กรมวิทย์ฯ ตรวจสอบคุณภาพยาเพิ่ม 10 รายการที่มีมูลค่าการใช้สูง หวังสร้างความมั่นใจให้ ปชช.ในการใช้ยาสามัญ พร้อมขยายโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยาให้ครอบคลุมร้านขายยาหากมีอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
วันนี้ (24 ธ.ค.) นพ.นิพนธ์ โพธิพัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการประกันคุณภาพยาโดยการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาจากโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในตำรายาสากล เช่น ปริมาณตัวยาสำคัญ การละลายของตัวยา ปริมาณความชื้น เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนผู้ใช้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพตั้งแต่ปี 2545 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ภายใต้ชื่อ “โครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา” ซึ่งจากการดำเนินการโครงการดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2554 ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพยาสามัญจำนวน 451 รายการ จำนวนผลิตภัณฑ์ยาทั้งสิ้น 12,027 ตัวอย่าง จาก 3,755 ทะเบียนตำรับยาเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ 235 รายการ (ร้อยละ 76 ของยาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551) ยกเว้นยากลุ่มยามะเร็ง รังสีรักษา ยากำพร้า ยาที่มีผู้ผลิตรายเดียว วัคซีน ผลิตภัณฑ์จากเลือด อาหารทางหลอดเลือดดำ ยาดมสลบชนิดแก๊ส และยาผลิตในโรงพยาบาล และตรวจวิเคราะห์ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ 23 รายการ พร้อมกับจัดทำเอกสารสรุปผลวิเคราะห์ทั้งหมดเผยแพร่ให้เครือข่ายสาธารณสุขภาครัฐทราบทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางเว็บไซต์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และจัดทำหนังสือ GREEN BOOK หรือ “รายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิต” เพื่อให้โรงพยาบาลได้นำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อยาเข้าโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้ได้มีการเผยแพร่แล้วจำนวน 8 เล่ม
นพ.นิพนธ์กล่าวด้วยว่า ในปีงบประมาณ 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพยาสามัญที่กรมบัญชีกลางประกาศควบคุมค่าใช้จ่ายจำนวน 10 รายการ ได้แก่ pantoprazole injection, famotidine tablet, bezafibrate tablet, irbesartan tablet,perindopril tablet, quinapril tablet, alendronate tablet, pamidronate injection, etidronate tablet และ cilostazol tablet ซึ่งเป็นยารักษาโรคทางเดินอาหาร ยาลดความดันโลหิต ยาลดไขมันในเลือด ยารักษาโรคกระดูกพรุน และยาต้านเกล็ดเลือด นอกจากนี้จะมีการขยายขอบเขตของโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการ ด้านยา ให้ครอบคลุมระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ เช่น ร้านขายยา เพื่อตรวจสอบคุณภาพยาที่ประชาชนสามารถซื้อด้วยตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาสามัญที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
ภญ.นิดาพรรณ เรืองฤทธินนท์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด กล่าวว่า การประกันคุณภาพยาสามัญได้รับความร่วมมืออย่างดีจากโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในการส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาเพื่อตรวจวิเคราะห์ ซึ่งกลไกการประกันคุณภาพยาสามัญในโรงพยาบาลที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและกำลังขยายขอบเขตไปยังร้านขายยานั้นได้สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สั่งจ่ายยาและประชาชนว่าได้รับยาสามัญที่มีคุณภาพ ช่วยส่งเสริมนโยบายการใช้ยาสามัญและลดค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศ นอกจากนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตมีการพัฒนาคุณภาพยาอย่างต่อเนื่องให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล
วันนี้ (24 ธ.ค.) นพ.นิพนธ์ โพธิพัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการประกันคุณภาพยาโดยการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาจากโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยาตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในตำรายาสากล เช่น ปริมาณตัวยาสำคัญ การละลายของตัวยา ปริมาณความชื้น เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนผู้ใช้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพตั้งแต่ปี 2545 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ภายใต้ชื่อ “โครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการด้านยา” ซึ่งจากการดำเนินการโครงการดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545-2554 ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพยาสามัญจำนวน 451 รายการ จำนวนผลิตภัณฑ์ยาทั้งสิ้น 12,027 ตัวอย่าง จาก 3,755 ทะเบียนตำรับยาเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ 235 รายการ (ร้อยละ 76 ของยาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2551) ยกเว้นยากลุ่มยามะเร็ง รังสีรักษา ยากำพร้า ยาที่มีผู้ผลิตรายเดียว วัคซีน ผลิตภัณฑ์จากเลือด อาหารทางหลอดเลือดดำ ยาดมสลบชนิดแก๊ส และยาผลิตในโรงพยาบาล และตรวจวิเคราะห์ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ 23 รายการ พร้อมกับจัดทำเอกสารสรุปผลวิเคราะห์ทั้งหมดเผยแพร่ให้เครือข่ายสาธารณสุขภาครัฐทราบทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางเว็บไซต์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และจัดทำหนังสือ GREEN BOOK หรือ “รายชื่อผลิตภัณฑ์ยาคุณภาพและผู้ผลิต” เพื่อให้โรงพยาบาลได้นำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการจัดซื้อยาเข้าโรงพยาบาล ซึ่งขณะนี้ได้มีการเผยแพร่แล้วจำนวน 8 เล่ม
นพ.นิพนธ์กล่าวด้วยว่า ในปีงบประมาณ 2556 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพยาสามัญที่กรมบัญชีกลางประกาศควบคุมค่าใช้จ่ายจำนวน 10 รายการ ได้แก่ pantoprazole injection, famotidine tablet, bezafibrate tablet, irbesartan tablet,perindopril tablet, quinapril tablet, alendronate tablet, pamidronate injection, etidronate tablet และ cilostazol tablet ซึ่งเป็นยารักษาโรคทางเดินอาหาร ยาลดความดันโลหิต ยาลดไขมันในเลือด ยารักษาโรคกระดูกพรุน และยาต้านเกล็ดเลือด นอกจากนี้จะมีการขยายขอบเขตของโครงการสร้างหลักประกันคุณภาพและมาตรฐานบริการ ด้านยา ให้ครอบคลุมระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ เช่น ร้านขายยา เพื่อตรวจสอบคุณภาพยาที่ประชาชนสามารถซื้อด้วยตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาสามัญที่ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
ภญ.นิดาพรรณ เรืองฤทธินนท์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด กล่าวว่า การประกันคุณภาพยาสามัญได้รับความร่วมมืออย่างดีจากโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในการส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาเพื่อตรวจวิเคราะห์ ซึ่งกลไกการประกันคุณภาพยาสามัญในโรงพยาบาลที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและกำลังขยายขอบเขตไปยังร้านขายยานั้นได้สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สั่งจ่ายยาและประชาชนว่าได้รับยาสามัญที่มีคุณภาพ ช่วยส่งเสริมนโยบายการใช้ยาสามัญและลดค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศ นอกจากนี้เป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตมีการพัฒนาคุณภาพยาอย่างต่อเนื่องให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล