คลอดราคาอ้างอิง “ยากลูโคซามีน” ทุกขนาดสำหรับการเบิกจ่าย เผย ลดลง 3 เท่าจากราคาเดิม จ่อคุมยาลดไขมันต่อ “หมอประดิษฐ” เผย คณะอนุฯต่อรองราคายาได้ 774 รายการ ลดค่ายาได้อีก 1,800 ล้านบาท
วานนี้ (17 ธ.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะคณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 7/2555 ว่า คณะอนุกรรมการต่อรองราคายาและเวชภัณฑ์ ได้รายงานผลการดำเนินงานในที่ประชุม 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การกำหนดราคาอ้างอิงเพื่อการเบิกจ่ายยากลูโคซามีนของกรมบัญชีกลาง ซึ่งภาพรวมสามารถลดราคาลงได้ 3 เท่าของราคาในยาทุกขนาด ประกอบด้วย ยากลูโคซามีนขนาด 250 มิลลิกรัม ให้เบิกราคาต่อหน่วยตามราคาต้นทุนยาที่จัดซื้อจริง แต่ไม่เกิน 3 บาท ขนาด 500 มิลลิกรัม เบิกได้ไม่เกิน 5 บาท และขนาด 1,500 มิลลิกรัม เบิกได้ไม่เกิน 15 บาท โดยจะแจ้งให้กรมบัญชีกลางใช้ในการเบิกจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการที่ต้องใช้ยานี้ตามข้อบ่งชี้ของแพทย์
“ขั้นต่อไปคณะอนุฯจะคุมการใช้ยาลดไขมัน ซึ่งเป็น 1 ใน 9 กลุ่มยาที่มีปริมาณการใช้สูงของสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยต้องดูภาพรวมว่าทำไมจึงมีค่าใช้จ่ายสูง ใช้สมเหตุสมผลหรือไม่ มีประสิทธิผลอย่างไร หากจำเป็นต้องใช้ยาก็ต้องทำให้ราคาถูกลง ซึ่งคณะอนุกรรมการกำหนดแนวเวชปฏิบัติข้อบ่งชี้การใช้ยา การตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาพยาบาล จะเป็นผู้กำหนดข้อบ่งชี้ เมื่อแล้วเสร็จก็จะดำเนินการยากลุ่มอื่นต่อไป และหากคุมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลได้ทั้ง 9 กลุ่ม จะลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 5,000 ล้านบาท” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า 2.ผลการดำเนินการต่อรองราคายาตามเกณฑ์ที่กำหนด 271 รายการ และยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ 503 รายการ รวม 774 รายการ ซึ่งหากนำไปใช้ในการซื้อยาจริงจะสามารถลดราคาได้ถึง 1,800 ล้านบาท 3.สธ.กรมบัญชีกลาง และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เห็นชอบหลักการบริหารจัดการยาบางรายการร่วมกัน โดยคัดเลือกรายการยาที่เหมาะสม เพื่อให้ อภ.ต่อรองราคายา และให้โรงพยาบาลต่างๆ จัดซื้อจาก อภ.โดยเห็นควรให้ตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อพิจารณาคัดเลือกรายการยาและกำหนดราย ละเอียดในการดำเนินงานร่วมกัน อีกทั้งคณะกรรมการยังได้รับทราบเกี่ยวกับระบบตรวจสอบการรักษาพยาบาลและการเบิกจ่ายด้วย ซึ่งตนได้เสนอแนะให้มีการดำเนินการระบบตรวจสอบแบบเป็นองค์กรไม่ใช่มุ่งไปที่ตัวบุคคลคือแพทย์ หากพบสถานพยาบาลใดมีการเบิกจ่ายสูง ก็จะมีคณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบสถานพยาบาลแห่งนั้น เนื่องจากการรักษาของแพทย์ถือเป็นโรคศิลปะ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่เข้าเกณฑ์ตามข้อบ่งชี้ในการใช้ยา แต่จำเป็นต้องใช้ยาตัวนั้น ซึ่งใน 100 รายอาจจะมี 2-3 รายถือเป็นเรื่องปกติ
“ไม่ใช่รัฐบาลสนับสนุนการใช้ยาราคาถูกให้กับประชาชน แต่จะเดินไปในแนวทางให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล รัฐบาลไม่ได้ตัดสิทธิประชาชน แต่ยาบางตัวมีราคาแพงกว่ามาก ขณะที่ประสิทธิผลของยาไม่แตกต่างกันมากนัก ก็จะเน้นให้มีการใช้ยาที่ราคาที่มีราคาถูกกว่า” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า และ 4.การแก้ไขปัญหาน้ำเกลือ จากข้อมูลเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีการแจ้งการขาดแคลนเพียง 7 รายการจาก 5 โรงพยาบาล ซึ่งคณะทำงานได้ประสานดำเนินการแก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว คาดว่า ภาวะการขาดแคลนน้ำเกลือน่าจะบรรเทาลงและเข้าสู่ภาวะปกติในปลายเดือน ธ.ค.นี้
สำหรับยา 9 กลุ่มที่กรมบัญชีกลางกำหนดต้องควบคุมค่าใช้จ่าย ได้แก่ ยาลดไขมันในเลือด ยาลดการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาเบื้องต้นในการรักษาความดันโลหิตสูง และหัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง ยาลดความดันโลหิต ยาป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ยาป้องกันกระดูกพรุน ยารักษามะเร็ง และยาข้อเสื่อม
