“ปวีณา” นำผู้เสียหายร้องปลัด สธ.ขอความเป็นธรรม ด้าน “หัวเฉียว” โดนแฉหนัก 2 กรณี ให้เลือดเด็กแรกเกิดชุ่ยจนติดเชื้อเอชไอวีนาน 21 ปี อีกรายฉีดยาผิดจนมีหนองขึ้นเต็มตัว “หมอณรงค์” สั่งศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ตรวจสอบสาเหตุทุกกรณี ยันให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย
วันนี้ (31 ต.ค.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้นำผู้ร้องทุกข์ 6 ราย เข้าร้องขอความเป็นธรรมต่อ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ใน 6 กรณี คือ 1.นางสถิต โพธิ์งาม อายุ 34 ปี คลอดบุตรในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ซึ่งบุตรคลอดออกมาได้เพียง 1 วัน ก็เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ขณะนี้ส่งศพไปชันสูตรที่ รพ.ตำรวจ แล้ว 2.นางรัตนา สาฉลาด อายุ 35 ปี คลอดบุตรได้เพียง 2 ชั่วโมง ก็เสียชีวิตที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง หลังส่งชันสูตรที่ รพ.ศิริราช พบระบบทางเดินหายใจล้มเหลว 3.นางอร่ามศรี (นามสมมติ) อายุ 53 ปี พบบุตรติดเชื้อเอชไอวีจากการให้เลือดของ รพ.เอกชนชื่อดังตั้งแต่แรกเกิด กระทั่งโตมาก็ยังติดเชื้อ ซึ่ง รพ.ไม่รับผิดชอบต่อเนื่อง 4.นางจันธรธิมา สาดสระน้อย อายุ 30 ปี เหตุแพทย์ทำคลอดแล้วพี่สาวเสียชีวิตที่ รพ.รัฐ 5.นางทับทิม แสงสุวรรณ เหตุหลานสาวมีอาการแพ้ปลาร้า แต่หมอ รพ.เอกชนกลับฉีดยาให้ผิดจนเป็นหนองทั้งตัว และ 6.นางนวลจันทร์ คงเพ็ง อายุ 23 ปี คลอดบุตรที่ รพ.รัฐได้ 4 ชั่วโมงก็เสียชีวิตลง โดยไม่ทราบสาเหตุและกำลังส่งศพไปชันสูตรที่ รพ.ตำรวจ
นางปวีณา กล่าวว่า อยากขอความเป็นธรรมกับ สธ.ในฐานะที่ดูแลระบบสุขภาพโดยภาพรวม เพราะทุกกรณีมีความทุกข์ยากทั้งสิ้น ทั้งกรณีติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งไม่ใช่ความผิดของเด็กเลย จึงอยากให้ รพ.รับผิดชอบด้วย เนื่องจากเด็กต้องติดเชื้อ และต้องรับยาไปตลอดชีวิต
นางอร่ามศรี กล่าวว่า ตนไปคลอดบุตรก่อนกำหนดที่ รพ.หัวเฉียว กรุงเทพฯ เมื่อปี 2534 ทำให้บุตรตัวเหลืองไม่แข็งแรง หมอจึงให้เลือด 2-3 ถุง ซึ่งบุตรเป็นเด็กที่ไม่แข็งแรงเจ็บป่วยตลอด ทำให้เมื่อตอนที่บุตรอายุได้ 7 ขวบ จึงพาไปตรวจและพบว่าบุตรติดเชื้อเอชไอวี จึงไปบอกทางโรงพยาบาลซึ่งก็ยอมรับ แต่บอกให้ตนออกค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วจึงมาเบิก โดยบุตรต้องรักษาตัวที่ รพ.เด็กมาโดยตลอด แต่ช่วงนี้บุตรก็โตจนอายุ 21 ปีแล้ว ทั้งนี้ บุตรเพิ่งทราบว่าตัวเองติดโรคเมื่อตอนอายุ 16 ปี ทำให้ต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก เวลาทางโรงเรียนจะตรวจเลือดก็ต้องบอกว่าไปตรวจที่โรงพยาบาลมาแล้ว เนื่องจากไม่อยากให้เพื่อนคนอื่นรู้ และเมื่อตนที่บุตรทราบว่าตัวเองป่วยนั้นก็อยากจะฆ่าตัวตาย และตอนนี้ก็ไม่มีเงินจะรักษาบุตรแล้ว เพราะบุตรต้องรับยาเดือนละ 3 ครั้ง โดยทางโรงพยาบาลไม่เคยมาเหลียวแล
