สพฐ.เตรียมรับมือ ประเมิน PISA รอบใหม่ครั้งที่ 5 เริ่มเก็บข้อมูลเดือนสิงหาคมนี้ หวั่นหากคะแนนยังดำดิ่ง หรืออยู่ที่เดิมอาจกระทบต่อฐานะประเทศในเวทีโลก โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เดินหน้ากระตุ้นครูปรับการสอน- การสอบ เน้นคิดวิเคราะห์มากขึ้น ให้สอดคล้องกับแนวข้อสอบ
ที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ - นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดภายหลังประชุมชี้แจงผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าร่วมโครงการ PISA ของประเทศไทย โดยมี นายปรีชาญ ศรีเดช รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) นายธงชัย ชิวปรีชา ที่ปรึกษา สสวท.พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ศึกษานิเทศก์ และผู้อำนวยการโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชนเข้าร่วมประมาณ 800 คน ว่า ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งในกลุ่มอาเซียนมีประเทศที่เข้าร่วม 3 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย และ สิงคโปร์ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ตรวจสอบว่า เยาวชนที่จบการศึกษาภาคบังคับ หรืออายุ 15 ปี ของประเทศต่างๆ มีศักยภาพ หรือความสามารถพื้นฐานที่จะเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
“สำหรับผลประเมิน PISA ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2552 พบว่า นักเรียนไทยมีผลประเมินค่อนข้างต่ำ คะแนนไทยสูงกว่าอินโดนีเซีย เพียงประเทศเดียว และต่ำกว่าประเทศสิงคโปร์ ค่อนข้างมาก ขณะที่ค่าเฉลี่ยของนักเรียนไทยก็ต่ำกว่านานาชาติ และมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สำหรับการประเมินในครั้งที่ 5 นั้น PISA จะเริ่มเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคมนี้ จะมีประเทศที่เข้าร่วมอีกสองประเทศ คือ เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งหากผลการประเมินของไทยยังอยู่เท่าเดิม ไม่พัฒนาขึ้น ต่างประเทศก็จะมองประเทศไทยไม่ดี”รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว
นางเบญจลักษณ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยมีผลคะแนน PISA ต่ำนั้น มีผลกระทบต่อการประเมินศักยภาพและการลงทุนทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะคะแนนจะถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกที่มีการนำผล PISA ไปใช้ในการจัดลำดับการแข่งขันของประเทศ และใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณาความน่าลงทุนด้วย และผลการประเมิน PISA ที่ผ่านมา สะท้อนว่า คุณภาพ หรือศักยภาพของคนไทยยังต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับนานาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงเห็นความสำคัญ และส่งเสริมให้โรงเรียนจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิด และแก้ปัญหาให้มากขึ้น รวมถึงพัฒนาครูให้เข้าใจแนวข้อสอบของ PISA และสามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการวัดผลประเมินผลได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ว่า ภายในปี 2561 ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ผลทดสอบ PISA) ต้องเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ
“ข้อสอบของ PISA ไม่ใช่ข้อสอบเน้นท่องจำ ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสวนทางกับกระบวนการเรียนการสอน และการสอบของไทย จึงต้องกลับมาทบทวน ว่า กระบวนการสอบของเราเป็นอย่างไร แม้ที่ผ่านมา แม้เราจะพยายามปรับปรุงแต่ก็ช้าเกินไปที่จะสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ แต่ก็ต้องเริ่มกระตุ้นให้ครูฝึกตั้งคำถามปลายเปิดที่ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา และต่อไปมีแนวคิดว่าจะเอาข้อสอบPISA ที่สามารถเปิดเผยได้ไปใส่ไว้เป็นแบบฝึกหัดให้ครูใช้สอนนักเรียน”นางเบญจลักษณ์ กล่าว
ด้าน นายธงชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาผู้บริหารสถานศึกษายังไม่มีความรู้ว่า PISA คืออะไร และจากที่เห็นนักเรียนตอบข้อสอบ PISA ก็พบว่า ไม่มีความตั้งใจทำข้อสอบ ทั้งที่ผลสอบ PISA สะท้อนคุณภาพของประเทศ และที่ผ่านมา ข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ก็ออกข้อสอบเชิงวิเคราะห์มากขึ้น ดังนั้น โรงเรียนก็จะต้องปรับตัว และถ้าข้อสอบเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนของครูก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย โดยคาดว่าจะใช้เวลาผลักดันเรื่องการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน โดยเร่งพัฒนาวิทยากรแกนนำประมาณ 2,000 คน เพื่อนำไปใช้อบรมครูทั่วประเทศ ภายในเวลา 2 ปี
