สอศ.เตรียมปูพรม ยกระดับวิทยาลัยขนาดเล็ก เล็งจัดงบประมาณ 3 ส่วนอัดฉีดวิทยาลัยไปใช้พัฒนามาตรฐานการจัดการเรียนการสอน
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เร่งปูพรมยกระดับวิทยาลัยขนาดเล็ก ซึ่งมีนักศึกษาน้อยกว่า 800 คน ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 100 แห่งจากวิทยาลัยในสังกัดทั้งหมด 416 แห่ง โดยเฉพาะวิทยาลัยการอาชีพที่กระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ นั้น ปัจจุบันได้รับความนิยมไม่มาก บางแห่งเปิดแค่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และมีนักศึกษาไม่ถึง 100 คน ทั้งนี้เพราะเด็กส่วนใหญ่ นิยมเลือกเรียนในวิทยาลัยซึ่งมีที่ตั้งในเมืองและนิยมเรียนวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาการอาชีวศึกษามากกว่าวิทยาลัยประเภทอื่นๆ ขณะที่เงินที่ใช้ในการบริหารวิทยาลัย จะมาจากเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวเป็นหลัก เพราะฉะนั้น สำหรับวิทยาลัยที่มีนักศึกษา 200 คนแล้ว จะมีเงินในการบริหารจัดการแค่ 1 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอกับค่าจ้างครูและค่าสาธารณูปโภค ทำให้ที่ผ่านมา วิทยาลัยหลายแห่งจึงติดหนี้ค่าไฟ ค่าน้ำ ขณะที่มีปัญหา ขาดแคลนครูด้วย ส่งผลต่อมาตรฐานในการจัดการเรียนการสอน
ทั้งนี้ แผนการยกระดับวิทยาลัยขนาดเล็กนั้น สอศ.จะจัดสรรงบประมาณให้แต่ละวิทยาลัยเป็น3 ส่วน ส่วนแรกนั้น สอศ.จะจัดงบประมาณเพิ่มเติม หรือ Top Up ให้วิทยาลัยขนาดเล็กซึ่งได้เงินอุดหนุนรายหัวแค่เล็กน้อย เพื่อให้นำงบประมาณส่วนหนึ่งไปจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่นๆ เพื่อให้กิจการของวิทยาลัยอยู่ได้ นอกจากนั้น สอศ.ได้จัดตั้งงบประมาณไว้ 150 ล้านบาท เพื่อจัดสรรให้วิทยาลัยแต่ละแห่งนำไปทำโครงการพัฒนาการจัดเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น โดย สอศ.จะจัดสรรงบประมาณให้เป็นก้อน แล้วให้ทางวิทยาลัยคิดโครงการพัฒนาคุณภาพขึ้นมาเอง ทั้งนี้ สอศ.อาจมีการติดตามผล และใช้ผลการประเมินของสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการทำงานของวิทยาลัย
“นอกจากนี้ สอศ.ก็ได้ตั้งงบประมาณไว้อีก 150 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาเด็กออกกลางคันโดยเฉพาะ ปัจจุบันอัตราออกกลางคันในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เฉลี่ยที่ 15 %แต่บางวิทยาลัยสูงถึงเกือบ 40 % โดยเฉพาะวิทยาลัยที่ไม่เป็นที่นิยมซึ่งรวมวิทยาลัยขนาดเล็กด้วย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะเด็กที่ไปเข้าเรียนส่วนหนึ่งเกลี่ยมาจากวิทยาลัยยอดนิยมที่เต็มแล้ว เด็กต้องถูกเปลี่ยนสายไปเรียนอื่นที่ตัวเองไม่ชอบ ทำให้เรียนได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง หรือในบางกรณี เด็กก็จะออกจากการเรียนไปเรียน กศน.หรือไปเข้าสู่ตลาดแรงงานแทน เพราะฉะนั้น สอศ.จึงจัดสรรงบประมาณให้วิทยาลัยขนาดเล็กไปปรับปรุง พัฒนาวิยาลัย เพื่อจูงใจให้เด็ก ๆ สนใจมาเข้าเรียน ขณะเดียวกัน สอศ.เอง ก็จะพยายามทำโครงการรณรงค์ต่างๆ เพื่อจูงให้เด็ก ๆ สนในมาเรียนสายอาชีวศึกษา โดยชี้ให้เด็ก ๆ เห็นจุดแข็งของการเรียนสายนี้ว่า เรียนแล้วมีงานทำแน่นอน เพราะตอบสนองต่อความต้องการแรงงานในประเทศ” นายชัยพฤกษ์ กล่าว
