ศ.พญ.ละอองศรี อัชชนียะสกุล
ภาควิชาจักษุวิทยา
มีเด็กจำนวนหนึ่งที่ลืมตาดูโลก เพียงไม่กี่ปีก็อาจเจอปัญหาในเรื่องของ “มะเร็งจอตา” ซึ่งเป็นมะเร็งอันดับ 3 ที่พบในเด็ก มะเร็งจอตาในเด็ก เป็นได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง ส่วนใหญ่จะมีอายุน้อยกว่า 5 ปี อาจเกิดขึ้นกับตาข้างเดียว หรือพร้อมกัน 2 ตาก็ได้ ในประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยใหม่ประมาณ 30-40 รายต่อปี โดยเด็กจะมีลักษณะตาวาว มีสีขาวๆ กลางตาดำ ตาเหล่ ตาอักเสบ หรือม่านตา 2 ข้างสีไม่เหมือนกัน
สาเหตุของโรคมะเร็งจอตาในเด็ก เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบได้ประมาณ 40% ของเด็กที่เป็นมะเร็งจอตา ซึ่งจะเป็นได้ทั้ง 2 ตา และสามารถวินิจฉัยโรคได้ค่อนข้างเร็วภายในอายุ 1 ขวบ ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมมีประมาณ 60% โดยยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนมากมักเกิดกับตาเพียงข้างเดียว หรือตำแหน่งเดียวในจอตา การวินิจฉัยโรคในกลุ่มนี้จะทำได้ช้าคือ เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งจอตาในเด็ก จำเป็นต้องซักประวัติและตรวจวินิจฉัย ซึ่งเด็กเล็กๆ มีความจำเป็นต้องดมยาสลบเพื่อการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยการตรวจบริเวณรอบๆ ลูกตา การวัดความดันตา การตรวจส่วนหน้าของลูกตา การขยายรูม่านตาเพื่อตรวจจอตา และยังมีการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เหล่านี้ เป็นต้น
ลักษณะของก้อนมะเร็งที่ตรวจพบมีอยู่ 2 แบบ คือ ก้อนมะเร็งทะลุผ่านชั้นจอตา และพบการกระจายของเซลล์มะเร็งสีขาวๆ อยู่ในวุ้นตา ส่วนอีกลักษณะหนึ่ง คือ ก้อนมะเร็งเจริญอยู่ภายในชั้นจอตา ทำให้จอตาลอก และถ้าก้อนเจริญเติบโตเร็ว อาจพบหินปูนภายในก้อนเป็นสีขาวคล้ายชอล์ค ถ้าก้อนมะเร็งเกิดในบริเวณที่เป็นจุดภาพชัดจะทำให้ระดับการมองเห็นลดลง และเกิดภาวะตาเหล่ได้
สำหรับการรักษามะเร็งจอตาในเด็กมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดนำลูกตาออกแล้วใส่วัสดุสังเคราะห์เข้าไปแทนที่ในเบ้าตา การฉายรังสีรักษา การใช้ยาเคมีบำบัด การวางแร่ การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ หรือการจี้ด้วยความเย็น โดยแต่ละวิธีจะมีข้อจำกัดและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย ขนาดของก้อนมะเร็ง และการกระจายของมะเร็งด้วย ภายหลังการรักษา แพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะๆ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค มะเร็งชนิดอื่นๆ ในภายหลังได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองต้องสนใจและดูแลเป็นพิเศษนะคะ
---------------------------------------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
รู้ทันโรคมะเร็งจอตาในเด็ก
แม้มะเร็งจอตาเกิดขึ้นในเด็กโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่สามารถเฝ้าระวังได้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญประชาชนทั่วไปรับความรู้โรคมะเร็งจอตาในเด็ก รวมถึงการใส่ตาปลอมหลังการผ่าตัด ชมนิทรรศการ ฟังประสบการณ์จริงจากผู้ป่วยและการดูแลโดย ศ.พญ.ละอองศรี อัชชนียะสกุล และคณะ จากนั้นพระราชธรรมนิเทศ (พยอม กัลยาโณ) มาบรรยายธรรมเรื่อง “ความเชื่อกับการรักษาโรค” และร่วมเล่นเกมชิงรางวัล ในวันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคมศกนี้ เวลา 10.00 น.ณ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 1 รพ.ศิริราช
