จีนเสนอเงินกู้ก้อนโต ให้ไทยซื้อแท็บเล็ตแจกนักเรียนครบทุกชั้นปี ขณะที่ นายกฯ ยังไม่ตัดสินใจ สั่ง ศธ.ศึกษาข้อดี-เสีย-ความเป็นไปได้ พร้อมเรียก “พงศ์เทพ-เสริมศักดิ์” และผู้บริหารองค์กรหลักเข้าพบที่ทำเนียบ ติดตามความคืบหน้านโยบายสำคัญของรัฐบาล 2 เรื่อง กองทุนตั้งตัวได้และโครงการแจกแท็บเล็ต
นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียก นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ และ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) พร้อมตน เข้าพบที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อติดตามการทำงานของ ศธ.ตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการจัดหาเครื่องแท็บเล็ตให้นักเรียน One Tablet pc per Child ซึ่งนายกฯ ได้สอบถามความคืบหน้าในการจัดส่งเครื่องแท็บเล็ตประจำปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมา จำนวน 900,000 เครื่อง ซึ่ง สพฐ.ได้รายงานว่า เครื่องแท็บเล็ตทั้งหมดจะจัดส่งถึงมือนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ภายในเดือน พ.ย.นี้ ทั้งนี้ นายกฯได้เน้นย้ำเรื่องการพัฒนา Content หรือเนื้อหาที่จะนำมาบรรจุในเครื่องด้วย ดังนั้น หลังจากเลิกประชุมกับนายกฯ นายพงศ์เทพ ได้ขอให้จัดส่งเครื่องแท็บเล็ต ป.1 ให้ 1 เครื่อง เพราะเจ้าตัวต้องการที่จะศึกษาดู Content ในเครื่องว่าจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาหรือไม่
อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้รายงานแผนการจัดซื้อแท็บเล็ต ประจำปีงบประมาณ 2556 ด้วย ซึ่งจะนำระบบ อี-ออกชัน (E-Auction) มาใช้ในการประมูล แต่แบ่งการประมูลออกเป็น 5 โซน หรือ 5 ภาค เนื่องจากการจัดซื้อแท็บเล็ตปี 2556 มีจำนวนมากถึง 1.6 ล้านเครื่อง เป็นของนักเรียน ป.1 จำนวน 8 แสนเครื่อง และมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แสนเครื่อง จึงจำเป็นต้องซอยการประมูลจัดซื้อออกเป็น 5 ภาค แต่การประมูลจัดซื้อของทั้ง 5 ภาคจะเปิด อี-ออกชัน ติดต่อกันในวันเดียวกัน ซึ่งนายกฯ เห็นด้วยกับวิธีการจัดซื้อรูปแบบนี้ เพราะจะทำให้มีผู้เข้าแข่งขันได้หลากหลาย
“นายกฯให้ข้อมูลว่าทางจีนได้เสนอให้เงินกู้สำหรับจัดซื้อแท็บเล็ตแจกนักเรียน ป.1-ม.6 ถามว่า ศธ.สนใจมั้ย เพราะจะส่งผลให้นักเรียนทั้งหมดได้รับแท็บเล็ตทันทีโดยไม่ต้องรอทยอยจัดซื้อ จากนั้นรัฐบาลจึงค่อยตั้งงบประมาณผ่อนใช้คืนประเทศจีนเป็นรายปี อย่างไรก็ตาม นายกฯยังไม่ได้ตัดสินใจในเรื่องนี้ แต่ขอให้ทาง ศธ.ไปศึกษาข้อดีข้อเสีย พร้อมทำข้อมูลด้วยว่าจะต้องใช้งบประมาณรองรับจำนวนเท่าใด ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลไทยได้จัดซื้อแท็บเล็ตไปได้ 4 ชั้นปีแล้วเหลืออีก 8 ชั้นปี” นางพนิตา กล่าวและว่า นายกฯยังได้ติดตามผลโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสกอ. โดยต้องการเร่งให้กองทุนตั้งตัวได้เริ่มดำเนินการโดยเร็ว เพราะนโยบายนี้จะช่วยให้นักศึกษามีงานทำ
ด้าน นายชินภัทร กล่าวว่า ในส่วนของโครงการจัดหาเครื่องแท็บเล็ตให้นักเรียนนั้น รัฐบาลต้องการเร่งจัดซื้อแท็บเล็ตให้นักเรียนครบทุกชั้นปีตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.6 โดยเร็ว อยู่ระหว่างแสวงหาแนวทางอยู่ แต่ในส่วนที่มีงบประมาณรองรับแล้วนั้น นายกฯได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ นายกฯ ต้องการให้มีการติดตามผลการใช้งานเครื่องแท็บเล็ตพัฒนาการเรียนการสอน รวมถึงให้เน้นการพัฒนา Content ที่จะนำมาบรรจุในเครื่อง โดยใช้มาตรการจูงใจในรูปแบบต่างๆ ให้ครูและเอกชนมาร่วมกันพัฒนาสื่อ E-Content เช่น อาจมีการจัดประกวดสื่อ และผลงานที่ชนะการประกวดจะได้นำมาบรรจุในแท็บเล็ตของนักเรียน ซึ่งจะเท่ากับเป็นการให้เครดิตกับผู้พัฒนาสื่อ ขณะเดียวกัน ในส่วนของ สพฐ.จะใช้การเลื่อนวิทยฐานะมาจูงใจให้ครูพยายามพัฒนา E-Content โดยปกติแล้ว ครูที่มีผลงานชนะการประกวดระดับชาติ จะสามารถนำผลงานดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาขอเลื่อนวิทยฐานะได้ เพราะฉะนั้น สพฐ.จะเสนอให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นำการประกวดสื่อ E-Content บรรจุไว้ในรายชื่อการประกวดระดับชาติที่สามารถนำการประกวดไปใช้ในการพิจารณาเลื่อนวิทยฐานะได้
นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียก นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ และ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) และ นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) พร้อมตน เข้าพบที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อติดตามการทำงานของ ศธ.ตามนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการจัดหาเครื่องแท็บเล็ตให้นักเรียน One Tablet pc per Child ซึ่งนายกฯ ได้สอบถามความคืบหน้าในการจัดส่งเครื่องแท็บเล็ตประจำปีงบประมาณ 2555 ที่ผ่านมา จำนวน 900,000 เครื่อง ซึ่ง สพฐ.ได้รายงานว่า เครื่องแท็บเล็ตทั้งหมดจะจัดส่งถึงมือนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ภายในเดือน พ.ย.นี้ ทั้งนี้ นายกฯได้เน้นย้ำเรื่องการพัฒนา Content หรือเนื้อหาที่จะนำมาบรรจุในเครื่องด้วย ดังนั้น หลังจากเลิกประชุมกับนายกฯ นายพงศ์เทพ ได้ขอให้จัดส่งเครื่องแท็บเล็ต ป.1 ให้ 1 เครื่อง เพราะเจ้าตัวต้องการที่จะศึกษาดู Content ในเครื่องว่าจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาหรือไม่
อย่างไรก็ตาม สพฐ.ได้รายงานแผนการจัดซื้อแท็บเล็ต ประจำปีงบประมาณ 2556 ด้วย ซึ่งจะนำระบบ อี-ออกชัน (E-Auction) มาใช้ในการประมูล แต่แบ่งการประมูลออกเป็น 5 โซน หรือ 5 ภาค เนื่องจากการจัดซื้อแท็บเล็ตปี 2556 มีจำนวนมากถึง 1.6 ล้านเครื่อง เป็นของนักเรียน ป.1 จำนวน 8 แสนเครื่อง และมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แสนเครื่อง จึงจำเป็นต้องซอยการประมูลจัดซื้อออกเป็น 5 ภาค แต่การประมูลจัดซื้อของทั้ง 5 ภาคจะเปิด อี-ออกชัน ติดต่อกันในวันเดียวกัน ซึ่งนายกฯ เห็นด้วยกับวิธีการจัดซื้อรูปแบบนี้ เพราะจะทำให้มีผู้เข้าแข่งขันได้หลากหลาย
“นายกฯให้ข้อมูลว่าทางจีนได้เสนอให้เงินกู้สำหรับจัดซื้อแท็บเล็ตแจกนักเรียน ป.1-ม.6 ถามว่า ศธ.สนใจมั้ย เพราะจะส่งผลให้นักเรียนทั้งหมดได้รับแท็บเล็ตทันทีโดยไม่ต้องรอทยอยจัดซื้อ จากนั้นรัฐบาลจึงค่อยตั้งงบประมาณผ่อนใช้คืนประเทศจีนเป็นรายปี อย่างไรก็ตาม นายกฯยังไม่ได้ตัดสินใจในเรื่องนี้ แต่ขอให้ทาง ศธ.ไปศึกษาข้อดีข้อเสีย พร้อมทำข้อมูลด้วยว่าจะต้องใช้งบประมาณรองรับจำนวนเท่าใด ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลไทยได้จัดซื้อแท็บเล็ตไปได้ 4 ชั้นปีแล้วเหลืออีก 8 ชั้นปี” นางพนิตา กล่าวและว่า นายกฯยังได้ติดตามผลโครงการกองทุนตั้งตัวได้ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสกอ. โดยต้องการเร่งให้กองทุนตั้งตัวได้เริ่มดำเนินการโดยเร็ว เพราะนโยบายนี้จะช่วยให้นักศึกษามีงานทำ
ด้าน นายชินภัทร กล่าวว่า ในส่วนของโครงการจัดหาเครื่องแท็บเล็ตให้นักเรียนนั้น รัฐบาลต้องการเร่งจัดซื้อแท็บเล็ตให้นักเรียนครบทุกชั้นปีตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.6 โดยเร็ว อยู่ระหว่างแสวงหาแนวทางอยู่ แต่ในส่วนที่มีงบประมาณรองรับแล้วนั้น นายกฯได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญ นายกฯ ต้องการให้มีการติดตามผลการใช้งานเครื่องแท็บเล็ตพัฒนาการเรียนการสอน รวมถึงให้เน้นการพัฒนา Content ที่จะนำมาบรรจุในเครื่อง โดยใช้มาตรการจูงใจในรูปแบบต่างๆ ให้ครูและเอกชนมาร่วมกันพัฒนาสื่อ E-Content เช่น อาจมีการจัดประกวดสื่อ และผลงานที่ชนะการประกวดจะได้นำมาบรรจุในแท็บเล็ตของนักเรียน ซึ่งจะเท่ากับเป็นการให้เครดิตกับผู้พัฒนาสื่อ ขณะเดียวกัน ในส่วนของ สพฐ.จะใช้การเลื่อนวิทยฐานะมาจูงใจให้ครูพยายามพัฒนา E-Content โดยปกติแล้ว ครูที่มีผลงานชนะการประกวดระดับชาติ จะสามารถนำผลงานดังกล่าวมาใช้ประกอบการพิจารณาขอเลื่อนวิทยฐานะได้ เพราะฉะนั้น สพฐ.จะเสนอให้คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา นำการประกวดสื่อ E-Content บรรจุไว้ในรายชื่อการประกวดระดับชาติที่สามารถนำการประกวดไปใช้ในการพิจารณาเลื่อนวิทยฐานะได้