นางทับทิม กล่าวว่า น.ส.จารุวรรณ โกติละออง อายุ 16 ปี น้องสาวไปพบแพทย์ที่ รพ.หัวเฉียว กรุงเทพฯ ด้วยอาการแพ้ปลาร้าแพทย์จึงฉีดยาแก้แพ้ให้ แต่หลังฉีดยาน้องสาวก็มีผื่นขึ้นและเริ่มเป็นหนอง ซึ่งตอนนี้ตามตัวของน้องมีหนองเกิดขึ้นเต็มตัว ซึ่งคาดว่าจะเกิดจากการฉีดยาผิดซึ่งตอนนี้ย้ายไปอยู่ที่ รพ.ศรีสังวร จ.สุโขทัย แล้ว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจกับทุกกรณี และจากเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าว ได้มอบหมายให้ทางศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ซึ่งมี นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัด สธ.เป็นผู้ดูแล โดยจะลงไปแต่ละ รพ.ตรวจสอบ ว่า กรณีต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งจะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ด้าน นพ.โสภณ กล่าวว่า หลังจากนี้ จะให้เจ้าหน้าที่ สธ.ที่เกี่ยวข้องลงไปตรวจสอบว่าปัญหาเกิดจากสาเหตุใด อย่างเรื่องการติดเชื้อเอชไอวีนั้น โดยปกติไม่ได้ติดกันง่ายๆ เพราะปัจจุบันมีระบบการทดสอบเลือดว่าปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ต้องลงไปดูในรายละเอียดว่า ผิดพลาดที่ส่วนใด
สำหรับมูลนิธิปวีณาฯ รับเรื่องราวร้องทุกข์และขอความช่วยเหลือต่างๆ ประมาณเดือนละ 600-700 ราย ทั้งกรณีถูกข่มขืน กระทำอนาจาร การค้ามนุษย์ในประเทศไทยและข้ามชาติ การทำร้ายร่างกาย การกักขัง แรงงานไม่เป็นธรรม แชตอินเทอร์เน็ตติดโลกออนไลน์ และปัญหาครอบครัวประมาณ
วันนี้ (31 ต.ค.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้นำผู้ร้องทุกข์ 6 ราย เข้าร้องขอความเป็นธรรมต่อ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ใน 6 กรณี คือ 1.นางสถิต โพธิ์งาม อายุ 34 ปี คลอดบุตรในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ซึ่งบุตรคลอดออกมาได้เพียง 1 วัน ก็เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ขณะนี้ส่งศพไปชันสูตรที่ รพ.ตำรวจ แล้ว 2.นางรัตนา สาฉลาด อายุ 35 ปี คลอดบุตรได้เพียง 2 ชั่วโมง ก็เสียชีวิตที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง หลังส่งชันสูตรที่ รพ.ศิริราช พบระบบทางเดินหายใจล้มเหลว 3.นางอร่ามศรี (นามสมมติ) อายุ 53 ปี พบบุตรติดเชื้อเอชไอวีจากการให้เลือดของ รพ.เอกชนชื่อดังตั้งแต่แรกเกิด กระทั่งโตมาก็ยังติดเชื้อ ซึ่ง รพ.ไม่รับผิดชอบต่อเนื่อง 4.นางจันธรธิมา สาดสระน้อย อายุ 30 ปี เหตุแพทย์ทำคลอดแล้วพี่สาวเสียชีวิตที่ รพ.รัฐ 5.นางทับทิม แสงสุวรรณ เหตุหลานสาวมีอาการแพ้ปลาร้า แต่หมอ รพ.เอกชนกลับฉีดยาให้ผิดจนเป็นหนองทั้งตัว และ 6.นางนวลจันทร์ คงเพ็ง อายุ 23 ปี คลอดบุตรที่ รพ.รัฐได้ 4 ชั่วโมงก็เสียชีวิตลง โดยไม่ทราบสาเหตุและกำลังส่งศพไปชันสูตรที่ รพ.ตำรวจ
