่นที่เห็นว่าเหมาะสมให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. นอกเหนือจาก 4รายชื่อที่คณะกรรมการคัดเลือกชุดนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นประธาน เสนอมา และผลการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารพรรคจะถือว่าเป็นที่สิ้นสุด ส่วนการที่มีข่าวว่านายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีความเหมาะสมนั้นมีความเป็นไปได้ทุกคน
เมื่อถามว่า การตัดสินใจที่เกิดขึ้นจะทำให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ น้อยใจหรือไม่ นายเฉลิมชัยกล่าวว่า คงไม่ เพราะในวันที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นผู้ว่าฯ กทม.ก็มาตามกระบวนการนี้ เชื่อว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์มีสปิริตพอ และตอนนี้ก็ยังไม่ได้ตัดสินว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะไม่ได้ลงสมัคร ก็ต้องรอประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคก่อน และเชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคคงจะไม่มี เพราะทุกคนเคารพมติพรรค และเราจะทำอย่างเต็มที่เพื่อรักษาฐานเสียงใน กทม. โดยจะคัดเลือกคนที่มีความพร้อมที่สุด และเป็นที่รู้จักของคน กทม. และหากประกาศชื่อมารับรองจะไม่ทำให้ผิดหวัง อย่างไรก็ตามจากข่าวที่มีการระบุว่าจะมีการเสนอชื่อบุคคลอื่นเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคนั้น สำหรับตนในฐานะเลขาธิการพรรคคงจะไม่เสนอ เพราะตนมีหน้าที่เป็นเลขาในที่ประชุม คงได้แต่รับทราบการประชุม ส่วนกรณีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ เหมือนเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ไม่เคยคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคู่แข่ง แต่เป็นคนบงการ เพราะเขาไม่ได้อยู่ประเทศไทย แน่นอนว่า วันนี้การเมืองเริ่มเข้าสู่การแข่งขันของสองพรรคการเมืองใหญ่ หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการเป็นคู่แข่งก็ต้องกลับเข้ามาในประเทศไทย และลงสมัครรับเลือกตั้ง
อีกด้าน นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมจัดเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 ว่า ขณะนี้ทาง กกต.ได้เตรียมการด้านบริหารการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไปแล้วร้อยละ 80 ทั้งการจัดสถานที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 6,506 หน่วยเลือกตั้ง โดยเน้นให้จัดหน่วยเลือกตั้งภายในอาคาร เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของผู้ไปใช้สิทธิ รวมถึงการจัดหากรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว
หลังจากมีการจัดประกาศการเลือกตั้งแล้ว กกต.จะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึงเจ้าบ้านโดยตรง รวมทั้งประสานไปยังการประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ให้ช่วยรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ
นายภุชงค์กล่าวถึงจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่า หลังจากวันที่ 31 ธันวาคมนี้น่าจะมีความชัดเจน โดยคาดการณ์ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้จะมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
วานนี้ (25 ธ.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในคณะกรรมการบริหารพรรค แถลงถึงความคืบหน้าในการสรรหาผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ของพรรคประชาธิปัตย์ ว่าคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครที่มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นประธาน กำลังสรุปผลการคัดเลือกเพื่อเสนอมายังคณะกรรมการบริหารพรรค หากผลการคัดเลือกสมบูรณ์คณะกรรมการบริหารพรรคก็จะสามารถพิจารณาได้ทันก่อนสิ้นปี หรืออาจเลยไปถึงปี 2556 แต่ขณะนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังไม่ได้นัดประชุมกรรมการบริหารพรรคเพื่อพิจารณาแต่อย่างใด ส่วนที่มองว่าอาจมีม้ามืดถูกเสนอชื่อขึ้นมาใหม่ในที่ประชุมกรรมการบริหารพรรคนอกเหนือจาก 4 รายชื่อที่เสนอมานั้น
ตามหลักการคณะกรรมการบริหารพรรคสามารถที่จะเสนอชื่อบุคคลอื่นขึ้นมาได้ หากเห็นว่ามีความเหมาะสม และการที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. หนึ่งในแคนดิเดตผู้สมัคร ระบุพร้อมรับผลการตัดสิน แต่ควรมีการทำความเข้าใจกันด้วยนั้น ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่แน่นอนอยู่แล้ว ที่เมื่อผลการคัดเลือกออกมาเป็นอย่างไร ก็จะต้องมีการพูดคุยกับทุกคนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
