“คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนวันละ 25-30 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 1 คน มีผู้พิการรายใหม่ปีละ 5,000 กว่าราย คิดเป็นมูลค่าความสูญเสีย 2 แสนล้านบาทต่อปี หรือร้อยละ 2.8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี)” คำยืนยันจาก ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่สะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันคนไทยตายเพราะอุบัติเหตุทางถนนเป็นจำนวนมาก
สอดคล้องกับข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ซึ่ง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าการตายจากเหตุอาชญากรรมถึง 4 เท่า โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ คือ การดื่มแล้วขับ การไม่สวมหมวกกันน็อก การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และการขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด
“ด้วยเหตุนี้การลดอุบัติเหตุจราจรจึงเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล ตำรวจต้องเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายและกวดขันวินัยจราจรให้มากขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยง 4 ประการ นอกจากนี้ ยังต้องสืบสวนสอบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุด้วย เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมของคน ยานพาหนะ หรือโครงสร้างของถนน หากมีข้อมูลที่เพียงพอจะช่วยให้ตำรวจสามารถวิเคราะห์และสืบสวนสาเหตุได้ชัดเจน และสามารถแก้ปัญหาอุบัติเหตุได้ตรงจุดมากขึ้น”
จึงเป็นที่มาของการลงนามบันทึกความร่วมมือ “สถานีผู้พิทักษ์ถนนปลอดภัย” ภายใต้โครงการป้องกันและลดการตายจากอุบัติเหตุทางถนนแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่อง ระหว่าง สตช. สสส.กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่ง นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จะเป็นการยกระดับการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนน โดยเน้นการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล และนำไปสู่การแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างบูรณาการ
สำหรับข้อมูลสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดในการช่วยให้ตำรวจวิเคราะห์และสืบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุได้นั้น นายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทกลางฯ กล่าวว่า บริษัทกลางฯ ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยทางถนน โดยรวบรวมข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุไว้ในเว็บไซต์ www.thairsc.com หรือศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตำรวจ หรือหน่วยงานต่างๆ ในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ วิจัย สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขที่ถูกต้องและตรงจุด นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนในการสร้าง และพัฒนาระบบโปรแกรมการบันทึกข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุให้กับสถานีตำรวจที่เข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการดำเนินงานด้านการจัดการความปลอดภัยทางถนน
“ในเว็บไซต์ Thairsc.com นั้น จะมีการรายงานอุบัติเหตุทางถนนทุกวัน เช่น ประจำวันที่ 17 ธ.ค.2555 บาดเจ็บ 2,712 ราย เสียชีวิต 38 ราย รวม 2,750 ราย ซึ่งข้อมูลรายวันตรงนี้มีสถิติให้ดูย้อนหลังได้ถึง 2 ปี นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลบาดเจ็บและเสียชีวิตสะสมจากการเกิดอุบัติเหตุ มีคำแนะนำในเรื่องของการขับขี่ปลอดภัย ทั้งง่วงไม่ขับ เมาไม่ขับ หรือการมีน้ำใจต่อผู้ร่วมใช้ถนน เป็นต้น”
นอกจากข้อมูลในประเทศไทยแล้ว นายนพดล กล่าวอีกว่า ยังมีการรายงานสถานการณ์อุบัติเหตุของโลก มีการแสดงสมุดปกขาวเพื่อถนนปลอดภัยสากล มีการรวบรวมเฟซบุ๊กของเครือข่ายเฝ้าระวังอุบัติเหตุทางถนนจากพื้นที่ต่างๆ และรายงานสถิติรับแจ้งผู้ประสบภัยจากรถทั้งประเทศ สถิติการใช้สิทธิ พ.ร.บ.บริษัทกลาง สถิติการเกิดเหตุในระดับจังหวัด และประสบภัยใน/นอกพื้นที่จังหวัดด้วย
ที่น่าสนใจ คือ มีการนำข้อมูลรายงานทางสถิติมาแสดงในรูปแบบของแผนที่ ซึ่งแสดงจุดพิกัดสถานที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนด้วย เช่น กรุงเทพฯ มีรายงานอุบัติเหตุกี่ครั้ง ระดับเขตกี่ครั้ง โดย นายนพดล อธิบายว่า ข้อมูลแผนที่ละเอียดถึงขั้นระบุได้ว่า ถนนสายนี้มีการเกิดอุบัติเหตุกี่ครั้ง วันที่เท่าไร มีผู้บาดเจ็บหรือตายเท่าไร หากเจ้าหน้าที่ตำรวจนำไปใช้ในการสืบสวนสาเหตุอุบัติเหตุทางถนนก็จะทำให้ทราบว่าจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร เช่น ตีเส้นให้ชัดขึ้น เปลี่ยนจุดยูเทิร์น ปรับทัศนวิสัย เป็นต้น เชื่อว่าจะสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและการตายได้
