ประชุม คกก.ศึกษาผลกระทบแร่ใยหิน สธ. นัดแรกไม่เป็นผล เหตุข้อมูลไม่ชัด ขาดตัวอย่างชี้ชัด มอบไปเก็บข้อมูลเสนอเข้า คกก.ม.ค.ปีหน้า
วันนี้ (26 ธ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1 ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ สธ.ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ โดยจะเน้นในเรื่องของสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเป็นหลัก ส่วนจะมีผลต่อนโยบายการควบคุมการใช้แร่ใยหินอย่างไร ยังไม่ได้อยู่ในการพิจารณา อย่างไรก็ตาม จากการประชุมได้มีการเสนอข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งมีทั้งของในประเทศ และต่างประเทศ โดยเห็นว่า ยังมีช่องโหว่ของข้อมูล จึงได้มอบหมายให้ไปรวบรวมข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรอบด้าน รวมทั้งเคสตัวอย่างของผู้ป่วยที่ได้รับผลจากแร่ใยหินว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของการประชุมครั้งหน้าในเดือนมกราคม 2556
“ข้อมูลที่ยังเป็นช่องโหว่นั้น จะเห็นได้จากเคสตัวอย่างที่นักวิชาการ ระบุว่า ป่วยจากแร่ใยหิน ซึ่งผลการตรวจเอกซเรย์ปอด พบว่า เยื่อหุ้มปอดหนาขึ้นกว่าปกติ ตรงนี้ทำให้เกิดคำถามว่า หนากว่าคนปกติอย่างไร และปริมาณเท่าใดถึงเรียกว่าหนากว่า จึงให้ไปรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจนกว่านี้” นพ.ชาญวิทย์ กล่าว
ด้าน พญ.พิชญา พรรคทองสุข อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหนึ่งในผู้แทนนักวิชาการที่เข้าร่วมประชุม กล่าวว่า ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ กว่า 60 ประเทศ ที่ยกเลิกการใช้หรือห้ามนำเข้าแร่ใยหิน เนื่องจากเห็นถึงพิษภัย เพราะแน่ชัดว่าแร่ใยหินเป็นสารก่อมะเร็ง จึงไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดเคสผู้ป่วยก่อน เหมือนทราบว่า กัมมันตรังสีมีอันตราย ไม่ควรอยู่ใกล้หรือสัมผัสโดยตรง เมื่อทราบก็จะหลีกไกลกันหมด เพราะกลัวว่าจะได้รับ และป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งไม่แตกต่างกับแร่ใยหิน ที่ทราบว่า มีอันตรายก่อให้เกิดมะเร็งปอด และมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ต้องรอให้ป่วยก่อนหรืออย่างไร ทั้งนี้ มติ ครม.ตั้งแต่ปี 2554 ระบุชัดให้ยกเลิก กระทรวงอุตสาหกรรมต้องดำเนินการ แต่กลับกลายเป็นให้กระทรวงสาธารณสุขมาตั้งคณะทำงานดูเรื่องนี้ ซึ่งเหมือนนับหนึ่ง
อนึ่ง มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2554 กำหนดให้ยกเลิกนำเข้าและผลิตแร่ใยหินในปี 2555 และกำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรมศึกษาแผนการยกเลิกตามเป้าหมายดังกล่าว แต่ปรากฏว่า จนบัดนี้ไม่มีการดำเนินการใดๆ แม้เครือข่ายภาคประชาชนและนักวิชาการต่างๆ ทั้ง สมาพันธ์อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และเครือข่ายสังคมไทยไร้แร่ใยหิน (T-BAN) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะพยายามผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ ครม.ก็ตาม
วันนี้ (26 ธ.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากแร่ใยหิน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1 ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ สธ.ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ โดยจะเน้นในเรื่องของสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเป็นหลัก ส่วนจะมีผลต่อนโยบายการควบคุมการใช้แร่ใยหินอย่างไร ยังไม่ได้อยู่ในการพิจารณา อย่างไรก็ตาม จากการประชุมได้มีการเสนอข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งมีทั้งของในประเทศ และต่างประเทศ โดยเห็นว่า ยังมีช่องโหว่ของข้อมูล จึงได้มอบหมายให้ไปรวบรวมข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรอบด้าน รวมทั้งเคสตัวอย่างของผู้ป่วยที่ได้รับผลจากแร่ใยหินว่ามีจำนวนเท่าใด เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของการประชุมครั้งหน้าในเดือนมกราคม 2556
“ข้อมูลที่ยังเป็นช่องโหว่นั้น จะเห็นได้จากเคสตัวอย่างที่นักวิชาการ ระบุว่า ป่วยจากแร่ใยหิน ซึ่งผลการตรวจเอกซเรย์ปอด พบว่า เยื่อหุ้มปอดหนาขึ้นกว่าปกติ ตรงนี้ทำให้เกิดคำถามว่า หนากว่าคนปกติอย่างไร และปริมาณเท่าใดถึงเรียกว่าหนากว่า จึงให้ไปรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจนกว่านี้” นพ.ชาญวิทย์ กล่าว
ด้าน พญ.พิชญา พรรคทองสุข อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหนึ่งในผู้แทนนักวิชาการที่เข้าร่วมประชุม กล่าวว่า ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ กว่า 60 ประเทศ ที่ยกเลิกการใช้หรือห้ามนำเข้าแร่ใยหิน เนื่องจากเห็นถึงพิษภัย เพราะแน่ชัดว่าแร่ใยหินเป็นสารก่อมะเร็ง จึงไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดเคสผู้ป่วยก่อน เหมือนทราบว่า กัมมันตรังสีมีอันตราย ไม่ควรอยู่ใกล้หรือสัมผัสโดยตรง เมื่อทราบก็จะหลีกไกลกันหมด เพราะกลัวว่าจะได้รับ และป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งไม่แตกต่างกับแร่ใยหิน ที่ทราบว่า มีอันตรายก่อให้เกิดมะเร็งปอด และมะเร็งเยื่อหุ้มปอด ต้องรอให้ป่วยก่อนหรืออย่างไร ทั้งนี้ มติ ครม.ตั้งแต่ปี 2554 ระบุชัดให้ยกเลิก กระทรวงอุตสาหกรรมต้องดำเนินการ แต่กลับกลายเป็นให้กระทรวงสาธารณสุขมาตั้งคณะทำงานดูเรื่องนี้ ซึ่งเหมือนนับหนึ่ง
อนึ่ง มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2554 กำหนดให้ยกเลิกนำเข้าและผลิตแร่ใยหินในปี 2555 และกำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรมศึกษาแผนการยกเลิกตามเป้าหมายดังกล่าว แต่ปรากฏว่า จนบัดนี้ไม่มีการดำเนินการใดๆ แม้เครือข่ายภาคประชาชนและนักวิชาการต่างๆ ทั้ง สมาพันธ์อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน และเครือข่ายสังคมไทยไร้แร่ใยหิน (T-BAN) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะพยายามผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ ครม.ก็ตาม