ขรก.ปลื้ม! คกก.ยาฯ ฉีกประกาศกรมบัญชีกลาง มีมติให้ใช้ยาข้อเสื่อมตามเดิม แต่ค้านหากให้ อภ.เป็นตัวกลางซื้อขายยา ยกเคสน้ำเกลือปนเปื้อน จวกไม่มีศักยภาพเพียงพอ
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัย และค่าบริการทางการแพทย์ มีมติเห็นชอบให้ใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟตได้ตามข้อบ่งชี้และมาตรฐานทางการแพทย์ ยกเลิกการลงทะเบียนผู้ป่วย 1 โรงพยาบาล 1 โรคเรื้อรัง และให้เพิ่มเติมข้อกำหนดอนุญาตใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย ว่า ขอขอบคุณที่เห็นใจผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้น้อยที่เกษียณอายุราชการ นอกจากบำเหน็จบำนาญแล้ว ก็ต้องการสิทธิสวัสดิการต่างๆ และการรักษาพยาบาลที่เป็นธรรม ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมบัญชีกลางไม่เข้าใจจึงมีความพยายามออกประกาศดังกล่าว ขณะนี้เมื่อทุกอย่างคลี่คลายก็จะไม่มีการดำเนินการฟ้องศาลปกครองตามที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้
พญ.ประชุมพร กล่าวอีกว่า แต่สิ่งที่ยังกังวล คือ คณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยาฯ ยังมีมติเห็นชอบให้ควบคุมราคายาสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยจะใช้กลไกราคากลาง ทำกระบวนการซื้อยาให้ถูกลง โดยให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นตัวกลางในการจัดซื้อยา ซึ่งอาจมีการปรับกฎระเบียบ โดยให้เบิกจ่ายคืนเป็นยาแทนการเบิกเป็นเงินจากกรมบัญชีกลาง หรือให้ซื้อยาผ่าน อภ.ซึ่งตนเห็นด้วยเฉพาะกรณีจัดกลไกราคากลาง แต่ไม่เห็นด้วยหากจะให้อภ.เป็นตัวกลางในการจัดซื้อยาให้โรงพยาบาล เพราะมองว่า อภ.ไม่มีศักยภาพในการดูแลคุณภาพยาได้แท้จริง
“ต้องยอมรับว่า อภ.ไม่สามารถผลิตยาได้ทั้งหมด ต้องซื้อผ่านบริษัทยาอื่นๆ แต่กลับไม่มีระบบตรวจสอบคุณภาพเลย อย่างกรณีปัญหาขาดแคลนน้ำเกลือ อภ.ได้ส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ แต่ปรากฏว่า รพ.นครพิงค์ จ.เชียงใหม่ พบน้ำเกลือมีเชื้อรา มีสิ่งสกปรกเจือปนจนต้องส่งคืน ตรงนี้ควรเรียกคืนทั่วประเทศหรือไม่ แต่กลับนิ่งเฉย พอทวงถามก็ไม่ได้รับคำตอบ เพียงแต่เปลี่ยนน้ำเกลือใหม่ให้ รพ.นครพิงค์ เท่านั้น จึงอยากให้พิจารณาเรื่องนี้ด้วย” พญ.ประชุมพร กล่าว
น.ส.บุญยืน ศิริธรรม กรรมการหลักประกันสุขภาพสัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังต่อ รมว.สาธารณสุข ที่สั่งข้ามกระทรวง ให้กรมบัญชีกลางถอยต่อแรงกดดัน ยอมให้ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณปีละกว่า 700 ล้านบาท ทั้งที่เพิ่งประกาศนโยบายลดค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพของสวัสดิการข้าราชการที่ใช้งบประมาณค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าผู้ป่วยบัตรทองหลายเท่า การสั่งกระทรวงการคลังให้ถอยเรื่องยากลูโคซามีน อยากถาม รมว.สาธารณสุข ที่เป็นหมอว่าเอาข้อมูลวิชาการจากไหนมาตัดสินใจ เป็นสัญญาณบอกชัดเจนว่านโยบายลดความเหลื่อมล้ำ และปฏิรูประบบประกันสุขภาพ 3 กองทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นเพียงราคาคุยให้ดูดีเท่านั้น ท้ายที่สุดการกระทำจริงก็เอื้อประโยชน์บริษัทยาต่างชาติ
