โพลชี้ความรุนแรงในละครแรงเงา มีผลต่อพฤติกรรมของเยาวชน ร้อยละ 51.69 แนะการกำหนดเรตติ้งของละคร ช่วยลดปัญหาได้ ร้อยละ 38.29 เสนอผู้จัดละคร ลดฉากรุนแรง
จากกรณีเหตุการณ์เศร้าสลด เด็กวัย 8 ขวบ ผูกคอตาย โดยเบื้องต้นคาดว่าเกิดจากพฤติกรรมเลียนแบบละครแรงเงา และรายการคนอวดผี ซึ่งมีหลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสังคมไทย “ประสานมิตรโพล” คณะสังคมศาสตร์ มศว ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของ ผู้ปกครอง จำนวน 184 คน เยาวชน จำนวน 532 คน และประชาชนทั่วไป จำนวน 478 คน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,194 คน ระหว่างวันที่ 3-5 พฤศจิกายน 2555
สรุปผลได้ดังนี้ เด็กอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์/นึกสนุก/อยากลองอยากทำตาม 38.14% สาเหตุน่าจะเกิดจากการปล่อยให้บุตรหลานดูทีวีตามลำพัง โดยไม่มีผู้ปกครองให้คำแนะนำ หรือให้การดูแลอย่างใกล้ชิด 34.88% เด็กอาจจะมีปัญหาอื่นๆ เช่น ทะเลาะกับเพื่อน เครียด สุขภาพจิต 20.11% สื่ออาจมีผลอยู่บ้าง เพราะมีเนื้อหารุนแรง มีตัวอย่างให้เห็น 4.56% อื่นๆ เช่น สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็ก, การใช้เวลาว่างของเด็กที่ไม่เกิดประโยชน์ เป็นต้น 2.32% สำหรับการกำหนดเรตติ้งของรายการหรือละครโทรทัศน์ ผู้ปกครอง เยาวชน และประชาชน คิดว่า ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสังคม ปัญหาการลอกเลียนแบบที่เกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด? เชื่อช่วยลดปัญหาได้พอสมควร 38.29% ไม่น่าจะช่วยลดปัญหาได้ 31.79% ลดปัญหาไม่ได้เลย 24.27% ช่วยลดปัญหาได้มาก 5.64%
ผู้ปกครอง เยาวชน และประชาชน เห็นว่า การนำเสนอพฤติกรรมความรุนแรงในละครโทรทัศน์ มีผลต่อพฤติกรรมของเยาวชนมากน้อยเพียงใด? มีผลบ้าง 51.69% เพราะเด็กเห็นเป็นตัวอย่าง, หากผู้ปกครองไม่ดูแลอย่างใกล้ชิด หรือมีปัญหาครอบครัว อาจทำให้เด็กติดสื่อหรือละครแล้วแสดงพฤติกรรมเลียนแบบได้ง่าย ฯลฯ มีผลมาก 36.10% เพราะเด็กเกิดการเรียนรู้และมีพฤติกรรมเลียนแบบได้ง่าย, เด็กไม่สามารถแยกแยะเรื่องจริงกับละครเองได้, สื่อมีอิทธิพลและมีผลอย่างมากกับเยาวชนที่ขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง ฯลฯ ไม่ค่อยมีผล 9.32% เพราะ มีเรตติ้งระบุชัดเจนว่า ละครไม่เหมาะสำหรับเด็กต่ำกว่า 13 ปี, พฤติกรรมในละครมีให้เห็นอยู่ในสังคมทั่วไป, ถ้าผู้ปกครองดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีคงไม่เกิดเรื่องขึ้น ฯลฯ ไม่มีผลเลย 2.88% เพราะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่น่าจะมาจากการดูละครเพียงอย่างเดียว อาจมีเหตุผลอื่นประกอบด้วย ฯลฯ
สิ่งที่ เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชน ต้องการให้ “หน่วยงานภาครัฐ” ควรปฏิบัติดังนี้ ตรวจสอบ/ควบคุมเนื้อหาก่อนออกอากาศ ดูแลสื่ออย่างเข้มงวด 38.58% รณรงค์ให้เยาวชน ผู้ปกครองและประชาชนรู้เท่าทันสื่อ และควรเชิญสื่อมาร่วมให้ความรู้ คำแนะนำด้วย 23.14% ควรกำหนดเวลาฉายละครหลังข่าวใหม่/ควรย้ายไปเวลาดึกกว่านี้ 19.44% กำหนดบทลงโทษผู้จัดละครหรือสถานีโทรทัศน์ที่ฝ่าฝืนอย่างเข้มงวดและจริงจัง 18.84%
สิ่งที่ เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชน ต้องการให้ “ผู้จัดละคร/สถานีโทรทัศน์” ควรปฏิบัติดังนี้ ควรนำเสนอละครที่มีสาระประโยชน์ สอดแทรกเนื้อหาที่มีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อเป็นแบบอย่างของเยาวชนให้มากกว่านี้ 30.71% ละครที่มีเนื้อหารุนแรง ควรมีคำเตือน คำแนะนำปรากฎขึ้นระหว่างออกอากาศ 25.65% ควรลด /ตัดฉาก หรือเซนเซอร์ภาพที่มีพฤติกรรมความรุนแรงให้เหลือน้อยที่สุด 25.30% มีสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม /ผลที่เกิดขึ้นภายหลังละครออกอากาศ 18.34% สิ่งที่ เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชน ต้องการให้ “ผู้ปกครอง” ควรปฏิบัติดังนี้ ควรสอดส่อง หรือสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานอย่างสม่ำเสมอ 30.09% ควรมีเวลาดูแล เอาใจใส่อย่างใกล้ชิด/อบรมสั่งสอนบุตรหลานให้มากขึ้น 28.85% ควรเลือกรายการที่มีสาระ มีเนื้อหาสร้างสรรค์ให้บุตรหลาน 25.03% ไม่ควรปล่อยให้เด็กดูทีวีตามลำพัง ควรให้คำชี้แนะหรือนั่งดูพร้อมผู้ปกครอง ละครมีเรตติ้งกำหนดไว้แล้ว ผู้ปกครองควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 16.02%