วานนี้ (17 ธ.ค.) นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะคณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัยและค่าบริการทางการแพทย์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 7/2555 ว่า คณะอนุกรรมการต่อรองราคายาและเวชภัณฑ์ ได้รายงานผลการดำเนินงานในที่ประชุม 4 เรื่อง ได้แก่ 1.การกำหนดราคาอ้างอิงเพื่อการเบิกจ่ายยากลูโคซามีนของกรมบัญชีกลาง ซึ่งภาพรวมสามารถลดราคาลงได้ 3 เท่าของราคาในยาทุกขนาด ประกอบด้วย ยากลูโคซามีนขนาด 250 มิลลิกรัม ให้เบิกราคาต่อหน่วยตามราคาต้นทุนยาที่จัดซื้อจริง แต่ไม่เกิน 3 บาท ขนาด 500 มิลลิกรัม เบิกได้ไม่เกิน 5 บาท และขนาด 1,500 มิลลิกรัม เบิกได้ไม่เกิน 15 บาท โดยจะแจ้งให้กรมบัญชีกลางใช้ในการเบิกจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการที่ต้องใช้ยานี้ตามข้อบ่งชี้ของแพทย์
“ขั้นต่อไปคณะอนุฯจะคุมการใช้ยาลดไขมัน ซึ่งเป็น 1 ใน 9 กลุ่มยาที่มีปริมาณการใช้สูงของสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยต้องดูภาพรวมว่าทำไมจึงมีค่าใช้จ่ายสูง ใช้สมเหตุสมผลหรือไม่ มีประสิทธิผลอย่างไร หากจำเป็นต้องใช้ยาก็ต้องทำให้ราคาถูกลง ซึ่งคณะอนุกรรมการกำหนดแนวเวชปฏิบัติข้อบ่งชี้การใช้ยา การตรวจวินิจฉัยโรคและการรักษาพยาบาล จะเป็นผู้กำหนดข้อบ่งชี้ เมื่อแล้วเสร็จก็จะดำเนินการยากลุ่มอื่นต่อไป และหากคุมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลได้ทั้ง 9 กลุ่ม จะลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 5,000 ล้านบาท” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า 2.ผลการดำเนินการต่อรองราคายาตามเกณฑ์ที่กำหนด 271 รายการ และยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ 503 รายการ รวม 774 รายการ ซึ่งหากนำไปใช้ในการซื้อยาจริงจะสามารถลดราคาได้ถึง 1,800 ล้านบาท 3.สธ.กรมบัญชีกลาง และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เห็นชอบหลักการบริหารจัดการยาบางรายการร่วมกัน โดยคัดเลือกรายการยาที่เหมาะสม เพื่อให้ อภ.ต่อรองราคายา และให้โรงพยาบาลต่างๆ จัดซื้อจาก อภ.โดยเห็นควรให้ตั้งคณะทำงานย่อยเพื่อพิจารณาคัดเลือกรายการยาและกำหนดราย ละเอียดในการดำเนินงานร่วมกัน อีกทั้งคณะกรรมการยังได้รับทราบเกี่ยวกับระบบตรวจสอบการรักษาพยาบาลและการเบิกจ่ายด้วย ซึ่งตนได้เสนอแนะให้มีการดำเนินการระบบตรวจสอบแบบเป็นองค์กรไม่ใช่มุ่งไปที่ตัวบุคคลคือแพทย์ หากพบสถานพยาบาลใดมีการเบิกจ่ายสูง ก็จะมีคณะกรรมการเข้าไปตรวจสอบสถานพยาบาลแห่งนั้น เนื่องจากการรักษาของแพทย์ถือเป็นโรคศิลปะ ผู้ป่วยบางรายอาจไม่เข้าเกณฑ์ตามข้อบ่งชี้ในการใช้ยา แต่จำเป็นต้องใช้ยาตัวนั้น ซึ่งใน 100 รายอาจจะมี 2-3 รายถือเป็นเรื่องปกติ
“ไม่ใช่รัฐบาลสนับสนุนการใช้ยาราคาถูกให้กับประชาชน แต่จะเดินไปในแนวทางให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล รัฐบาลไม่ได้ตัดสิทธิประชาชน แต่ยาบางตัวมีราคาแพงกว่ามาก ขณะที่ประสิทธิผลของยาไม่แตกต่างกันมากนัก ก็จะเน้นให้มีการใช้ยาที่ราคาที่มีราคาถูกกว่า” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า และ 4.การแก้ไขปัญหาน้ำเกลือ จากข้อมูลเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีการแจ้งการขาดแคลนเพียง 7 รายการจาก 5 โรงพยาบาล ซึ่งคณะทำงานได้ประสานดำเนินการแก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว คาดว่า ภาวะการขาดแคลนน้ำเกลือน่าจะบรรเทาลงและเข้าสู่ภาวะปกติในปลายเดือน ธ.ค.นี้
สำหรับยา 9 กลุ่มที่กรมบัญชีกลางกำหนดต้องควบคุมค่าใช้จ่าย ได้แก่ ยาลดไขมันในเลือด ยาลดการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาเบื้องต้นในการรักษาความดันโลหิตสูง และหัวใจล้มเหลวแบบเลือดคั่ง ยาลดความดันโลหิต ยาป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ยาป้องกันกระดูกพรุน ยารักษามะเร็ง และยาข้อเสื่อม