ที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ - นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดภายหลังประชุมชี้แจงผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าร่วมโครงการ PISA ของประเทศไทย โดยมี นายปรีชาญ ศรีเดช รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) นายธงชัย ชิวปรีชา ที่ปรึกษา สสวท.พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ศึกษานิเทศก์ และผู้อำนวยการโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชนเข้าร่วมประมาณ 800 คน ว่า ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ หรือ PISA ตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งในกลุ่มอาเซียนมีประเทศที่เข้าร่วม 3 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย และ สิงคโปร์ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ ตรวจสอบว่า เยาวชนที่จบการศึกษาภาคบังคับ หรืออายุ 15 ปี ของประเทศต่างๆ มีศักยภาพ หรือความสามารถพื้นฐานที่จะเป็นต่อการดำรงชีวิตในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
“สำหรับผลประเมิน PISA ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2552 พบว่า นักเรียนไทยมีผลประเมินค่อนข้างต่ำ คะแนนไทยสูงกว่าอินโดนีเซีย เพียงประเทศเดียว และต่ำกว่าประเทศสิงคโปร์ ค่อนข้างมาก ขณะที่ค่าเฉลี่ยของนักเรียนไทยก็ต่ำกว่านานาชาติ และมีแนวโน้มจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สำหรับการประเมินในครั้งที่ 5 นั้น PISA จะเริ่มเก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคมนี้ จะมีประเทศที่เข้าร่วมอีกสองประเทศ คือ เวียดนาม และมาเลเซีย ซึ่งหากผลการประเมินของไทยยังอยู่เท่าเดิม ไม่พัฒนาขึ้น ต่างประเทศก็จะมองประเทศไทยไม่ดี”รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว
นางเบญจลักษณ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยมีผลคะแนน PISA ต่ำนั้น มีผลกระทบต่อการประเมินศักยภาพและการลงทุนทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะคะแนนจะถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกที่มีการนำผล PISA ไปใช้ในการจัดลำดับการแข่งขันของประเทศ และใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณาความน่าลงทุนด้วย และผลการประเมิน PISA ที่ผ่านมา สะท้อนว่า คุณภาพ หรือศักยภาพของคนไทยยังต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับนานาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงเห็นความสำคัญ และส่งเสริมให้โรงเรียนจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิด และแก้ปัญหาให้มากขึ้น รวมถึงพัฒนาครูให้เข้าใจแนวข้อสอบของ PISA และสามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ในการวัดผลประเมินผลได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ว่า ภายในปี 2561 ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (ผลทดสอบ PISA) ต้องเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ
“ข้อสอบของ PISA ไม่ใช่ข้อสอบเน้นท่องจำ ต้องใช้การคิดวิเคราะห์ ซึ่งสวนทางกับกระบวนการเรียนการสอน และการสอบของไทย จึงต้องกลับมาทบทวน ว่า กระบวนการสอบของเราเป็นอย่างไร แม้ที่ผ่านมา แม้เราจะพยายามปรับปรุงแต่ก็ช้าเกินไปที่จะสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ แต่ก็ต้องเริ่มกระตุ้นให้ครูฝึกตั้งคำถามปลายเปิดที่ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหา และต่อไปมีแนวคิดว่าจะเอาข้อสอบPISA ที่สามารถเปิดเผยได้ไปใส่ไว้เป็นแบบฝึกหัดให้ครูใช้สอนนักเรียน”นางเบญจลักษณ์ กล่าว
ด้าน นายธงชัย กล่าวว่า ที่ผ่านมาผู้บริหารสถานศึกษายังไม่มีความรู้ว่า PISA คืออะไร และจากที่เห็นนักเรียนตอบข้อสอบ PISA ก็พบว่า ไม่มีความตั้งใจทำข้อสอบ ทั้งที่ผลสอบ PISA สะท้อนคุณภาพของประเทศ และที่ผ่านมา ข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ก็ออกข้อสอบเชิงวิเคราะห์มากขึ้น ดังนั้น โรงเรียนก็จะต้องปรับตัว และถ้าข้อสอบเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนของครูก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย โดยคาดว่าจะใช้เวลาผลักดันเรื่องการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอน โดยเร่งพัฒนาวิทยากรแกนนำประมาณ 2,000 คน เพื่อนำไปใช้อบรมครูทั่วประเทศ ภายในเวลา 2 ปี