วัยโจ๋นิยมลอยกระทงกับคู่รักหรือเพื่อน หลงลืมพ่อแม่ครอบครัว นักวิชาการแนะศึกษาพฤติกรรมลูก ใช้คำพูดเชิงบวก และห้ามสั่ง เพื่อง่ายต่อการพูดคุยถึงความประพฤติที่เหมาะสมในคืนลอยกระทง สร้างความไว้วางใจในครอบครัว
นางฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในเทศการลอยกระทงที่จะถึงนี้ ตนอยากจะฝากไปถึงหลายๆ ครอบครัวว่า ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่ครอบครัวต่างๆ จะใช้เวลาอยู่ร่วมกันและทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำกระทง รวมทั้งการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการลอยกระทงเพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ได้เข้าใจ เพราะปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่เข้าใจว่าเทศกาลลอยกระทงคือเทศกาลของการเที่ยวเล่นกับเพื่อนหรือคู่รัก และการจุดพลุ แต่ที่จริงแล้วในอดีตเทศกาลลอยกระทงนอกจากจะเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคาแล้ว ยังเป็นเทศกาลที่ช่วยเพิ่มความสามัคคีให้กับชาวบ้าน และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยชาวบ้านจะช่วยกันขุดลอกคูคลองและเก็บสิ่งปฏิกูลในแม่น้ำลำธารของหมู่บ้าน นอกจากนี้ ตนอยากจะฝากเรื่องการจุดพลุ ดอกไม้ไฟ หรือโคมลอย ว่าขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ ควรจุดในที่โล่งแจ้ง และไม่ปล่อยให้เด็กเล่นดอกไม้ไฟตามลำพัง อีกทั้งเรื่องการดูแลเด็กที่ออกไปเก็บเงินในกระทง เพราะอาจจะเสียชีวิตได้
ด้าน น.ส.ศิวพร ปกป้อง กรรมการและผู้อำนวยการงานด้านวิจัยสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปัจจุบันในแต่ละครอบครัวมีเวลาที่จะใช้อยู่ร่วมกันน้อย เมื่อลูกเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น จึงเป็นเรื่องยากที่จะตักเตือนในเรื่องต่างๆ การพูดคุยในครอบครัวและการปลูกฝังสิ่งต่างๆ จึงควรทำตั้งแต่วัยเด็ก ดังนั้นเทศกาลลอยกระทงจึงถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ โดยพ่อแม่อาจจะชักชวนลูกๆ ในการทำกระทง พร้อมทั้งบอกเล่าถึงเรื่องราวและความสำคัญของวันลอยกระทง รวมทั้งการพาลูกๆออกไปลอยกระทง เมื่อลูกๆ เห็นถึงความสนุกและความสำคัญของการทำกิจกรรมในครอบครัว ก็จะทำให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวดีตั้งแต่เด็ก เมื่อเขาเติบโตเป็นวัยรุ่นก็จะไม่มีปัญหาต่างๆ ด้านชุมชนในเมือง อาจจะมีการจัดกิจกรรมเล็กๆ ขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัวและสังคม
“เด็กวัยรุ่นบางกลุ่มอาจจะมองว่าเทศกาลลอยกระทงเป็นเทศกาลของคู่รัก และวัยรุ่นส่วนใหญ่จะไม่ไปทำกิจกรรมกับครอบครัวแต่จะไปกับเพื่อนหรือคนรัก ซึ่งช่วงวัยนี้ยิ่งเข้าไปห้ามหรือไปยุ่งกับเขามากจะยิ่งหนี จึงเป็นวัยที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง และควรมีกุศโลบายในการพูดคุย เช่น บอกว่าเทศกาลลอยกระทงเกี่ยวพันกับศาสนาและเป็นประเพณีที่ดีงาม การมีคนรักก็ต้องไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรมีสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม หากทำสิ่งดีๆ ร่วมกันในวันลอยกระทงก็จะมีแต่เรื่องดีๆ เข้ามาในชีวิต เป็นต้น และควรให้ความรู้เรื่องการป้องกันกับลูกด้วย” น.ส.ศิวพรกล่าว
น.ส.ศิวพรกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องรู้และวิเคราะห์ระดับความซุกซนของลูกตัวเองให้ออก หากลูกยังไร้เดียงสา ต้องสอนทักษะเรื่องการปฏิเสธ การวางตัว และการเอาตัวรอด แต่หากลูกมีความซุกซนสูง ก็ต้องให้คำแนะนำเรื่องการป้องกัน ซึ่งการพูดคุยกับวัยรุ่นให้คุยเหมือนเพื่อน อย่าใช้คำสั่ง โดยเฉพาะคำว่า ห้าม อย่า ไม่ หรือลักษณะคำพูดที่คอยจับผิด แต่ให้ใช้คำพูดเชิงบวกบอกสิ่งที่เราเป็นห่วงและสิ่งที่เขาควรปฏิบัติ เช่น ถ้าไปกับเพื่อนเป็นกลุ่มอย่าแตกกลุ่มนะลูก หรือถ้ากลับดึกโทรบอกแม่ด้วย หรือถ้ากลับเกินเที่ยงคืนให้พ่อออกไปรับนะ โดยให้เหตุผลว่าคนเยอะ พ่อแม่เป็นห่วง และต้องไม่คาดคั้นเอาคำตอบ ยิ่งมีข้อแม้เยอะเด็กจะยิ่งโกหก ซึ่งพ่อแม่ควรใช้ลักษณะการพูดคุยเช่นนี้ จนเป็นเรื่องปกติในครอบครัว เขาจะรู้สึกสบายใจว่าได้รับความไว้วางใจ และไม่กล้าเหลวไหล เพราะความจริงเด็กต้องการให้พ่อแม่ดูแลเอาใจใส่และไว้วางใจอยู่แล้ว