นางปวีณา กล่าวว่า อยากขอความเป็นธรรมกับ สธ.ในฐานะที่ดูแลระบบสุขภาพโดยภาพรวม เพราะทุกกรณีมีความทุกข์ยากทั้งสิ้น ทั้งกรณีติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งไม่ใช่ความผิดของเด็กเลย จึงอยากให้ รพ.รับผิดชอบด้วย เนื่องจากเด็กต้องติดเชื้อ และต้องรับยาไปตลอดชีวิต
นางอร่ามศรี กล่าวว่า ตนไปคลอดบุตรก่อนกำหนดที่ รพ.หัวเฉียว กรุงเทพฯ เมื่อปี 2534 ทำให้บุตรตัวเหลืองไม่แข็งแรง หมอจึงให้เลือด 2-3 ถุง ซึ่งบุตรเป็นเด็กที่ไม่แข็งแรงเจ็บป่วยตลอด ทำให้เมื่อตอนที่บุตรอายุได้ 7 ขวบ จึงพาไปตรวจและพบว่าบุตรติดเชื้อเอชไอวี จึงไปบอกทางโรงพยาบาลซึ่งก็ยอมรับ แต่บอกให้ตนออกค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วจึงมาเบิก โดยบุตรต้องรักษาตัวที่ รพ.เด็กมาโดยตลอด แต่ช่วงนี้บุตรก็โตจนอายุ 21 ปีแล้ว ทั้งนี้ บุตรเพิ่งทราบว่าตัวเองติดโรคเมื่อตอนอายุ 16 ปี ทำให้ต้องใช้ชีวิตด้วยความยากลำบาก เวลาทางโรงเรียนจะตรวจเลือดก็ต้องบอกว่าไปตรวจที่โรงพยาบาลมาแล้ว เนื่องจากไม่อยากให้เพื่อนคนอื่นรู้ และเมื่อตนที่บุตรทราบว่าตัวเองป่วยนั้นก็อยากจะฆ่าตัวตาย และตอนนี้ก็ไม่มีเงินจะรักษาบุตรแล้ว เพราะบุตรต้องรับยาเดือนละ 3 ครั้ง โดยทางโรงพยาบาลไม่เคยมาเหลียวแล
นางทับทิม กล่าวว่า น.ส.จารุวรรณ โกติละออง อายุ 16 ปี น้องสาวไปพบแพทย์ที่ รพ.หัวเฉียว กรุงเทพฯ ด้วยอาการแพ้ปลาร้าแพทย์จึงฉีดยาแก้แพ้ให้ แต่หลังฉีดยาน้องสาวก็มีผื่นขึ้นและเริ่มเป็นหนอง ซึ่งตอนนี้ตามตัวของน้องมีหนองเกิดขึ้นเต็มตัว ซึ่งคาดว่าจะเกิดจากการฉีดยาผิดซึ่งตอนนี้ย้ายไปอยู่ที่ รพ.ศรีสังวร จ.สุโขทัย แล้ว
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจกับทุกกรณี และจากเรื่องร้องทุกข์ดังกล่าว ได้มอบหมายให้ทางศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ซึ่งมี นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัด สธ.เป็นผู้ดูแล โดยจะลงไปแต่ละ รพ.ตรวจสอบ ว่า กรณีต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งจะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ด้าน นพ.โสภณ กล่าวว่า หลังจากนี้ จะให้เจ้าหน้าที่ สธ.ที่เกี่ยวข้องลงไปตรวจสอบว่าปัญหาเกิดจากสาเหตุใด อย่างเรื่องการติดเชื้อเอชไอวีนั้น โดยปกติไม่ได้ติดกันง่ายๆ เพราะปัจจุบันมีระบบการทดสอบเลือดว่าปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ต้องลงไปดูในรายละเอียดว่า ผิดพลาดที่ส่วนใด
สำหรับมูลนิธิปวีณาฯ รับเรื่องราวร้องทุกข์และขอความช่วยเหลือต่างๆ ประมาณเดือนละ 600-700 ราย ทั้งกรณีถูกข่มขืน กระทำอนาจาร การค้ามนุษย์ในประเทศไทยและข้ามชาติ การทำร้ายร่างกาย การกักขัง แรงงานไม่เป็นธรรม แชตอินเทอร์เน็ตติดโลกออนไลน์ และปัญหาครอบครัวประมาณ