องคมนตรี เผย ไทยใช้หลักธรรมาภิบาลปกครองประเทศ ก่อนประชาคมโลก เหตุหลักธรรมาภิบาลเป็นหลักเดียวกับทศพิธราชธรรมที่ในหลวงใช้ปกครองประเทศมายาวนาน พร้อมมุ่งหวังให้ผู้นำยึดถือเพื่อบริหารประเทศให้ประชาชนเป็นสุข ด้าน “สุเมธ” วอนคนไทยอย่าเอาแต่ชื่นชมพระบารมี แต่ไม่ใส่ใจนำคำสอนไปปฏิบัติ เผย ทรงพยายามทำทุกอย่างเพื่อรักษาแผ่นดิน แต่ยังถูกกล่าวหาทำเกินหน้าที่ ไม่รู้คนพูดเอาอะไรคิด
วันนี้ (8 พ.ย.) เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้จัดโครงการปาฐกถาพิเศษเฉลิมพระเกียรติ โดย นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ทศพิธราชธรรม : ธรรมะสำหรับผู้นำองค์กร” ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงงานอย่างหนัก ดูได้จากพระราชกรณียกิจที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการทำงาน มุ่งมั่นทำเพื่อประชาชนพสกนิกรชาวไทย ตลอดการทรงงานพระองค์ทรงตั้งมั่นในหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งพระองค์ มองว่า หลักทศพิธราชธรรมไม่ใช่ธรรมะสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่ผู้บริหารและประชาชนสามารถนำหลักธรรมะดังกล่าวไปปฏิบัติได้เช่นกัน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สามารถแก้ความทุกข์ยากทางกาย และทางจิตใจ ของประชาชน ซึ่งเห็นได้จากการพระราชทานพระบรมราโชวาทในเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับประชาชน ทั้งนี้ พระองค์ยังทรงบำเพ็ญทานครบถ้วนทั้ง 2 ประเภท ทั้งธรรมทานวัตถุทาน ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารประเทศ และพระองค์ยังทรงเคร่งครัดในการรักษาศีล โดยตลอดการผนวช ทรงบำเพ็ญศีล บำเพ็ญทาน มีเมตตาอย่างต่อเนื่อง สละความสุขส่วนพระองค์ทรงงงานหนักเพื่อราษฎรโดยไม่มีวันหยุด
นอกจากนี้ พระองค์ทรงให้ความสำคัญในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริต บ้านเมืองจะอยู่ได้ต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน และการใช้ชีวิต อีกทั้งพระองค์ยังมีความตั้งใจ อุตสาหะ ในพระราชกรณียกิจต่างๆ โดยเฉพาะการลงพื้นที่ ทรงเยี่ยมพสกนิกรในท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะถิ่นทุรกันดาร เพราะต้องการทราบทุกข์สุข และความเดือดร้อนของประชาชน พร้อมพระราชทานความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน พระองค์ทรงปฏิบัติสิ่งใด จะทรงมุ่งมั่นมากแบบไม่มีเวลากลางวันกลางคืน ไม่มีวันเสาร์-อาทิตย์ และไม่เคยใช้อำนาจบาทใหญ่ในการปกครองประเทศ ไม่เคยประทุษร้ายผู้อื่นเลย ซึ่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และยึดหลักทศพิธราชธรรมาอย่างเคร่งครัด จะเห็นได้จากพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทรงตระหนักถึงสุขภาพ อนามัย ของประชาชนในประเทศ ว่า มีความสำคัญมากที่สุด ด้านการทหาร ทรงเข้าร่วมปฏิบัติรบต่อต้านการก่อการร้ายในพื้นที่ภาคเหนือโดยไม่มีความเกรงกลัวต่อภัยอันตราย
