“เวิลด์แบงค์” ชี้การบริหารไทยยังเป็นระบบปิด หน่วยงานใหญ่ยังต้องกำกับดูแลร.ร.ควบคุมทั้งงบประมาณ การบริหาร แนะไทยปลดล็อกเพิ่มความอิสระ ร.ร. ดึงผู้ปกครองมามีส่วนร่วมมากขึ้นเชื่อส่งผลคะแนน PISA ดีขึ้น
วันนี้ (13 ธ.ค.) ที่โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงเพาเวอร์ กทม. นายแฮรี่ แอนโทนี่ พาทรีนอส ผู้จัดการฝ่ายการศึกษา สายงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารโลก หรือ World Bank กล่าวนำเสนอผลวิจัยเรื่องความเป็นอิสระ และความรับผิดชอบของโรงเรียนในประเทศไทยต่อการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน และต่อความต้องการของสังคม ในงานสัมมนาวิชาการ "ความเป็นอิสระและความรับผิดชอบของโรงเรียน และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและท้องถิ่นต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน" ตอนหนึ่ง ว่า จากการเก็บข้อมูลโดยวิธีการตอบแบบสอบถามของโรงเรียนประมาณ 200 แห่งทั่วประเทศ ในปี 2554 โดยเชื่อมโยงกับผลการประเมินนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ปี 2009 ซึ่งเป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า โรงเรียนใน กทม. และในเมืองมีระบบการศึกษาที่ดี ผิดกับโรงเรียนในชนบทซึ่งมีระบบการศึกษาที่น่าเป็นห่วงมาก นอกจากนี้ยังพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่จะมีผลคะแนน PISA ที่สูงกว่าโรงเรียนเล็กมาก ดังนั้น ไทยจะต้องเร่งพัฒนา และช่วยเหลือให้โรงเรียนเหล่านี้มีมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์คะแนน PISA ของประเทศอื่นทั่วโลก ได้ข้อสังเกตว่า ประเทศที่มีคะแนน PISA สูงส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่โรงเรียนมีความเป็นอิสระและมีความรับผิดชอบควบคู่กัน แต่ประเทศไทยกลับยังอยู่ในระบบปิด โดยผลจากการสำรวจในด้านต่าง ๆ อาทิ ความอิสระด้านงบประมาณ พบว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะเป็นผู้ควบคุมเงินเดือนครู จึงทำให้ผู้อำนวยการโรงเรียนไม่สามารถที่จะเลือกครูมาสอน และรักษาครูเก่งๆ ไว้ได้ ส่วนความอิสระด้านการบริหารจัดการบุคคล ยังมีโรงเรียนบางแห่งที่การจ้างครูจะต้องขึ้นอยู่กับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผู้อำนวยการไม่สามารถที่จะเลือกครูเองได้ ทั้งที่ผล PISA ชี้ชัดว่าโรงเรียนที่คัดเลือกครูได้เอง ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ
นายแฮรี่ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ พบว่า ที่ผ่านมาผู้ปกครองของนักเรียนไทยเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนน้อยมาก ดังนั้นจะต้องดึงผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น และหากเป็นไปได้ควรให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะต่อการบริหารงบประมาณของโรงเรียนด้วย เพื่อทำให้ผู้ปกครองมั่นใจในการที่จะส่งบุตรหลานมาเรียน อีกทั้งจะทำให้การใช้งบฯของโรงเรียนมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์มากขึ้น
“ในการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะไว้ว่าวิธีการที่จะช่วยทำให้คะแนน PISA ของไทยมีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นนั้น จะต้องส่งเสริมความเป็นอิสระของโรงเรียน และสร้างภาวะผู้นำให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการทำวิจัยหรือประเมินอยู่อย่างต่อเนื่องทั้งสั้นและยาว เพื่อให้เห็นว่านโยบายและการทำงานเดินไปในทิศทางเดียวกัน และมีความก้าวหน้าในการพัฒนาการศึกษาอย่างไร”นายแฮรี่ กล่าว
ด้าน นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ยอมรับว่าความเป็นอิสระของโรงเรียนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนั้นในปี 2556 สพฐ.จึงได้คัดเลือกโรงเรียน 58 แห่งเข้าร่วมโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล รุ่นที่ 1 เพื่อกระจายอำนาจเต็มรูปแบบให้โรงเรียนทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บริหารงานบุคคล และบริหารทั่วไป โดยขณะนี้ สพฐ.กำลังดำเนินการจัดทำคู่มือแนวทางการบริหารโรงเรียน และปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการบริหารโรงเรียน
วันนี้ (13 ธ.ค.) ที่โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงเพาเวอร์ กทม. นายแฮรี่ แอนโทนี่ พาทรีนอส ผู้จัดการฝ่ายการศึกษา สายงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารโลก หรือ World Bank กล่าวนำเสนอผลวิจัยเรื่องความเป็นอิสระ และความรับผิดชอบของโรงเรียนในประเทศไทยต่อการจัดการเรียนการสอนของนักเรียน และต่อความต้องการของสังคม ในงานสัมมนาวิชาการ "ความเป็นอิสระและความรับผิดชอบของโรงเรียน และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและท้องถิ่นต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน" ตอนหนึ่ง ว่า จากการเก็บข้อมูลโดยวิธีการตอบแบบสอบถามของโรงเรียนประมาณ 200 แห่งทั่วประเทศ ในปี 2554 โดยเชื่อมโยงกับผลการประเมินนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ปี 2009 ซึ่งเป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า โรงเรียนใน กทม. และในเมืองมีระบบการศึกษาที่ดี ผิดกับโรงเรียนในชนบทซึ่งมีระบบการศึกษาที่น่าเป็นห่วงมาก นอกจากนี้ยังพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่จะมีผลคะแนน PISA ที่สูงกว่าโรงเรียนเล็กมาก ดังนั้น ไทยจะต้องเร่งพัฒนา และช่วยเหลือให้โรงเรียนเหล่านี้มีมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์คะแนน PISA ของประเทศอื่นทั่วโลก ได้ข้อสังเกตว่า ประเทศที่มีคะแนน PISA สูงส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่โรงเรียนมีความเป็นอิสระและมีความรับผิดชอบควบคู่กัน แต่ประเทศไทยกลับยังอยู่ในระบบปิด โดยผลจากการสำรวจในด้านต่าง ๆ อาทิ ความอิสระด้านงบประมาณ พบว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะเป็นผู้ควบคุมเงินเดือนครู จึงทำให้ผู้อำนวยการโรงเรียนไม่สามารถที่จะเลือกครูมาสอน และรักษาครูเก่งๆ ไว้ได้ ส่วนความอิสระด้านการบริหารจัดการบุคคล ยังมีโรงเรียนบางแห่งที่การจ้างครูจะต้องขึ้นอยู่กับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผู้อำนวยการไม่สามารถที่จะเลือกครูเองได้ ทั้งที่ผล PISA ชี้ชัดว่าโรงเรียนที่คัดเลือกครูได้เอง ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ
นายแฮรี่ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ พบว่า ที่ผ่านมาผู้ปกครองของนักเรียนไทยเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนน้อยมาก ดังนั้นจะต้องดึงผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น และหากเป็นไปได้ควรให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะต่อการบริหารงบประมาณของโรงเรียนด้วย เพื่อทำให้ผู้ปกครองมั่นใจในการที่จะส่งบุตรหลานมาเรียน อีกทั้งจะทำให้การใช้งบฯของโรงเรียนมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์มากขึ้น
“ในการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะไว้ว่าวิธีการที่จะช่วยทำให้คะแนน PISA ของไทยมีคะแนนเพิ่มสูงขึ้นนั้น จะต้องส่งเสริมความเป็นอิสระของโรงเรียน และสร้างภาวะผู้นำให้แก่ผู้อำนวยการโรงเรียนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการทำวิจัยหรือประเมินอยู่อย่างต่อเนื่องทั้งสั้นและยาว เพื่อให้เห็นว่านโยบายและการทำงานเดินไปในทิศทางเดียวกัน และมีความก้าวหน้าในการพัฒนาการศึกษาอย่างไร”นายแฮรี่ กล่าว
ด้าน นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า ยอมรับว่าความเป็นอิสระของโรงเรียนมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนั้นในปี 2556 สพฐ.จึงได้คัดเลือกโรงเรียน 58 แห่งเข้าร่วมโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล รุ่นที่ 1 เพื่อกระจายอำนาจเต็มรูปแบบให้โรงเรียนทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บริหารงานบุคคล และบริหารทั่วไป โดยขณะนี้ สพฐ.กำลังดำเนินการจัดทำคู่มือแนวทางการบริหารโรงเรียน และปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการบริหารโรงเรียน