พบลอยกระทงวันเดียวคนจมน้ำตายมากถึง 21 คน เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีครึ่งหนึ่ง สูงเป็น 3 เท่าของวันปกติ สธ.เตือนดูแลเด็กให้มากขึ้นในวันลอยกระทง แนะหลักการ ตะโกน โยน ยื่น ช่วยคนตกน้ำ
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันลอยกระทงทุกปีจะมีคนจมน้ำเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก ซึ่งสถิติในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2545-2554) พบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เฉลี่ยปีละประมาณ 1,352 คน โดยในวันลอยกระทงเด็กจะมีความเสี่ยงต่อการตกน้ำ จมน้ำมากกว่าในช่วงวันปกติ เนื่องจากต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือต้องเดินทางทางน้ำ และจากการที่มีผู้คนเดินเบียดเสียดกันจำนวนมาก อาจทำให้พลัดตกลงไปในน้ำได้ง่าย จึงขอเตือนประชาชนที่จะพาบุตรหลานไปลอยกระทงให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำตามลำพัง
นพ.ชลน่านกล่าวอีกว่า จากข้อมูลการเสียชีวิตจากการจมน้ำ ของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค และสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สธ. พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2554) ในวันลอยกระทงวันเดียวมีคนจมน้ำเสียชีวิต 102 คน เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 40 คน คิดเป็น 39.6% ของทุกกลุ่มอายุ สำหรับในปี 2554 เฉพาะวันลอยกระทงวันเดียวมีคนจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง 21 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณครึ่งหนึ่ง คือ 10 คน หรือสูงเป็น 3 เท่าของวันปกติ (วันปกติเฉลี่ย 3 คนต่อวัน) ซึ่งเด็กที่จมน้ำในช่วงวันลอยกระทงมักมีความเกี่ยวข้องกับการที่เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำและพลัดตกลงไป นอกจากนี้ยังมีเด็กอีกส่วนหนึ่งที่ลงไปเก็บกระทงหรือเก็บเงินในกระทง
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ลอยกระทงในปีนี้ ประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังในการไปลอยกระทง เพราะเสี่ยงต่อการจมน้ำและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่ยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อย่างไรก็ตาม หากตกน้ำขอแนะนำวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ 1. ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เมื่อเด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือยืนใกล้ขอบบ่อ/สระ เพราะอาจพลัดตกลงน้ำได้ 2. เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เด็กต้องอยู่ในระยะที่คว้าถึง การหันไปทำกิจกรรมต่างๆ เพียงเสี้ยววินาที โดยปล่อยให้เด็กลอยกระทงตามลำพังในกะละมัง หรือถังน้ำ ก็อาจทำให้เด็กจมน้ำเสียชีวิตได้ และหากเป็นกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี เด็กต้องอยู่ในระยะที่มองเห็นและเข้าถึงทันเวลา 3. ไม่ปล่อยให้เด็กลงไปเก็บกระทงหรือเก็บเงินในกระทงที่ลอยในน้ำ ผู้ปกครองควรห้ามหรือไม่ปล่อยให้เด็กลงไปเก็บกระทงอย่างเด็ดขาด เด็กอาจจมน้ำ เนื่องจากเป็นตะคริวเพราะอยู่ในน้ำเป็นเวลานานและสภาพอากาศหนาวเย็นด้วย
นพ.พรเทพกล่าวอีกว่า 4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดพื้นที่ที่ชัดเจนสำหรับการลอยกระทงและจะต้องทำสิ่งกั้นขวางเพื่อป้องกันเด็กตกในน้ำ และควรมีผู้ดูแลพร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือที่หาได้ง่ายไว้ในบริเวณดังกล่าว 5. ผู้จัดการพาหนะทางน้ำ ต้องเตรียมชูชีพสำหรับผู้โดยสารให้พร้อมทุกคน รวมทั้งพิจารณาจำนวนผู้โดยสารว่ามากเกินไปหรือไม่ ก่อนที่จะใช้บริการทางเรือ เพื่อไปลอยกระทงกลางแม่น้ำ 6. หากพบคนตกน้ำ ควรช่วยเหลือด้วยวิธีที่ถูกต้อง และห้ามกระโดดลงไปช่วยอย่างเด็ดขาด เพราะอาจถูกกอดรัดและจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกัน ดังนั้น ควรช่วยด้วยหลักการ “ตะโกน โยน ยื่น” คือ ตะโกนเรียกให้คนมาช่วยและโทร 1669 โยนหาอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวสำหรับโยนไปช่วยคนตกน้ำ เช่น ขวดน้ำพลาสติกเปล่า ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า อุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ และยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ
“เมื่อช่วยคนตกน้ำขึ้นมาแล้ว ถ้าผู้ป่วยยังรู้สติดีและหายใจได้ดี ให้ผู้ป่วยนอนราบกับพื้น เช็ดตัวให้แห้งและให้ความอบอุ่น ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัว แต่ไอและอาเจียนให้ผู้ป่วยนอนตะแคงคว่ำ เพื่อให้อาเจียนและเสมหะไหลออกได้ง่าย เช็ดตัวให้แห้งและให้ความอบอุ่น แต่หากผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ และไม่กระดุกกระดิกเลยหรือคลำชีพจรไม่ได้ ให้ช่วยฟื้นคืนชีพโดยการเป่าปากติดต่อกันหลายๆ ครั้งและนวดหัวใจ โดยการกดที่บริเวณกลางหน้าอก ลึกประมาณ 1-1.5 นิ้ว ความถี่ 100 ครั้งต่อนาที ที่สำคัญต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทร.แจ้ง 1669 โดยเร็วที่สุด และต้องนำส่งโรงพยาบาลทุกราย หากสงสัยในวิธีปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422” อธิบดี คร.กล่าว