ภาควิชาจักษุวิทยา
มีเด็กจำนวนหนึ่งที่ลืมตาดูโลก เพียงไม่กี่ปีก็อาจเจอปัญหาในเรื่องของ “มะเร็งจอตา” ซึ่งเป็นมะเร็งอันดับ 3 ที่พบในเด็ก มะเร็งจอตาในเด็ก เป็นได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง ส่วนใหญ่จะมีอายุน้อยกว่า 5 ปี อาจเกิดขึ้นกับตาข้างเดียว หรือพร้อมกัน 2 ตาก็ได้ ในประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยใหม่ประมาณ 30-40 รายต่อปี โดยเด็กจะมีลักษณะตาวาว มีสีขาวๆ กลางตาดำ ตาเหล่ ตาอักเสบ หรือม่านตา 2 ข้างสีไม่เหมือนกัน
สาเหตุของโรคมะเร็งจอตาในเด็ก เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบได้ประมาณ 40% ของเด็กที่เป็นมะเร็งจอตา ซึ่งจะเป็นได้ทั้ง 2 ตา และสามารถวินิจฉัยโรคได้ค่อนข้างเร็วภายในอายุ 1 ขวบ ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมมีประมาณ 60% โดยยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนมากมักเกิดกับตาเพียงข้างเดียว หรือตำแหน่งเดียวในจอตา การวินิจฉัยโรคในกลุ่มนี้จะทำได้ช้าคือ เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งจอตาในเด็ก จำเป็นต้องซักประวัติและตรวจวินิจฉัย ซึ่งเด็กเล็กๆ มีความจำเป็นต้องดมยาสลบเพื่อการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด โดยการตรวจบริเวณรอบๆ ลูกตา การวัดความดันตา การตรวจส่วนหน้าของลูกตา การขยายรูม่านตาเพื่อตรวจจอตา และยังมีการตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เหล่านี้ เป็นต้น
ลักษณะของก้อนมะเร็งที่ตรวจพบมีอยู่ 2 แบบ คือ ก้อนมะเร็งทะลุผ่านชั้นจอตา และพบการกระจายของเซลล์มะเร็งสีขาวๆ อยู่ในวุ้นตา ส่วนอีกลักษณะหนึ่ง คือ ก้อนมะเร็งเจริญอยู่ภายในชั้นจอตา ทำให้จอตาลอก และถ้าก้อนเจริญเติบโตเร็ว อาจพบหินปูนภายในก้อนเป็นสีขาวคล้ายชอล์ค ถ้าก้อนมะเร็งเกิดในบริเวณที่เป็นจุดภาพชัดจะทำให้ระดับการมองเห็นลดลง และเกิดภาวะตาเหล่ได้
สำหรับการรักษามะเร็งจอตาในเด็กมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดนำลูกตาออกแล้วใส่วัสดุสังเคราะห์เข้าไปแทนที่ในเบ้าตา การฉายรังสีรักษา การใช้ยาเคมีบำบัด การวางแร่ การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ หรือการจี้ด้วยความเย็น โดยแต่ละวิธีจะมีข้อจำกัดและผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย ขนาดของก้อนมะเร็ง และการกระจายของมะเร็งด้วย ภายหลังการรักษา แพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะๆ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค มะเร็งชนิดอื่นๆ ในภายหลังได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองต้องสนใจและดูแลเป็นพิเศษนะคะ
---------------------------------------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
รู้ทันโรคมะเร็งจอตาในเด็ก
แม้มะเร็งจอตาเกิดขึ้นในเด็กโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่สามารถเฝ้าระวังได้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญประชาชนทั่วไปรับความรู้โรคมะเร็งจอตาในเด็ก รวมถึงการใส่ตาปลอมหลังการผ่าตัด ชมนิทรรศการ ฟังประสบการณ์จริงจากผู้ป่วยและการดูแลโดย ศ.พญ.ละอองศรี อัชชนียะสกุล และคณะ จากนั้นพระราชธรรมนิเทศ (พยอม กัลยาโณ) มาบรรยายธรรมเรื่อง “ความเชื่อกับการรักษาโรค” และร่วมเล่นเกมชิงรางวัล ในวันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคมศกนี้ เวลา 10.00 น.ณ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 1 รพ.ศิริราช