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น นับได้ว่าทศพิธราชธรรมไม่ใช่ธรรมะของพระมหากษัตริย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเปรียบเสมือนเป็นหลักธรรมะของผู้นำ ผู้ปกครอง ที่สามารถนำมาใช้ในการปกครองของประเทศ ปกครองตนเอง และปกครองสังคม เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและหมู่คณะได้ เพราะการที่จะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หลักทศพิธราชธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดความสงบสุข เพราะหากในหน่วยงานใดใช้ธรรมะในการปกครอง ก็จะช่วยนำความสุขมายังหน่วยงานนั้นๆ แต่หากหน่วยงานใดไม่มีหลักธรรรมะ ก็จะเกิดความวุ่นวาย ขาดความสงบสุข อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประชาคมโลก ให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลมีการเรียกร้องให้ทุกประเทศใช้หลักนี้ในการปกครองประเทศ ซึ่งถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าหลักการและวิธีปฏิบัติในหลักธรรมาภิบาลนั้นไม่ได้แตกต่างจากหลักทศพิธราชธรรม แต่เป็นเรื่องเดียวกัน โดยประเทศไทย พระมหากษัตริย์ได้ใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน ก่อนที่ประชาคมโลกจะเรียกร้องหลักธรรมาภิบาลเสียอีก
จากนั้นนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้บรรยายพิเศษในเรื่อง “ทศพิธราชธรรม : ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัว” ความตอนหนึ่งว่า เมื่อดูตามกฎหมายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีอำนาจไม่ต่างจากประชาชนทั่วไปมากเท่าใดนัก ซึ่งจะเห็นได้จากสิ่งที่พระองค์ท่านทรงตรัสไว้ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” ซึ่งคำกล่าวดังกล่าวไม่มีความหมายเชื่อมโยงถึงอำนาจเลย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทรงดูแลแผ่นดิน โดยใช้ความเมตตาและความรับผิดชอบอย่างสมบูรณ์แบบ เช่น เมื่อเกิดปัญหาดินเสื่อมพระองค์ท่านก็หาทางแก้ไข น้ำแล้งก็หาน้ำมาให้โดยการทำฝนหลวง ส่วนปัญหาน้ำท่วมพระองค์ท่านก็เคยมีรับสั่งไว้ตั้งแต่ปี 38 ถึงแนวทางแก้ไขปัญหา แต่ไม่มีใครทำอะไรเลยจน 17 ปีผ่านไป เกิดปัญหาเมื่อปีที่ผ่านมาเลยนึกขึ้นได้ นั่นเพราะเมื่อมีพระกระแสรับสั่งคนไทยจะซาบซึ้งที่ได้เห็นพระองค์ แต่ไม่เคยมอง ไม่เคยจำไปปฏิบัติ
นายสุเมธ ยังกล่าวด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดถือเรื่องของทศพิธราชธรรม เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะข้อที่ 10 อวิโรธนะ การไม่ยอมทำผิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยิ่งกว่าข้อกฎหมายเสียอีก เพราะเป็นการไม่ยอมกระทำผิดไม่ว่าจะทางหนึ่งทางใดก็ตาม หลายครั้งที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในบ้านเมือง มักมีคนโทรศัพท์มาถามตนว่า ทำไมพระองค์ไม่ออกมาทำอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อท่านทราบก็ทรงตรัสว่า ทำไม่ได้มันผิด เพราะบ้านเมืองยังมีทางออกอยู่ กฎหมายยังบังคับใช้ได้อยู่ ที่ผ่านมา พระองค์ท่านจะทรงออกมาแก้ไขปัญหาต่างๆ เมื่อกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้แล้วเท่านั้นเช่นเมื่อครั้งเกิดพฤษภาทิมฬ ก็จะทรงให้พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯเพื่อเตือนสติ ไม่เคยบอกชี้ว่าใครผิดใครถูก
ทั้งนี้ ตนมองว่า พระองค์มีสิทธิ์และหน้าที่ เพียง 3 ประการเท่านั้น คือ 1.หน้าที่ในการสั่งสอน ซึ่งพระองค์ท่านได้สอดแทรกคำสอนและคำแนะนำต่างๆ ในพระราชกระแสรับสั่ง เนื่องในโอกาสต่างๆ รวมถึงโครงการในพระราชดำริของพระองค์ท่าน และสิ่งที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติ ซึ่งสถาบันการศึกษา ในประเทศไทยไม่ได้หยิบยกมาเป็นหลักสูตรในการเรียนการสอนแต่กลับไปนำหลักสูตรของต่างชาติเข้ามา ซึ่งไม่สอดคล้องกับภูมิสังคม หรือ ความเป็นอยู่ของคนในประเทศไทย 2.การให้คำปรึกษากับคนทั่วไป และ 3.