“เสริมศักดิ์” มอบ สพฐ.เน้นย้ำแก้ปัญหา ร.ร.ขนาดเล็ก 1.4 หมื่นโรงทั่วประเทศ ชู “แก่นจันทร์โมเดล” เป็นต้นแบบ คือ ควบรวม ร.ร.ในตำบลเดียวกัน แล้วจัดรถรับส่ง นร.หมุนไปเรียนตาม ร.ร.ต่างๆ เล็งประสาน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ลงขันเติมน้ำมันรถรับส่ง นร.พร้อมสั่ง สพฐ.ตั้ง ศูนย์อาเซียนศึกษา เตรียมความพร้อม นร.ครู ก่อนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 58
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า มอบให้ สพฐ.แก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศกว่า 14,000 โรง ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาวะขาดแคลนครู ร.ร.ขนาดเล็กเหล่านี้บางแห่งเหลือนักเรียนน้อยมาก แค่ประมาณ 10 คนต่อชั้นเรียน มีครู 2 คนรับผิดชอบทุกชั้นเรียน เพราะฉะนั้น จึงเห็นว่า น่าจะควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในตำบลเดียวกัน แล้วนำรูปแบบการบริหารจัดการ ร.ร.ขนาดเล็กของ ร.ร.ในตำบลหาดคัมภีร์ อำเภอปากชม จ.เลย ที่เรียกว่า “แก่นจันทร์โมเดล” มาประยุกต์ใช้กับ ร.ร.ขนาดเล็กทั่วประเทศ นั่นคือ จับกลุ่ม ร.ร.ขนาดเล็ก แล้วยุบรวมนักเรียนชั้นเดียวกันมาไว้เรียนร่วมกัน เฉลี่ยแล้ว ร.ร.แต่ละแห่งจึงสอนแค่ 1-2 ชั้นเรียน เท่านั้น ไม่เป็นภาระที่หนักเกินไปของครูที่มีอยู่ 2 คน และไม่จำเป็นต้องจ้างครูเพิ่ม อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจทำให้นักเรียนต้องถูกหมุนไปเรียนยัง ร.ร.ที่ไกลบ้านมากขึ้น จึงต้องมีการจัดรถรับส่ง นร.ทุกคนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทาง
“เมื่อมีการยุบรวม ร.ร.ในตำบลเดียวกันแล้ว จะมีการจัดตั้งงบประมาณสำหรับจัดซื้อรถยนต์รถส่งนักเรียนด้วย แต่จะบูรณาการให้หน่วยงานอื่นๆ เช่น กศน.ใช้รถร่วมกันได้ด้วย ที่สำคัญ จะขอแรงให้ อบต.ช่วยสนับสนุนงบประมาณเพื่อนำมาเติมน้ำมันรถ จัดจ้างคนขับรถ โดยในสัปดาห์หน้านี้ ผมจะไปคุยกับทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้ช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการ ร.ร.ขนาดเล็ก ทั้งนี้ หากยังปล่อยให้ปัญหา ร.ร.ขนาดเล็กยืดเยื้อต่อไปแล้ว ก็จะทำให้ นร.ในชนบทจำนวนมากเสียโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม สำหรับ ร.ร.ขนาดเล็กที่ไม่เหลือผู้เรียนแล้วนั้น ถ้าจำเป็นต้องยุบก็ต้องดำเนินการ แต่เพื่อไม่ให้ชาวบ้านต่อต้านการยุบ ร.ร.ก็ให้ปรับปรุง ร.ร.นั้นๆ มาใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น เป็น ศูนย์เด็กเล็ก หรือศูนย์แสดงสินค้าโอทอป” นายเสริมศักดิ์ กล่าวและว่า นอกจากนี้ ได้มอบให้ สพฐ.ไปจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมให้สถานศึกษาและนักเรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ในศูนย์อาเซียนศึกษาดังกล่าว จะให้เปิดสอนภาษาอังกฤษ ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีด้วย ขณะเดียวกัน จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับเสาหลักทั้ง 3 ของอาเซียนแก่ นร.ด้วย ทั้งนี้ หาก สพฐ.มีการดำเนินการในเรื่องนี้อยู่แล้ว ให้ขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า มอบให้ สพฐ.แก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศกว่า 14,000 โรง ที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาวะขาดแคลนครู ร.ร.ขนาดเล็กเหล่านี้บางแห่งเหลือนักเรียนน้อยมาก แค่ประมาณ 10 คนต่อชั้นเรียน มีครู 2 คนรับผิดชอบทุกชั้นเรียน เพราะฉะนั้น จึงเห็นว่า น่าจะควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในตำบลเดียวกัน แล้วนำรูปแบบการบริหารจัดการ ร.ร.ขนาดเล็กของ ร.ร.ในตำบลหาดคัมภีร์ อำเภอปากชม จ.เลย ที่เรียกว่า “แก่นจันทร์โมเดล” มาประยุกต์ใช้กับ ร.ร.ขนาดเล็กทั่วประเทศ นั่นคือ จับกลุ่ม ร.ร.ขนาดเล็ก แล้วยุบรวมนักเรียนชั้นเดียวกันมาไว้เรียนร่วมกัน เฉลี่ยแล้ว ร.ร.แต่ละแห่งจึงสอนแค่ 1-2 ชั้นเรียน เท่านั้น ไม่เป็นภาระที่หนักเกินไปของครูที่มีอยู่ 2 คน และไม่จำเป็นต้องจ้างครูเพิ่ม อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจทำให้นักเรียนต้องถูกหมุนไปเรียนยัง ร.ร.ที่ไกลบ้านมากขึ้น จึงต้องมีการจัดรถรับส่ง นร.ทุกคนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทาง
“เมื่อมีการยุบรวม ร.ร.ในตำบลเดียวกันแล้ว จะมีการจัดตั้งงบประมาณสำหรับจัดซื้อรถยนต์รถส่งนักเรียนด้วย แต่จะบูรณาการให้หน่วยงานอื่นๆ เช่น กศน.ใช้รถร่วมกันได้ด้วย ที่สำคัญ จะขอแรงให้ อบต.ช่วยสนับสนุนงบประมาณเพื่อนำมาเติมน้ำมันรถ จัดจ้างคนขับรถ โดยในสัปดาห์หน้านี้ ผมจะไปคุยกับทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้ช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการ ร.ร.ขนาดเล็ก ทั้งนี้ หากยังปล่อยให้ปัญหา ร.ร.ขนาดเล็กยืดเยื้อต่อไปแล้ว ก็จะทำให้ นร.ในชนบทจำนวนมากเสียโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม สำหรับ ร.ร.ขนาดเล็กที่ไม่เหลือผู้เรียนแล้วนั้น ถ้าจำเป็นต้องยุบก็ต้องดำเนินการ แต่เพื่อไม่ให้ชาวบ้านต่อต้านการยุบ ร.ร.ก็ให้ปรับปรุง ร.ร.นั้นๆ มาใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น เป็น ศูนย์เด็กเล็ก หรือศูนย์แสดงสินค้าโอทอป” นายเสริมศักดิ์ กล่าวและว่า นอกจากนี้ ได้มอบให้ สพฐ.ไปจัดตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมให้สถานศึกษาและนักเรียนเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ในศูนย์อาเซียนศึกษาดังกล่าว จะให้เปิดสอนภาษาอังกฤษ ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงวัฒนธรรมประเพณีด้วย ขณะเดียวกัน จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับเสาหลักทั้ง 3 ของอาเซียนแก่ นร.ด้วย ทั้งนี้ หาก สพฐ.มีการดำเนินการในเรื่องนี้อยู่แล้ว ให้ขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