พะเยา - “แม่ญิงพะเยา” วอน “รัฐ-เอกชน-องค์กรท้องถิ่น” หนุนภูมิปัญญาเข้มแข็งสู้กระแส AEC แนะจัดทำท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ แทนเน้นเฉพาะการค้า การลงทุน
นางสุภัคสร วรรณปลูก ประธานเครือข่ายแม่ญิงพะเยา กล่าวว่า ขณะนี้กระแสการตื่นตัวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำลังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามีหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนกำลังประโคมเรื่องนี้กันอย่างมาก เช่น การจัดการประชุม สัมมนา อบรมต่างๆ เพื่อศึกษาความเป็นมา และการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับมือการมาของ AEC ในปี 2558
อย่างไรก็ตาม ขณะที่หลายฝ่ายทั้งรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างตื่นเต้นกับเรื่องนี้อย่างคึกคัก อีกด้านหนึ่งตนมองว่าสิ่งที่เป็นจุดแข็งของไทยในด้านวัฒนธรรมคือภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาการแพทย์โบราณ หรือหมอเมือง สารพัด รวมไปถึงวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของแต่ละท้องถิ่น สามารถใช้เป็นจุดแข็งต้อนรับ AEC ได้อย่างดีนอกเหนือจากธุรกิจเชิงพาณิชย์อื่นๆ
ปธ.เครือข่ายแม่ญิงพะเยากล่าวต่อว่า การมาของ AEC ในมุมมองของแม่ญิงพะเยา คิดว่านอกจากการมองด้านเศรษฐกิจที่เป็นการค้าขายแล้ว ควรต้องปลุกกระแสเรื่องการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง ไม่ให้สูญหาย หรือไม่ให้ถูกลดความสำคัญสวนทางกับ AEC
“การที่เน้นรักษาจุดแข็งของประเทศไว้ ดิฉันมองว่าจะสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว และนำไปสู่การสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่มีวัฒนธรรมอันดีงามหลายแห่งได้”
ที่สำคัญ ภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทยาสมุนไพร หมอเมือง อาหาร หรือเสื้อผ้าพื้นเมืองของชาติพันธุ์ต่างๆ ยิ่งต้องอนุรักษ์และสืบสานไม่ให้เกิดการลอกเลียนแบบ
ดังนั้น หากรัฐบาลจะรับมือกับ AEC จะต้องส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามให้เป็นจุดแข็งที่โดดเด่นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไม่ซ้ำกับที่แห่งใด ซึ่งมั่นใจว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศไทยเพราะมีวัฒนธรรมที่งดงาม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าค้นหาคงอยู่อย่างเข้มแข็งให้พวกเขาได้มาเรียนรู้และรักวัฒนธรรมไทยยิ่งขึ้น
นางสุภัคสร วรรณปลูก ประธานเครือข่ายแม่ญิงพะเยา กล่าวว่า ขณะนี้กระแสการตื่นตัวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำลังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามีหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนกำลังประโคมเรื่องนี้กันอย่างมาก เช่น การจัดการประชุม สัมมนา อบรมต่างๆ เพื่อศึกษาความเป็นมา และการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรับมือการมาของ AEC ในปี 2558
อย่างไรก็ตาม ขณะที่หลายฝ่ายทั้งรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างตื่นเต้นกับเรื่องนี้อย่างคึกคัก อีกด้านหนึ่งตนมองว่าสิ่งที่เป็นจุดแข็งของไทยในด้านวัฒนธรรมคือภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิต ภูมิปัญญาการแพทย์โบราณ หรือหมอเมือง สารพัด รวมไปถึงวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของแต่ละท้องถิ่น สามารถใช้เป็นจุดแข็งต้อนรับ AEC ได้อย่างดีนอกเหนือจากธุรกิจเชิงพาณิชย์อื่นๆ
ปธ.เครือข่ายแม่ญิงพะเยากล่าวต่อว่า การมาของ AEC ในมุมมองของแม่ญิงพะเยา คิดว่านอกจากการมองด้านเศรษฐกิจที่เป็นการค้าขายแล้ว ควรต้องปลุกกระแสเรื่องการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง ไม่ให้สูญหาย หรือไม่ให้ถูกลดความสำคัญสวนทางกับ AEC
“การที่เน้นรักษาจุดแข็งของประเทศไว้ ดิฉันมองว่าจะสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว และนำไปสู่การสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่มีวัฒนธรรมอันดีงามหลายแห่งได้”
ที่สำคัญ ภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทยาสมุนไพร หมอเมือง อาหาร หรือเสื้อผ้าพื้นเมืองของชาติพันธุ์ต่างๆ ยิ่งต้องอนุรักษ์และสืบสานไม่ให้เกิดการลอกเลียนแบบ
ดังนั้น หากรัฐบาลจะรับมือกับ AEC จะต้องส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามให้เป็นจุดแข็งที่โดดเด่นเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไม่ซ้ำกับที่แห่งใด ซึ่งมั่นใจว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศไทยเพราะมีวัฒนธรรมที่งดงาม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าค้นหาคงอยู่อย่างเข้มแข็งให้พวกเขาได้มาเรียนรู้และรักวัฒนธรรมไทยยิ่งขึ้น