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เร่งปูพรมยกระดับวิทยาลัยขนาดเล็ก ซึ่งมีนักศึกษาน้อยกว่า 800 คน ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 100 แห่งจากวิทยาลัยในสังกัดทั้งหมด 416 แห่ง โดยเฉพาะวิทยาลัยการอาชีพที่กระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ นั้น ปัจจุบันได้รับความนิยมไม่มาก บางแห่งเปิดแค่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และมีนักศึกษาไม่ถึง 100 คน ทั้งนี้เพราะเด็กส่วนใหญ่ นิยมเลือกเรียนในวิทยาลัยซึ่งมีที่ตั้งในเมืองและนิยมเรียนวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาการอาชีวศึกษามากกว่าวิทยาลัยประเภทอื่นๆ ขณะที่เงินที่ใช้ในการบริหารวิทยาลัย จะมาจากเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวเป็นหลัก เพราะฉะนั้น สำหรับวิทยาลัยที่มีนักศึกษา 200 คนแล้ว จะมีเงินในการบริหารจัดการแค่ 1 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอกับค่าจ้างครูและค่าสาธารณูปโภค ทำให้ที่ผ่านมา วิทยาลัยหลายแห่งจึงติดหนี้ค่าไฟ ค่าน้ำ ขณะที่มีปัญหา ขาดแคลนครูด้วย ส่งผลต่อมาตรฐานในการจัดการเรียนการสอน
ทั้งนี้ แผนการยกระดับวิทยาลัยขนาดเล็กนั้น สอศ.จะจัดสรรงบประมาณให้แต่ละวิทยาลัยเป็น3 ส่วน ส่วนแรกนั้น สอศ.จะจัดงบประมาณเพิ่มเติม หรือ Top Up ให้วิทยาลัยขนาดเล็กซึ่งได้เงินอุดหนุนรายหัวแค่เล็กน้อย เพื่อให้นำงบประมาณส่วนหนึ่งไปจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่นๆ เพื่อให้กิจการของวิทยาลัยอยู่ได้ นอกจากนั้น สอศ.ได้จัดตั้งงบประมาณไว้ 150 ล้านบาท เพื่อจัดสรรให้วิทยาลัยแต่ละแห่งนำไปทำโครงการพัฒนาการจัดเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากขึ้น โดย สอศ.จะจัดสรรงบประมาณให้เป็นก้อน แล้วให้ทางวิทยาลัยคิดโครงการพัฒนาคุณภาพขึ้นมาเอง ทั้งนี้ สอศ.อาจมีการติดตามผล และใช้ผลการประเมินของสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการทำงานของวิทยาลัย
“นอกจากนี้ สอศ.ก็ได้ตั้งงบประมาณไว้อีก 150 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาเด็กออกกลางคันโดยเฉพาะ ปัจจุบันอัตราออกกลางคันในวิทยาลัยอาชีวศึกษา เฉลี่ยที่ 15 %แต่บางวิทยาลัยสูงถึงเกือบ 40 % โดยเฉพาะวิทยาลัยที่ไม่เป็นที่นิยมซึ่งรวมวิทยาลัยขนาดเล็กด้วย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะเด็กที่ไปเข้าเรียนส่วนหนึ่งเกลี่ยมาจากวิทยาลัยยอดนิยมที่เต็มแล้ว เด็กต้องถูกเปลี่ยนสายไปเรียนอื่นที่ตัวเองไม่ชอบ ทำให้เรียนได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง หรือในบางกรณี เด็กก็จะออกจากการเรียนไปเรียน กศน.หรือไปเข้าสู่ตลาดแรงงานแทน เพราะฉะนั้น สอศ.จึงจัดสรรงบประมาณให้วิทยาลัยขนาดเล็กไปปรับปรุง พัฒนาวิยาลัย เพื่อจูงใจให้เด็ก ๆ สนใจมาเข้าเรียน ขณะเดียวกัน สอศ.เอง ก็จะพยายามทำโครงการรณรงค์ต่างๆ เพื่อจูงให้เด็ก ๆ สนในมาเรียนสายอาชีวศึกษา โดยชี้ให้เด็ก ๆ เห็นจุดแข็งของการเรียนสายนี้ว่า เรียนแล้วมีงานทำแน่นอน เพราะตอบสนองต่อความต้องการแรงงานในประเทศ” นายชัยพฤกษ์ กล่าว