เมื่อเห็นภัยอันตรายต่างๆ พระองค์ท่านจะทรงเตือน เช่น เหตุการณ์ 14 ต.ค.16 พระองค์ท่านก็ทรงเตือน หรือ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 พระองค์ท่านก็ทรงบอกให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุด และให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ และตนก็รู้สึกไม่เข้าใจที่มีคนออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านวิทยุชุมชน และ เว็บไซต์ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำเกินหน้าที่นั้นเป็นไปได้อย่างไร ใช้สมองอะไรคิด เพราะไม่ว่าจะทำโครงการใดนั้น พระองค์ท่านจะไม่ทำซ้ำซ้อนกับหน่วยงานราชการทั้งสิ้น และคำสอนของพระองค์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่เคยเปลี่ยน ทั้งวิถีการพัฒนาที่ชื่นชมการเกษตร แต่ผู้นำของประเทศเราก็อยากให้ประเทศไทยเป็นเสือ จึงเปลี่ยนประเทศเป็นประเทศอุตสาหกรรมโดยที่ไม่รู้ว่าทุกวันนี้โลกจะเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร จึงถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะในอดีตประเทศไทยถือเป็น 1 ใน 7 ประเทศที่มีทรัพยากรเกินทุกด้าน หากยังเน้นการเกษตรอยู่ เมื่อของขายไม่ได้ ก็ยังมีอาหารไว้กิน แต่เมื่อเป็นประเทศอุตสาหกรรม เราต้องไปง้อตลาด
“ พระองค์ทรงทำทุกอย่างเพื่อรักษาแผ่นดินไว้ ทรงแก้วิกฤตปัญหาในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ก็ขอให้คนไทยใส่ใจเรียนรู้ อย่างเพียงชื่นชมพระบารมีแล้วทำน้ำหูน้ำตาไหลอย่างเดียวให้เอาองค์ความรู้ที่พระองค์ท่านพระราชทาน ไปปรับใช้ เพราะ นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ยังยกย่องว่า งานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่เพื่อคนไทยเท่านั้น แต่เป็นประโยชน์สำหรับคนทั้งโลก และในขณะนี้ก็มีมหาวิทยาลัยจากต่างชาติได้ติดต่อเข้ามาเพื่อขอนำองค์ความรู้ไปช่วยประเทศต่างๆ รวมถึงสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตรัสเสมอ คือ การให้ครองสติกำจัดกิเลสให้มีแต่พอดีแล้วจะมีความสุข”
วันนี้ (8 พ.ย.) เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้จัดโครงการปาฐกถาพิเศษเฉลิมพระเกียรติ โดย นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “ทศพิธราชธรรม : ธรรมะสำหรับผู้นำองค์กร” ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงงานอย่างหนัก ดูได้จากพระราชกรณียกิจที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการทำงาน มุ่งมั่นทำเพื่อประชาชนพสกนิกรชาวไทย ตลอดการทรงงานพระองค์ทรงตั้งมั่นในหลักทศพิธราชธรรม ซึ่งพระองค์ มองว่า หลักทศพิธราชธรรมไม่ใช่ธรรมะสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่ผู้บริหารและประชาชนสามารถนำหลักธรรมะดังกล่าวไปปฏิบัติได้เช่นกัน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สามารถแก้ความทุกข์ยากทางกาย และทางจิตใจ ของประชาชน ซึ่งเห็นได้จากการพระราชทานพระบรมราโชวาทในเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับประชาชน ทั้งนี้ พระองค์ยังทรงบำเพ็ญทานครบถ้วนทั้ง 2 ประเภท ทั้งธรรมทานวัตถุทาน ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารประเทศ และพระองค์ยังทรงเคร่งครัดในการรักษาศีล โดยตลอดการผนวช ทรงบำเพ็ญศีล บำเพ็ญทาน มีเมตตาอย่างต่อเนื่อง สละความสุขส่วนพระองค์ทรงงงานหนักเพื่อราษฎรโดยไม่มีวันหยุด