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันลอยกระทงทุกปีจะมีคนจมน้ำเสียชีวิตจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก ซึ่งสถิติในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2545-2554) พบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เฉลี่ยปีละประมาณ 1,352 คน โดยในวันลอยกระทงเด็กจะมีความเสี่ยงต่อการตกน้ำ จมน้ำมากกว่าในช่วงวันปกติ เนื่องจากต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือต้องเดินทางทางน้ำ และจากการที่มีผู้คนเดินเบียดเสียดกันจำนวนมาก อาจทำให้พลัดตกลงไปในน้ำได้ง่าย จึงขอเตือนประชาชนที่จะพาบุตรหลานไปลอยกระทงให้เพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำตามลำพัง
นพ.ชลน่านกล่าวอีกว่า จากข้อมูลการเสียชีวิตจากการจมน้ำ ของสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค และสํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สธ. พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2554) ในวันลอยกระทงวันเดียวมีคนจมน้ำเสียชีวิต 102 คน เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 40 คน คิดเป็น 39.6% ของทุกกลุ่มอายุ สำหรับในปี 2554 เฉพาะวันลอยกระทงวันเดียวมีคนจมน้ำเสียชีวิตสูงถึง 21 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณครึ่งหนึ่ง คือ 10 คน หรือสูงเป็น 3 เท่าของวันปกติ (วันปกติเฉลี่ย 3 คนต่อวัน) ซึ่งเด็กที่จมน้ำในช่วงวันลอยกระทงมักมีความเกี่ยวข้องกับการที่เด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำและพลัดตกลงไป นอกจากนี้ยังมีเด็กอีกส่วนหนึ่งที่ลงไปเก็บกระทงหรือเก็บเงินในกระทง
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ลอยกระทงในปีนี้ ประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังในการไปลอยกระทง เพราะเสี่ยงต่อการจมน้ำและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่ยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อย่างไรก็ตาม หากตกน้ำขอแนะนำวิธีการปฏิบัติ ดังนี้ 1. ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เมื่อเด็กอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือยืนใกล้ขอบบ่อ/สระ เพราะอาจพลัดตกลงน้ำได้ 2. เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี เด็กต้องอยู่ในระยะที่คว้าถึง การหันไปทำกิจกรรมต่างๆ เพียงเสี้ยววินาที โดยปล่อยให้เด็กลอยกระทงตามลำพังในกะละมัง หรือถังน้ำ ก็อาจทำให้เด็กจมน้ำเสียชีวิตได้ และหากเป็นกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี เด็กต้องอยู่ในระยะที่มองเห็นและเข้าถึงทันเวลา 3. ไม่ปล่อยให้เด็กลงไปเก็บกระทงหรือเก็บเงินในกระทงที่ลอยในน้ำ ผู้ปกครองควรห้ามหรือไม่ปล่อยให้เด็กลงไปเก็บกระทงอย่างเด็ดขาด เด็กอาจจมน้ำ เนื่องจากเป็นตะคริวเพราะอยู่ในน้ำเป็นเวลานานและสภาพอากาศหนาวเย็นด้วย
นพ.พรเทพกล่าวอีกว่า 4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดพื้นที่ที่ชัดเจนสำหรับการลอยกระทงและจะต้องทำสิ่งกั้นขวางเพื่อป้องกันเด็กตกในน้ำ และควรมีผู้ดูแลพร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือที่หาได้ง่ายไว้ในบริเวณดังกล่าว 5. ผู้จัดการพาหนะทางน้ำ ต้องเตรียมชูชีพสำหรับผู้โดยสารให้พร้อมทุกคน รวมทั้งพิจารณาจำนวนผู้โดยสารว่ามากเกินไปหรือไม่ ก่อนที่จะใช้บริการทางเรือ เพื่อไปลอยกระทงกลางแม่น้ำ 6. หากพบคนตกน้ำ ควรช่วยเหลือด้วยวิธีที่ถูกต้อง และห้ามกระโดดลงไปช่วยอย่างเด็ดขาด เพราะอาจถูกกอดรัดและจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกัน ดังนั้น ควรช่วยด้วยหลักการ “ตะโกน โยน ยื่น” คือ ตะโกนเรียกให้คนมาช่วยและโทร 1669 โยนหาอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวสำหรับโยนไปช่วยคนตกน้ำ เช่น ขวดน้ำพลาสติกเปล่า ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า อุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ และยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ
“เมื่อช่วยคนตกน้ำขึ้นมาแล้ว ถ้าผู้ป่วยยังรู้สติดีและหายใจได้ดี ให้ผู้ป่วยนอนราบกับพื้น เช็ดตัวให้แห้งและให้ความอบอุ่น ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัว แต่ไอและอาเจียนให้ผู้ป่วยนอนตะแคงคว่ำ เพื่อให้อาเจียนและเสมหะไหลออกได้ง่าย เช็ดตัวให้แห้งและให้ความอบอุ่น แต่หากผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ และไม่กระดุกกระดิกเลยหรือคลำชีพจรไม่ได้ ให้ช่วยฟื้นคืนชีพโดยการเป่าปากติดต่อกันหลายๆ ครั้งและนวดหัวใจ โดยการกดที่บริเวณกลางหน้าอก ลึกประมาณ 1-1.5 นิ้ว ความถี่ 100 ครั้งต่อนาที ที่สำคัญต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน หรือโทร.แจ้ง 1669 โดยเร็วที่สุด และต้องนำส่งโรงพยาบาลทุกราย หากสงสัยในวิธีปฏิบัติ สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422” อธิบดี คร.กล่าว