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยา เวชภัณฑ์ การเบิกจ่ายค่าตรวจวินิจฉัย และค่าบริการทางการแพทย์ มีมติเห็นชอบให้ใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟตได้ตามข้อบ่งชี้และมาตรฐานทางการแพทย์ ยกเลิกการลงทะเบียนผู้ป่วย 1 โรงพยาบาล 1 โรคเรื้อรัง และให้เพิ่มเติมข้อกำหนดอนุญาตใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย ว่า ขอขอบคุณที่เห็นใจผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้น้อยที่เกษียณอายุราชการ นอกจากบำเหน็จบำนาญแล้ว ก็ต้องการสิทธิสวัสดิการต่างๆ และการรักษาพยาบาลที่เป็นธรรม ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมบัญชีกลางไม่เข้าใจจึงมีความพยายามออกประกาศดังกล่าว ขณะนี้เมื่อทุกอย่างคลี่คลายก็จะไม่มีการดำเนินการฟ้องศาลปกครองตามที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้
พญ.ประชุมพร กล่าวอีกว่า แต่สิ่งที่ยังกังวล คือ คณะกรรมการกำหนดระบบบริหารยาฯ ยังมีมติเห็นชอบให้ควบคุมราคายาสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยจะใช้กลไกราคากลาง ทำกระบวนการซื้อยาให้ถูกลง โดยให้องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นตัวกลางในการจัดซื้อยา ซึ่งอาจมีการปรับกฎระเบียบ โดยให้เบิกจ่ายคืนเป็นยาแทนการเบิกเป็นเงินจากกรมบัญชีกลาง หรือให้ซื้อยาผ่าน อภ.ซึ่งตนเห็นด้วยเฉพาะกรณีจัดกลไกราคากลาง แต่ไม่เห็นด้วยหากจะให้อภ.เป็นตัวกลางในการจัดซื้อยาให้โรงพยาบาล เพราะมองว่า อภ.ไม่มีศักยภาพในการดูแลคุณภาพยาได้แท้จริง
“ต้องยอมรับว่า อภ.ไม่สามารถผลิตยาได้ทั้งหมด ต้องซื้อผ่านบริษัทยาอื่นๆ แต่กลับไม่มีระบบตรวจสอบคุณภาพเลย อย่างกรณีปัญหาขาดแคลนน้ำเกลือ อภ.ได้ส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ แต่ปรากฏว่า รพ.นครพิงค์ จ.เชียงใหม่ พบน้ำเกลือมีเชื้อรา มีสิ่งสกปรกเจือปนจนต้องส่งคืน ตรงนี้ควรเรียกคืนทั่วประเทศหรือไม่ แต่กลับนิ่งเฉย พอทวงถามก็ไม่ได้รับคำตอบ เพียงแต่เปลี่ยนน้ำเกลือใหม่ให้ รพ.นครพิงค์ เท่านั้น จึงอยากให้พิจารณาเรื่องนี้ด้วย” พญ.ประชุมพร กล่าว
น.ส.บุญยืน ศิริธรรม กรรมการหลักประกันสุขภาพสัดส่วนภาคประชาชน กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังต่อ รมว.สาธารณสุข ที่สั่งข้ามกระทรวง ให้กรมบัญชีกลางถอยต่อแรงกดดัน ยอมให้ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณปีละกว่า 700 ล้านบาท ทั้งที่เพิ่งประกาศนโยบายลดค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพของสวัสดิการข้าราชการที่ใช้งบประมาณค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าผู้ป่วยบัตรทองหลายเท่า การสั่งกระทรวงการคลังให้ถอยเรื่องยากลูโคซามีน อยากถาม รมว.สาธารณสุข ที่เป็นหมอว่าเอาข้อมูลวิชาการจากไหนมาตัดสินใจ เป็นสัญญาณบอกชัดเจนว่านโยบายลดความเหลื่อมล้ำ และปฏิรูประบบประกันสุขภาพ 3 กองทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นเพียงราคาคุยให้ดูดีเท่านั้น ท้ายที่สุดการกระทำจริงก็เอื้อประโยชน์บริษัทยาต่างชาติ