“ไม่เพียงแต่ตำรวจเท่านั้น แต่ประชาชนที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว เมื่อเข้ามาดูข้อมูลก็จะทราบว่า มีบริเวณใดบ้างเมื่อขับรถผ่านแล้วต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ คาดว่า จะสามารถลดอุบัติเหตุและการตายได้ถึง 10%”
สอดคล้องกับข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ซึ่ง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้เปิดเผยว่า ประเทศไทยมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าการตายจากเหตุอาชญากรรมถึง 4 เท่า โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ คือ การดื่มแล้วขับ การไม่สวมหมวกกันน็อก การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และการขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด
“ด้วยเหตุนี้การลดอุบัติเหตุจราจรจึงเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล ตำรวจต้องเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายและกวดขันวินัยจราจรให้มากขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยง 4 ประการ นอกจากนี้ ยังต้องสืบสวนสอบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุด้วย เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจากพฤติกรรมของคน ยานพาหนะ หรือโครงสร้างของถนน หากมีข้อมูลที่เพียงพอจะช่วยให้ตำรวจสามารถวิเคราะห์และสืบสวนสาเหตุได้ชัดเจน และสามารถแก้ปัญหาอุบัติเหตุได้ตรงจุดมากขึ้น”
จึงเป็นที่มาของการลงนามบันทึกความร่วมมือ “สถานีผู้พิทักษ์ถนนปลอดภัย” ภายใต้โครงการป้องกันและลดการตายจากอุบัติเหตุทางถนนแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่อง ระหว่าง สตช. สสส.กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่ง นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า จะเป็นการยกระดับการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนน โดยเน้นการพัฒนาระบบข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกัน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล และนำไปสู่การแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างบูรณาการ
สำหรับข้อมูลสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดในการช่วยให้ตำรวจวิเคราะห์และสืบสวนสาเหตุของอุบัติเหตุได้นั้น นายนพดล สันติภากรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทกลางฯ กล่าวว่า บริษัทกลางฯ ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนเรื่องความปลอดภัยทางถนน โดยรวบรวมข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุไว้ในเว็บไซต์ www.thairsc.com หรือศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตำรวจ หรือหน่วยงานต่างๆ ในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ วิจัย สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขที่ถูกต้องและตรงจุด นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนในการสร้าง และพัฒนาระบบโปรแกรมการบันทึกข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุให้กับสถานีตำรวจที่เข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการดำเนินงานด้านการจัดการความปลอดภัยทางถนน
“ในเว็บไซต์ Thairsc.com นั้น จะมีการรายงานอุบัติเหตุทางถนนทุกวัน เช่น ประจำวันที่ 17 ธ.ค.2555 บาดเจ็บ 2,712 ราย เสียชีวิต 38 ราย รวม 2,750 ราย ซึ่งข้อมูลรายวันตรงนี้มีสถิติให้ดูย้อนหลังได้ถึง 2 ปี นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลบาดเจ็บและเสียชีวิตสะสมจากการเกิดอุบัติเหตุ มีคำแนะนำในเรื่องของการขับขี่ปลอดภัย ทั้งง่วงไม่ขับ เมาไม่ขับ หรือการมีน้ำใจต่อผู้ร่วมใช้ถนน เป็นต้น”
นอกจากข้อมูลในประเทศไทยแล้ว นายนพดล กล่าวอีกว่า ยังมีการรายงานสถานการณ์อุบัติเหตุของโลก มีการแสดงสมุดปกขาวเพื่อถนนปลอดภัยสากล มีการรวบรวมเฟซบุ๊กของเครือข่ายเฝ้าระวังอุบัติเหตุทางถนนจากพื้นที่ต่างๆ และรายงานสถิติรับแจ้งผู้ประสบภัยจากรถทั้งประเทศ สถิติการใช้สิทธิ พ.ร.บ.บริษัทกลาง สถิติการเกิดเหตุในระดับจังหวัด และประสบภัยใน/นอกพื้นที่จังหวัดด้วย
ที่น่าสนใจ คือ มีการนำข้อมูลรายงานทางสถิติมาแสดงในรูปแบบของแผนที่ ซึ่งแสดงจุดพิกัดสถานที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนด้วย เช่น กรุงเทพฯ มีรายงานอุบัติเหตุกี่ครั้ง ระดับเขตกี่ครั้ง โดย นายนพดล อธิบายว่า ข้อมูลแผนที่ละเอียดถึงขั้นระบุได้ว่า ถนนสายนี้มีการเกิดอุบัติเหตุกี่ครั้ง วันที่เท่าไร มีผู้บาดเจ็บหรือตายเท่าไร หากเจ้าหน้าที่ตำรวจนำไปใช้ในการสืบสวนสาเหตุอุบัติเหตุทางถนนก็จะทำให้ทราบว่าจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไร เช่น ตีเส้นให้ชัดขึ้น เปลี่ยนจุดยูเทิร์น ปรับทัศนวิสัย เป็นต้น เชื่อว่าจะสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและการตายได้
“ไม่เพียงแต่ตำรวจเท่านั้น แต่ประชาชนที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว เมื่อเข้ามาดูข้อมูลก็จะทราบว่า มีบริเวณใดบ้างเมื่อขับรถผ่านแล้วต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ คาดว่า จะสามารถลดอุบัติเหตุและการตายได้ถึง 10%”