นอกจากนี้ พระองค์ทรงให้ความสำคัญในเรื่องของความซื่อสัตย์สุจริต บ้านเมืองจะอยู่ได้ต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน และการใช้ชีวิต อีกทั้งพระองค์ยังมีความตั้งใจ อุตสาหะ ในพระราชกรณียกิจต่างๆ โดยเฉพาะการลงพื้นที่ ทรงเยี่ยมพสกนิกรในท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะถิ่นทุรกันดาร เพราะต้องการทราบทุกข์สุข และความเดือดร้อนของประชาชน พร้อมพระราชทานความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน พระองค์ทรงปฏิบัติสิ่งใด จะทรงมุ่งมั่นมากแบบไม่มีเวลากลางวันกลางคืน ไม่มีวันเสาร์-อาทิตย์ และไม่เคยใช้อำนาจบาทใหญ่ในการปกครองประเทศ ไม่เคยประทุษร้ายผู้อื่นเลย ซึ่ง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และยึดหลักทศพิธราชธรรมาอย่างเคร่งครัด จะเห็นได้จากพระองค์ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทรงตระหนักถึงสุขภาพ อนามัย ของประชาชนในประเทศ ว่า มีความสำคัญมากที่สุด ด้านการทหาร ทรงเข้าร่วมปฏิบัติรบต่อต้านการก่อการร้ายในพื้นที่ภาคเหนือโดยไม่มีความเกรงกลัวต่อภัยอันตราย
ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น นับได้ว่าทศพิธราชธรรมไม่ใช่ธรรมะของพระมหากษัตริย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเปรียบเสมือนเป็นหลักธรรมะของผู้นำ ผู้ปกครอง ที่สามารถนำมาใช้ในการปกครองของประเทศ ปกครองตนเอง และปกครองสังคม เพื่อประโยชน์สุขแก่ตนเองและหมู่คณะได้ เพราะการที่จะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หลักทศพิธราชธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดความสงบสุข เพราะหากในหน่วยงานใดใช้ธรรมะในการปกครอง ก็จะช่วยนำความสุขมายังหน่วยงานนั้นๆ แต่หากหน่วยงานใดไม่มีหลักธรรรมะ ก็จะเกิดความวุ่นวาย ขาดความสงบสุข อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประชาคมโลก ให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลมีการเรียกร้องให้ทุกประเทศใช้หลักนี้ในการปกครองประเทศ ซึ่งถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าหลักการและวิธีปฏิบัติในหลักธรรมาภิบาลนั้นไม่ได้แตกต่างจากหลักทศพิธราชธรรม แต่เป็นเรื่องเดียวกัน โดยประเทศไทย พระมหากษัตริย์ได้ใช้หลักธรรมในการปกครองประเทศมาอย่างยาวนาน ก่อนที่ประชาคมโลกจะเรียกร้องหลักธรรมาภิบาลเสียอีก
จากนั้นนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้บรรยายพิเศษในเรื่อง “ทศพิธราชธรรม : ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัว” ความตอนหนึ่งว่า เมื่อดูตามกฎหมายแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีอำนาจไม่ต่างจากประชาชนทั่วไปมากเท่าใดนัก ซึ่งจะเห็นได้จากสิ่งที่พระองค์ท่านทรงตรัสไว้ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” ซึ่งคำกล่าวดังกล่าวไม่มีความหมายเชื่อมโยงถึงอำนาจเลย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทรงดูแลแผ่นดิน โดยใช้ความเมตตาและความรับผิดชอบอย่างสมบูรณ์แบบ เช่น เมื่อเกิดปัญหาดินเสื่อมพระองค์ท่านก็หาทางแก้ไข น้ำแล้งก็หาน้ำมาให้โดยการทำฝนหลวง ส่วนปัญหาน้ำท่วมพระองค์ท่านก็เคยมีรับสั่งไว้ตั้งแต่ปี 38 ถึงแนวทางแก้ไขปัญหา แต่ไม่มีใครทำอะไรเลยจน 17 ปีผ่านไป เกิดปัญหาเมื่อปีที่ผ่านมาเลยนึกขึ้นได้ นั่นเพราะเมื่อมีพระกระแสรับสั่งคนไทยจะซาบซึ้งที่ได้เห็นพระองค์ แต่ไม่เคยมอง ไม่เคยจำไปปฏิบัติ
นายสุเมธ ยังกล่าวด้วยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดถือเรื่องของทศพิธราชธรรม เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะข้อที่ 10 อวิโรธนะ การไม่ยอมทำผิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยิ่งกว่าข้อกฎหมายเสียอีก เพราะเป็นการไม่ยอมกระทำผิดไม่ว่าจะทางหนึ่งทางใดก็ตาม หลายครั้งที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในบ้านเมือง มักมีคนโทรศัพท์มาถามตนว่า ทำไมพระองค์ไม่ออกมาทำอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อท่านทราบก็ทรงตรัสว่า ทำไม่ได้มันผิด เพราะบ้านเมืองยังมีทางออกอยู่ กฎหมายยังบังคับใช้ได้อยู่ ที่ผ่านมา พระองค์ท่านจะทรงออกมาแก้ไขปัญหาต่างๆ เมื่อกฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ได้แล้วเท่านั้นเช่นเมื่อครั้งเกิดพฤษภาทิมฬ ก็จะทรงให้พล.อ.สุจินดา คราประยูร และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯเพื่อเตือนสติ ไม่เคยบอกชี้ว่าใครผิดใครถูก
ทั้งนี้ ตนมองว่า พระองค์มีสิทธิ์และหน้าที่ เพียง 3 ประการเท่านั้น คือ 1.หน้าที่ในการสั่งสอน ซึ่งพระองค์ท่านได้สอดแทรกคำสอนและคำแนะนำต่างๆ ในพระราชกระแสรับสั่ง เนื่องในโอกาสต่างๆ รวมถึงโครงการในพระราชดำริของพระองค์ท่าน และสิ่งที่พระองค์ท่านทรงปฏิบัติ ซึ่งสถาบันการศึกษา ในประเทศไทยไม่ได้หยิบยกมาเป็นหลักสูตรในการเรียนการสอนแต่กลับไปนำหลักสูตรของต่างชาติเข้ามา ซึ่งไม่สอดคล้องกับภูมิสังคม หรือ ความเป็นอยู่ของคนในประเทศไทย 2.การให้คำปรึกษากับคนทั่วไป และ 3.เมื่อเห็นภัยอันตรายต่างๆ พระองค์ท่านจะทรงเตือน เช่น เหตุการณ์ 14 ต.ค.16 พระองค์ท่านก็ทรงเตือน หรือ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 พระองค์ท่านก็ทรงบอกให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุด และให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ และตนก็รู้สึกไม่เข้าใจที่มีคนออกมาแสดงความคิดเห็นผ่านวิทยุชุมชน และ เว็บไซต์ ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำเกินหน้าที่นั้นเป็นไปได้อย่างไร ใช้สมองอะไรคิด เพราะไม่ว่าจะทำโครงการใดนั้น พระองค์ท่านจะไม่ทำซ้ำซ้อนกับหน่วยงานราชการทั้งสิ้น และคำสอนของพระองค์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่เคยเปลี่ยน ทั้งวิถีการพัฒนาที่ชื่นชมการเกษตร แต่ผู้นำของประเทศเราก็อยากให้ประเทศไทยเป็นเสือ จึงเปลี่ยนประเทศเป็นประเทศอุตสาหกรรมโดยที่ไม่รู้ว่าทุกวันนี้โลกจะเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร จึงถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะในอดีตประเทศไทยถือเป็น 1 ใน 7 ประเทศที่มีทรัพยากรเกินทุกด้าน หากยังเน้นการเกษตรอยู่ เมื่อของขายไม่ได้ ก็ยังมีอาหารไว้กิน แต่เมื่อเป็นประเทศอุตสาหกรรม เราต้องไปง้อตลาด
“ พระองค์ทรงทำทุกอย่างเพื่อรักษาแผ่นดินไว้ ทรงแก้วิกฤตปัญหาในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ก็ขอให้คนไทยใส่ใจเรียนรู้ อย่างเพียงชื่นชมพระบารมีแล้วทำน้ำหูน้ำตาไหลอย่างเดียวให้เอาองค์ความรู้ที่พระองค์ท่านพระราชทาน ไปปรับใช้ เพราะ นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ยังยกย่องว่า งานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ใช่เพื่อคนไทยเท่านั้น แต่เป็นประโยชน์สำหรับคนทั้งโลก และในขณะนี้ก็มีมหาวิทยาลัยจากต่างชาติได้ติดต่อเข้ามาเพื่อขอนำองค์ความรู้ไปช่วยประเทศต่างๆ รวมถึงสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตรัสเสมอ คือ การให้ครองสติกำจัดกิเลสให้มีแต่พอดีแล้วจะมีความสุข”