นายชวนนท์กล่าวอีกว่า สำหรับตนเห็นว่าทุกคนมีความเหมาะสม ทั้งนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่เคยเป็น ส.ส.กทม. และเคยเป็นอดีต รมว.คลังมาแล้ว ส่วนนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็เป็นถึงประธาน ส.ส.ภาค กทม. ขณะที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ก็เป็นผู้ว่าฯ กทม.คนปัจจุบัน ส่วนนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ก็เป็นคนมีความรู้ความสามารถ
เมื่อถามว่า มีข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์กังวลว่าพรรคเพื่อไทยอาจเล่นเกมไม่ส่งคนลงสมัครในนามพรรค แต่หันไปสนับสนุนผู้สมัครอิสระ ซึ่งจะทำให้พรรคประชาธิปัตย์เสียคะแนนในกลุ่มคนที่ยังไม่ตัดสินใจ และกลุ่มที่ไม่ชอบคนเสื้อแดง ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ต้องหันมาสนับสนุนนายกรณ์ เป็นผู้สมัครของพรรค นายชวนนท์กล่าวว่า คงไม่ใช่เหตุผลนั้น แต่การที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร. และเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ประกาศอาจจะลงสมัครในนามอิสระ พยายามสร้างแบรนด์ของตัวเองว่าไม่ใช่คนของพรรคการเมือง โดยคิดว่าจะได้เสียงจากกลุ่มคนที่ยังไม่ตัดสินใจ แต่มั่นใจว่าไม่กระทบกับฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์แน่นอน และปฏิเสธไม่ได้ว่า ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับ พล.ต.อ.พงศพัศ ไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ และยังมีการขึ้นป้ายโฆษณาหาเสียงโดยใช้งบประมาณของรัฐ เชื่อว่าคนกรุงเทพมหานครดูออกว่า พล.ต.อ.พงศพัศเป็นคนของพรรคเพื่อไทยหรือไม่
ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า คณะกรรมการบริหารพรรค มีสิทธิที่จะเสนอรายชื่อบุคคลอื่นที่เห็นว่าเหมาะสมให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. นอกเหนือจาก 4รายชื่อที่คณะกรรมการคัดเลือกชุดนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นประธาน เสนอมา และผลการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารพรรคจะถือว่าเป็นที่สิ้นสุด ส่วนการที่มีข่าวว่านายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีความเหมาะสมนั้นมีความเป็นไปได้ทุกคน
เมื่อถามว่า การตัดสินใจที่เกิดขึ้นจะทำให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ น้อยใจหรือไม่ นายเฉลิมชัยกล่าวว่า คงไม่ เพราะในวันที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เป็นผู้ว่าฯ กทม.ก็มาตามกระบวนการนี้ เชื่อว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์มีสปิริตพอ และตอนนี้ก็ยังไม่ได้ตัดสินว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะไม่ได้ลงสมัคร ก็ต้องรอประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคก่อน และเชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งภายในพรรคคงจะไม่มี เพราะทุกคนเคารพมติพรรค และเราจะทำอย่างเต็มที่เพื่อรักษาฐานเสียงใน กทม. โดยจะคัดเลือกคนที่มีความพร้อมที่สุด และเป็นที่รู้จักของคน กทม. และหากประกาศชื่อมารับรองจะไม่ทำให้ผิดหวัง อย่างไรก็ตามจากข่าวที่มีการระบุว่าจะมีการเสนอชื่อบุคคลอื่นเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคนั้น สำหรับตนในฐานะเลขาธิการพรรคคงจะไม่เสนอ เพราะตนมีหน้าที่เป็นเลขาในที่ประชุม คงได้แต่รับทราบการประชุม ส่วนกรณีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ เหมือนเป็นการต่อสู้ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายเฉลิมชัย กล่าวว่า ไม่เคยคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นคู่แข่ง แต่เป็นคนบงการ เพราะเขาไม่ได้อยู่ประเทศไทย แน่นอนว่า วันนี้การเมืองเริ่มเข้าสู่การแข่งขันของสองพรรคการเมืองใหญ่ หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการเป็นคู่แข่งก็ต้องกลับเข้ามาในประเทศไทย และลงสมัครรับเลือกตั้ง
อีกด้าน นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมจัดเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 ว่า ขณะนี้ทาง กกต.ได้เตรียมการด้านบริหารการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไปแล้วร้อยละ 80 ทั้งการจัดสถานที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวน 6,506 หน่วยเลือกตั้ง โดยเน้นให้จัดหน่วยเลือกตั้งภายในอาคาร เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของผู้ไปใช้สิทธิ รวมถึงการจัดหากรรมการเลือกตั้งท้องถิ่นเรียบร้อยแล้ว
หลังจากมีการจัดประกาศการเลือกตั้งแล้ว กกต.จะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้งถึงเจ้าบ้านโดยตรง รวมทั้งประสานไปยังการประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ให้ช่วยรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ
นายภุชงค์กล่าวถึงจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่า หลังจากวันที่ 31 ธันวาคมนี้น่าจะมีความชัดเจน โดยคาดการณ์ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้จะมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา