ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี คว้ารางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคมประจำปี 2555 จากมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม
วันนี้ (8 ธ.ค.) มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม ร่วมกับแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม (วจภส.) และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานมอบรางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม พ.ศ. 2554 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาฯ โดยเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2555 คือ ภก. สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โดย รศ.ดร.ภญ.พรเพ็ญ เปรมโยธิน ในฐานะประธานอนุกรรมการคัดเลือกเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม พ.ศ. 2555 กล่าวว่า รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคมนี้ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้ที่มีผลงานเด่นสะสมยาวนานจนกระทั่งคณะกรรมการมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคมมั่นใจแล้วว่า เป็นผู้ที่ทำงานเพื่องานจริงๆ ซึ่งนอกจากจะต้องมีผลงานเป็นที่ยอมรับของสังคมแล้ว จักต้องมีความโดดเด่นในด้านจริยธรรมด้วย ซึ่งในกรณีของ ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี คณะกรรมการได้พิจารณาแล้วว่า นอกจากการดำรงตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงามในระดับปัจเจกได้อย่างมั่นคงแล้ว ยังมีผลงานรณรงค์ด้านจริยธรรมในกระแสสังคมอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
สำหรับประวัติของ ภก.สงกรานต์ เริ่มต้นจากการเปิดร้านยาให้บริการประชาชนใน อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา อยู่ประมาณ 6 ปี จึงปิดร้านยา มาทำงานเป็นอาสาสมัครเต็มเวลาของ กลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.) ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยชุมชน ในพื้นที่อำเภอด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ประมาณ 4 ปี ผลงานในขณะนั้นได้แก่ การรณรงค์เรื่องการใช้ยาที่เหมาะสม สนับสนุนการลงขันของประชาชนร่วมกันก่อตั้ง “สหกรณ์ยา” และรณรงค์ในเรื่องสมุนไพรชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง ควบคู่กับการขจัดยาร้าย เช่น ยาชุด ยาซอง ยาสูตรเอพีซี (ทัมใจ บวดหาย ฯลฯ) เป็นการทำงานทุ่มเทให้กับประชาชนในพื้นที่ “เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชน” อย่างแท้จริง ทำให้รู้ชัดว่าสังคมชนบทไทยมีปัญหาสลับซับซ้อนมาก การแก้ปัญหาในระดับชุมชนด้วยหลากหลายวิธี นับเป็นการเรียนรู้การแก้ปัญหาเชิงระบบบทเรียนแรกๆของชีวิตการทำงานเกือบ 40 ปี ต่อมา
ผลงานล่าสุดในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ได้เป็นกำลังหลักในการผลักดัน พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนมากกว่า 13 ล้านคน โดยมีเป้าหมายในการลดจำนวนนักดื่มหน้าใหม่ และลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้มีกระแสสังคม และเกิดพลังร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจึงมีชื่อเสียงระดับโลกในเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีมาตรการที่เข้มข้น
สำหรับรางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม เป็นรางวัลที่มอบให้แก่เภสัชกรที่ทำงานในพื้นที่ต่างจังหวัด ที่มีบทบาทในการพัฒนาสุขภาพสังคมอย่างถึงพร้อมด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 4 ของการมอบรางวัลนี้ โดยที่ผ่านมาผู้ที่ได้รางวัลนี้คือ (2554) ภก.ภาณุโชติ ทองยัง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.สมุทรสงคราม (2553) ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี และ (2552) ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ตามลำดับ
วันนี้ (8 ธ.ค.) มูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม ร่วมกับแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม (วจภส.) และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานมอบรางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม พ.ศ. 2554 ณ เรือนจุฬานฤมิต จุฬาฯ โดยเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2555 คือ ภก. สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โดย รศ.ดร.ภญ.พรเพ็ญ เปรมโยธิน ในฐานะประธานอนุกรรมการคัดเลือกเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม พ.ศ. 2555 กล่าวว่า รางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคมนี้ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้ที่มีผลงานเด่นสะสมยาวนานจนกระทั่งคณะกรรมการมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคมมั่นใจแล้วว่า เป็นผู้ที่ทำงานเพื่องานจริงๆ ซึ่งนอกจากจะต้องมีผลงานเป็นที่ยอมรับของสังคมแล้ว จักต้องมีความโดดเด่นในด้านจริยธรรมด้วย ซึ่งในกรณีของ ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี คณะกรรมการได้พิจารณาแล้วว่า นอกจากการดำรงตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงามในระดับปัจเจกได้อย่างมั่นคงแล้ว ยังมีผลงานรณรงค์ด้านจริยธรรมในกระแสสังคมอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
สำหรับประวัติของ ภก.สงกรานต์ เริ่มต้นจากการเปิดร้านยาให้บริการประชาชนใน อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา อยู่ประมาณ 6 ปี จึงปิดร้านยา มาทำงานเป็นอาสาสมัครเต็มเวลาของ กลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.) ดำเนินโครงการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยชุมชน ในพื้นที่อำเภอด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ประมาณ 4 ปี ผลงานในขณะนั้นได้แก่ การรณรงค์เรื่องการใช้ยาที่เหมาะสม สนับสนุนการลงขันของประชาชนร่วมกันก่อตั้ง “สหกรณ์ยา” และรณรงค์ในเรื่องสมุนไพรชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง ควบคู่กับการขจัดยาร้าย เช่น ยาชุด ยาซอง ยาสูตรเอพีซี (ทัมใจ บวดหาย ฯลฯ) เป็นการทำงานทุ่มเทให้กับประชาชนในพื้นที่ “เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชน” อย่างแท้จริง ทำให้รู้ชัดว่าสังคมชนบทไทยมีปัญหาสลับซับซ้อนมาก การแก้ปัญหาในระดับชุมชนด้วยหลากหลายวิธี นับเป็นการเรียนรู้การแก้ปัญหาเชิงระบบบทเรียนแรกๆของชีวิตการทำงานเกือบ 40 ปี ต่อมา
ผลงานล่าสุดในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ได้เป็นกำลังหลักในการผลักดัน พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนมากกว่า 13 ล้านคน โดยมีเป้าหมายในการลดจำนวนนักดื่มหน้าใหม่ และลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้มีกระแสสังคม และเกิดพลังร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาสังคมอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจึงมีชื่อเสียงระดับโลกในเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีมาตรการที่เข้มข้น
สำหรับรางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม เป็นรางวัลที่มอบให้แก่เภสัชกรที่ทำงานในพื้นที่ต่างจังหวัด ที่มีบทบาทในการพัฒนาสุขภาพสังคมอย่างถึงพร้อมด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 4 ของการมอบรางวัลนี้ โดยที่ผ่านมาผู้ที่ได้รางวัลนี้คือ (2554) ภก.ภาณุโชติ ทองยัง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สสจ.สมุทรสงคราม (2553) ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี และ (2552) ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ตามลำดับ