สธ.เตือนผู้ขับขี่รถยนต์เลี่ยง 7 พฤติกรรมเสี่ยงก่ออุบัติเหตุ แนะขับรถนานจนรู้สึกเมื่อย เครียด ให้หยุดพักรถบ่อยๆ ยืดเส้นยืดสายด้วยท่าฤๅษีดัดตน
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การเดินทางช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ขอให้ผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นผู้รักษาชีวิตของผู้โดยสารให้เดินทางถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ พฤติกรรมเสี่ยงอันตรายที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจรที่ผู้ขับไม่ควรปฏิบัติมี 7 ประการ ได้แก่ 1.ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด 2.ไม่กินยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาแก้แพ้ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ยาคลายเครียด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ไข้หวัด เป็นต้น 3.การนั่งชิดพวงมาลัยมากเกินไป เพราะเกรงว่าจะกะระยะไม่ถูกต้อง การนั่งในลักษณะดังกล่าวจะทำให้ข้อศอกงอกว่าปกติ ทำให้การหมุนพวงมาลัยทำได้ไม่คล่อง หากเกิดอุบัติเหตุจะทำให้ถุงลมนิรภัย ที่ติดอยู่กับพวงมาลัยพองตัวออกมาปะทะกับใบหน้าของผู้ขับทันที ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า 4.การปรับเบาะให้เอนมากเกินไป จะทำให้ผู้ขับต้องชะโงกตัวโหนพวงมาลัย ทำให้การควบคุมพวงมาลัยไม่คล่องตัว ขาดความฉับไวและความแม่นยำ เมื่อมองกระจกมองหลังและมองข้างก็จะต้องเบนแนวสายตามากกว่าปกติ ทำให้เกิดการเมื่อยล้าได้ 5.การจับพวงมาลัย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจับตามความสบายของตนเอง ควรจับพวงมาลัยให้ถูกต้องคือ มือซ้ายจับที่ตำแหน่ง 9-10 นาฬิกา มือขวาที่ตำแหน่ง 2-3 นาฬิกา และจับทั้ง 2 มือเสมอ 6.การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น คนขับจะพุ่งเข้าหาพวงมาลัย หรือกระจกหน้ารถยนต์ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การคาดเข็มขัดนิรภัยจะทำให้ผู้ขับไม่ถูกเหวี่ยงออกจากเบาะรถ และ 7.การฟังเพลงดังๆในรถ หรือใส่หูฟัง จะทำให้ไม่ได้ยินเสียงผิดปกติ หรือเสียงจากภายนอกรถ นายแพทย์ชลน่านกล่าว
นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การขับรถระยะเวลานานๆ อาจเกิดอาการเมื่อยล้า ง่วงนอน และเกิดความเครียดได้ ขอแนะนำผู้ขับ ควรหยุดพักบ่อยๆ และลงจากรถ เพื่อยืดเส้นยืดสาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยใช้ท่าฤาษีดัดตนที่เรียกว่าท่าแก้เกียจ โดยหยุดพักรถแล้ว เลื่อนเบาะให้ห่างพวงมาลัย และปฏิบัติดังนี้ ให้ทำตัวผ่อนคลาย สูดหายใจเข้า ท่าที่ 1 ประสานมือ ท่ายกมือไหว้แต่หักนิ้วมือลงมาประสานกัน ไว้ระดับอก หน้ามองตรง 2.เหยียดแขนพร้อมดัดฝ่ามือไปทางซ้ายให้สุดแขน ลำตัวตรง หน้าตรง แขนตรึง กลั้นลมหายใจ จากนั้นผ่อนลมหายใจออก งอแขนกลับมาไว้ระดับอก และ 3.เหยียดแขนพร้อมดัดฝ่ามือไปทางขวาให้สุดแขน ลำตัวตรง หน้าตรง แขนตรึง กลั้นลมหายใจ จากนั้นผ่อนลมหายใจออก งอแขนกลับมาไว้ระดับอก ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง
"การทำท่าดังกล่าวจะช่วยผ่อนคลายอาการปวดเมื่อย คลายเครียดได้ นอกจากนี้ ควรพกยาหอม ยาหม่อง เพื่อแก้วิงเวียนศีรษะ ถ้าหิวน้ำแนะนำให้ดื่มน้ำสมุนไพร อาทิ น้ำกระเจี๊ยบที่ให้วิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา น้ำอัญชันมะนาวช่วยบำรุงสายตาทำให้ตาสว่าง และน้ำใบเตยลดการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงหัวใจ” นพ.สมชัย กล่าว
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การเดินทางช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ขอให้ผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นผู้รักษาชีวิตของผู้โดยสารให้เดินทางถึงจุดหมายปลายทางอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ พฤติกรรมเสี่ยงอันตรายที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจราจรที่ผู้ขับไม่ควรปฏิบัติมี 7 ประการ ได้แก่ 1.ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด 2.ไม่กินยาที่ทำให้เกิดอาการง่วง เช่น ยาแก้แพ้ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ยาคลายเครียด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ไข้หวัด เป็นต้น 3.การนั่งชิดพวงมาลัยมากเกินไป เพราะเกรงว่าจะกะระยะไม่ถูกต้อง การนั่งในลักษณะดังกล่าวจะทำให้ข้อศอกงอกว่าปกติ ทำให้การหมุนพวงมาลัยทำได้ไม่คล่อง หากเกิดอุบัติเหตุจะทำให้ถุงลมนิรภัย ที่ติดอยู่กับพวงมาลัยพองตัวออกมาปะทะกับใบหน้าของผู้ขับทันที ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า 4.การปรับเบาะให้เอนมากเกินไป จะทำให้ผู้ขับต้องชะโงกตัวโหนพวงมาลัย ทำให้การควบคุมพวงมาลัยไม่คล่องตัว ขาดความฉับไวและความแม่นยำ เมื่อมองกระจกมองหลังและมองข้างก็จะต้องเบนแนวสายตามากกว่าปกติ ทำให้เกิดการเมื่อยล้าได้ 5.การจับพวงมาลัย ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจับตามความสบายของตนเอง ควรจับพวงมาลัยให้ถูกต้องคือ มือซ้ายจับที่ตำแหน่ง 9-10 นาฬิกา มือขวาที่ตำแหน่ง 2-3 นาฬิกา และจับทั้ง 2 มือเสมอ 6.การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น คนขับจะพุ่งเข้าหาพวงมาลัย หรือกระจกหน้ารถยนต์ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ การคาดเข็มขัดนิรภัยจะทำให้ผู้ขับไม่ถูกเหวี่ยงออกจากเบาะรถ และ 7.การฟังเพลงดังๆในรถ หรือใส่หูฟัง จะทำให้ไม่ได้ยินเสียงผิดปกติ หรือเสียงจากภายนอกรถ นายแพทย์ชลน่านกล่าว
นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การขับรถระยะเวลานานๆ อาจเกิดอาการเมื่อยล้า ง่วงนอน และเกิดความเครียดได้ ขอแนะนำผู้ขับ ควรหยุดพักบ่อยๆ และลงจากรถ เพื่อยืดเส้นยืดสาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยใช้ท่าฤาษีดัดตนที่เรียกว่าท่าแก้เกียจ โดยหยุดพักรถแล้ว เลื่อนเบาะให้ห่างพวงมาลัย และปฏิบัติดังนี้ ให้ทำตัวผ่อนคลาย สูดหายใจเข้า ท่าที่ 1 ประสานมือ ท่ายกมือไหว้แต่หักนิ้วมือลงมาประสานกัน ไว้ระดับอก หน้ามองตรง 2.เหยียดแขนพร้อมดัดฝ่ามือไปทางซ้ายให้สุดแขน ลำตัวตรง หน้าตรง แขนตรึง กลั้นลมหายใจ จากนั้นผ่อนลมหายใจออก งอแขนกลับมาไว้ระดับอก และ 3.เหยียดแขนพร้อมดัดฝ่ามือไปทางขวาให้สุดแขน ลำตัวตรง หน้าตรง แขนตรึง กลั้นลมหายใจ จากนั้นผ่อนลมหายใจออก งอแขนกลับมาไว้ระดับอก ทำซ้ำ 5-10 ครั้ง
"การทำท่าดังกล่าวจะช่วยผ่อนคลายอาการปวดเมื่อย คลายเครียดได้ นอกจากนี้ ควรพกยาหอม ยาหม่อง เพื่อแก้วิงเวียนศีรษะ ถ้าหิวน้ำแนะนำให้ดื่มน้ำสมุนไพร อาทิ น้ำกระเจี๊ยบที่ให้วิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา น้ำอัญชันมะนาวช่วยบำรุงสายตาทำให้ตาสว่าง และน้ำใบเตยลดการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่น บำรุงหัวใจ” นพ.สมชัย กล่าว