นางฐาณิชชา ลิ้มพานิช ผู้จัดการมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในเทศการลอยกระทงที่จะถึงนี้ ตนอยากจะฝากไปถึงหลายๆ ครอบครัวว่า ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่ครอบครัวต่างๆ จะใช้เวลาอยู่ร่วมกันและทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำกระทง รวมทั้งการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการลอยกระทงเพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ได้เข้าใจ เพราะปัจจุบันเด็กรุ่นใหม่เข้าใจว่าเทศกาลลอยกระทงคือเทศกาลของการเที่ยวเล่นกับเพื่อนหรือคู่รัก และการจุดพลุ แต่ที่จริงแล้วในอดีตเทศกาลลอยกระทงนอกจากจะเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคาแล้ว ยังเป็นเทศกาลที่ช่วยเพิ่มความสามัคคีให้กับชาวบ้าน และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยชาวบ้านจะช่วยกันขุดลอกคูคลองและเก็บสิ่งปฏิกูลในแม่น้ำลำธารของหมู่บ้าน นอกจากนี้ ตนอยากจะฝากเรื่องการจุดพลุ ดอกไม้ไฟ หรือโคมลอย ว่าขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ ควรจุดในที่โล่งแจ้ง และไม่ปล่อยให้เด็กเล่นดอกไม้ไฟตามลำพัง อีกทั้งเรื่องการดูแลเด็กที่ออกไปเก็บเงินในกระทง เพราะอาจจะเสียชีวิตได้
ด้าน น.ส.ศิวพร ปกป้อง กรรมการและผู้อำนวยการงานด้านวิจัยสมาคมครอบครัวศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปัจจุบันในแต่ละครอบครัวมีเวลาที่จะใช้อยู่ร่วมกันน้อย เมื่อลูกเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น จึงเป็นเรื่องยากที่จะตักเตือนในเรื่องต่างๆ การพูดคุยในครอบครัวและการปลูกฝังสิ่งต่างๆ จึงควรทำตั้งแต่วัยเด็ก ดังนั้นเทศกาลลอยกระทงจึงถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ โดยพ่อแม่อาจจะชักชวนลูกๆ ในการทำกระทง พร้อมทั้งบอกเล่าถึงเรื่องราวและความสำคัญของวันลอยกระทง รวมทั้งการพาลูกๆออกไปลอยกระทง เมื่อลูกๆ เห็นถึงความสนุกและความสำคัญของการทำกิจกรรมในครอบครัว ก็จะทำให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวดีตั้งแต่เด็ก เมื่อเขาเติบโตเป็นวัยรุ่นก็จะไม่มีปัญหาต่างๆ ด้านชุมชนในเมือง อาจจะมีการจัดกิจกรรมเล็กๆ ขึ้นมาเพื่อที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อครอบครัวและสังคม
“เด็กวัยรุ่นบางกลุ่มอาจจะมองว่าเทศกาลลอยกระทงเป็นเทศกาลของคู่รัก และวัยรุ่นส่วนใหญ่จะไม่ไปทำกิจกรรมกับครอบครัวแต่จะไปกับเพื่อนหรือคนรัก ซึ่งช่วงวัยนี้ยิ่งเข้าไปห้ามหรือไปยุ่งกับเขามากจะยิ่งหนี จึงเป็นวัยที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง และควรมีกุศโลบายในการพูดคุย เช่น บอกว่าเทศกาลลอยกระทงเกี่ยวพันกับศาสนาและเป็นประเพณีที่ดีงาม การมีคนรักก็ต้องไม่ทำในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรมีสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม หากทำสิ่งดีๆ ร่วมกันในวันลอยกระทงก็จะมีแต่เรื่องดีๆ เข้ามาในชีวิต เป็นต้น และควรให้ความรู้เรื่องการป้องกันกับลูกด้วย” น.ส.ศิวพรกล่าว
น.ส.ศิวพรกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ พ่อแม่ต้องรู้และวิเคราะห์ระดับความซุกซนของลูกตัวเองให้ออก หากลูกยังไร้เดียงสา ต้องสอนทักษะเรื่องการปฏิเสธ การวางตัว และการเอาตัวรอด แต่หากลูกมีความซุกซนสูง ก็ต้องให้คำแนะนำเรื่องการป้องกัน ซึ่งการพูดคุยกับวัยรุ่นให้คุยเหมือนเพื่อน อย่าใช้คำสั่ง โดยเฉพาะคำว่า ห้าม อย่า ไม่ หรือลักษณะคำพูดที่คอยจับผิด แต่ให้ใช้คำพูดเชิงบวกบอกสิ่งที่เราเป็นห่วงและสิ่งที่เขาควรปฏิบัติ เช่น ถ้าไปกับเพื่อนเป็นกลุ่มอย่าแตกกลุ่มนะลูก หรือถ้ากลับดึกโทรบอกแม่ด้วย หรือถ้ากลับเกินเที่ยงคืนให้พ่อออกไปรับนะ โดยให้เหตุผลว่าคนเยอะ พ่อแม่เป็นห่วง และต้องไม่คาดคั้นเอาคำตอบ ยิ่งมีข้อแม้เยอะเด็กจะยิ่งโกหก ซึ่งพ่อแม่ควรใช้ลักษณะการพูดคุยเช่นนี้ จนเป็นเรื่องปกติในครอบครัว เขาจะรู้สึกสบายใจว่าได้รับความไว้วางใจ และไม่กล้าเหลวไหล เพราะความจริงเด็กต้องการให้พ่อแม่ดูแลเอาใจใส่และไว้วางใจอยู่แล้ว